รู้จัก “เรือบรรทุกเครื่องบิน” เหตุใดจึงเป็นเรือที่สำคัญที่สุดในกองเรือ


Logo Thai PBS
แชร์

รู้จัก “เรือบรรทุกเครื่องบิน” เหตุใดจึงเป็นเรือที่สำคัญที่สุดในกองเรือ

https://www.thaipbs.or.th/now/content/1486

รู้จัก “เรือบรรทุกเครื่องบิน” เหตุใดจึงเป็นเรือที่สำคัญที่สุดในกองเรือ
บริการเสริมจาก Thai PBS AI

“เรือบรรทุกเครื่องบิน” (Aircraft Carrier) เป็นเรือที่มีดาดฟ้าขนาดใหญ่ไว้สำหรับให้เครื่องบินขึ้นบินและลงจอด พร้อมกับโรงเก็บเครื่องบินใต้เรือสำหรับเก็บยุทโธปกรณ์ เครื่องบิน และอุปกรณ์บนเรือบรรทุกเครื่องบิน ปัจจุบันเรือบรรทุกเครื่องบินเป็นหนึ่งในเรือที่สำคัญที่สุดในกองทัพเรือของแต่ละประเทศ โดยที่กองเรือหนึ่งหนึ่งมักมีเรือบรรทุกเครื่องบินเป็นเรือธง (Flagship)

เหตุใดเรือบรรทุกเครื่องบินจึงมีความสำคัญต่อกองทัพเรือ บทความนี้จะพามาหาคำตอบกัน

ภาพของเรือประจัญบาน USS Iowa ระหว่างการซ้อมยิงปืนใหญ่

ในอดีต เรือที่มีความสามารถมากที่สุดและทรงพลังในด้านการรบทางเรือมากที่สุดคือ “เรือประจัญบาน (Battleship)” ซึ่งมักมีระวางขับน้ำที่สูง ปืนที่ทรงพลัง และพิสัยการรบที่ไกล ในกองเรือ (Fleet) หนึ่งหนึ่งนั้นมักจะมีเรือประจัญบานเป็นเรือธง (Flagship) ของกองเรือ หรือก็คือเรือที่ผู้บัญชาการของกองเรือมักจะอยู่ และออกคำสั่งให้แก่กองเรือ

เนื่องจากเรือประจัญบานนั้นมีความเร็วต่ำ จึงมักจะต้องมีเรือลำอื่น ๆ อย่างเรือเพชฌฆาต (Destroyer) หรือเรือลาดตระเวน (Cruiser) คอยคุ้มกันอยู่ด้วย

ภาพของเรือบรรทุกเครื่องบิน USS Langley ในช่วงปี 1927

การพัฒนาเรือบรรทุกเครื่องบินมีมาตั้งแต่ยุคสงครามโลกครั้งที่สอง อย่างไรก็ตาม การพัฒนาและสร้างเรือบรรทุกเครื่องบินเริ่มเกิดขึ้นอย่างมากช่วงสงครามโลกครั้งที่สองเมื่อกองทัพเรือของแต่ละประเทศเริ่มเห็นความสำคัญของเรือบรรทุกเครื่องบิน อย่างไรก็ตาม อันเนื่องมาจากสนธิสัญญานาวิกวอชิงตัน (Washington Naval Treaty) ในปี 1922 ซึ่งว่าด้วยการลดอาวุธทางการทหารเรือ มีการจำกัดการสร้างเรือขนาดใหญ่ซึ่งส่งผลกระทบต่อการสร้างเรือบรรทุกเครื่องบินโดยไม่ขัดสนธิสัญญา

ด้วยเหตุนี้ เรือบรรทุกเครื่องบินส่วนใหญ่ในช่วงแรกของสงครามโลกครั้งที่สองเป็นเรือที่ผ่านการดัดแปลงมาจากเรืออื่น ๆ เช่น เรือลาดตระเวน เรือประจัญบาน เรือขนสินค้า ไม่ใช่การต่อเรือใหม่แต่แรก อย่างไรก็ตาม การพัฒนาและต่อเรือบรรทุกเครื่องบินก็เกิดขึ้นตามมาเมื่อโลกเข้าสู่ช่วงของสงครามโลกอย่างเต็มตัว

ภาพแสดง Carrier Battle Group หรือกองเรือบรรทุกเครื่องบินนำโดย USS Abraham Lincoln ระหว่างการซ้อมรบ RIMPAC 2000

ความสามารถของเรือบรรทุกเครื่องบินในปัจจุบันคือการที่เครื่องบินรบทางการทหารสามารถบินขึ้นและลงจอดบนเรือบรรทุกเครื่องบินได้ ข้อได้เปรียบของการมีเรือบรรทุกเครื่องบินคือกองทัพเรือและกองทัพอากาศของประเทศนั้น ๆ จะมีความสามารถในการตั้งฐานทัพอากาศเคลื่อนที่ได้ที่ใดก็ได้ในโลก ตราบใดที่เรือบรรทุกเครื่องบินมีพิสัยเพียงพอสำหรับการเดินทาง

นี่เป็นข้อได้เปรียบหลักเหนือการมีฐานทัพอากาศบนพื้นดิน ซึ่งหากต้องการเดินทางข้ามน่านฟ้าของประเทศอื่น มักจะต้องได้รับการอนุญาตจากประเทศระหว่างทางเสียก่อน ต่างจากเรือบรรทุกเครื่องบินที่ล่องในน่านน้ำสากลและสามารถทำหน้าที่เป็นฐานทัพเคลื่อนที่ได้ในน่านน้ำสากลโดยที่ไม่ต้องกังวลเรื่องการละเมิดน่านฟ้าหรือน่านน้ำของประเทศอื่น ๆ

แผนภาพแสดงขนาดและการออกแบบเรือบรรทุกเครื่องบินของแต่ละชาติซึ่งมีการใช้งานแตกต่างกัน

เรือบรรทุกเครื่องบินนั้นแบ่งได้หลายชนิด ชนิดที่มีความสามารถมากที่สุดคือ CATABAR (Catapult Assisted Take-Off Barier Arrested Recovery) ซึ่งใช้ระบบไอน้ำในการผลักยิ่งเครื่องบินออกไปและมีสายเคเบิลสำหรับหยุดเครื่องบินที่ลงจอดบนดาดฟ้าเรือ ส่วนชนิดอื่น ๆ คือ เรือบรรทุกเครื่องบินสำหรับเครื่องบินแบบ Short Take-Off หรือ Vertical Take-Off and Landing ซึ่งออกแบบมาสำหรับเครื่องบินที่บินขึ้นลงได้ในแนวดิ่ง หรือใช้ระยะทางวิ่งในการบินขึ้นน้อย

เรือหลวงจักรีนฤเบศรของกองทัพเรือไทยนั้นเป็นเรือบรรทุกเครื่องบินเฮลิคอปเตอร์ หรือเรือบรรทุกเครื่องบินแบบ Vertical Take-Off and Landing ซึ่งใช้กับเครื่องบินที่บินขึ้นลงในแนวดิ่งได้อย่าง Harrier หรือเฮลิคอปเตอร์ Sea Hawk

เรียบเรียงโดย โชติทิวัตถ์ จิตต์ประสงค์


🎧 อัปเดตข้อมูลแวดวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี รู้ทันโลกไอที และโซเชียลฯ ในรูปแบบ Audio จาก AI เสียงผู้ประกาศของไทยพีบีเอส ได้ที่ Thai PBS  

“รอบรู้ ดูกระแส ก้าวทันโลก” ไปกับ Thai PBS Sci & Tech 

แท็กที่เกี่ยวข้อง

เรือบรรทุกเครื่องบินAircraft Carrierเครื่องบินThai PBS Sci And Tech Thai PBS Sci & Tech TechnologyเทคโนโลยีInnovationนวัตกรรมInnovation Tech World
Thai PBS Sci & Tech
ผู้เขียน: Thai PBS Sci & Tech

🌎 "รอบรู้ ดูกระแส ก้าวทันโลก" ไปกับ Thai PBS Sci & Tech • วิทยาศาสตร์ • เทคโนโลยี นวัตกรรม • ดาราศาสตร์ • Media Literacy • Cyber Security • Tips & Tricks • Trends