Canadarm 2 แขนกลบน ISS ไม่ได้ออกแบบมาเพื่อใช้จับยานอวกาศ


Logo Thai PBS
แชร์

Canadarm 2 แขนกลบน ISS ไม่ได้ออกแบบมาเพื่อใช้จับยานอวกาศ

https://www.thaipbs.or.th/now/content/1488

Canadarm 2 แขนกลบน ISS ไม่ได้ออกแบบมาเพื่อใช้จับยานอวกาศ
บริการเสริมจาก Thai PBS AI

แขนกล Canadarm 2 ติดตั้งบนสถานีอวกาศนานาชาติ (ISS) มาร่วม 23 ปีแล้ว ตอนนี้มันทำหน้าที่ในการเป็นแขนกลจับยานอวกาศที่เดินทางมายังสถานีอวกาศนานาชาติเพื่อเทียบท่าเชื่อมต่อ แต่มันไม่ได้ถูกออกแบบมาให้ทำหน้าที่นี้แต่แรก มาทราบประวัติของแขนกลมากประโยชน์ตัวนี้ของสถานีอวกาศนานาชาติผ่านบทความนี้

ภาพถ่ายแขนกล Canadarm 2 กำลังดึงอุปกรณ์วิทยาศาสตร์ ISS-RapidScat ออกจาก Trunk ของยาน Dragon ในภารกิจ CRS-4 ที่มา NASA

ไม่น่าเชื่อว่าแขนกล Canadarm 2 จะถูกใช้งานจับยานอวกาศเสบียงเพื่อเทียบท่าสถานีอวกาศนานาชาติครบ 50 ลำแล้ว แขนกลอายุ 23 ปีนี้เริ่มแรกมันไม่ได้ถูกออกแบบมาเพื่อทำงานเป็นอุปกรณ์ช่วยเทียบท่ายานอวกาศเหมือนที่ถูกใช้งานในทุกวันนี้ หน้าที่แรกของมันคือการเป็นอุปกรณ์ช่วยอำนวยความสะดวกนักบินอวกาศในการประกอบสร้างสถานีอวกาศนานาชาติเสียด้วยซ้ำ

ภาพถ่ายมือจับที่ปลายแขนของ Canadarm 2 ที่มา NASA

Canadarm รุ่นแรกคือแขนกลที่ถูกออกแบบติดตั้งอยู่ภายในยานกระสวยอวกาศ มันถูกขึ้นสู่อวกาศครั้งแรกไปพร้อมกับกระสวยอวกาศโคลัมเบียในภารกิจ STS-2 ในเดือนพฤศจิกายน 1981 ซึ่งแขนกลนี้เป็นความร่วมมือพัฒนาและวิจัยระหว่างสหรัฐอเมริกากับแคนาดาตั้งแต่ช่วงปี 1969 ในช่วงริเริ่มโครงการกระสวยอวกาศ ซึ่งแขนกลตัวนี้ถูกติดตั้งอยู่ในกระสวยอวกาศทุกลำ มันถูกใช้งานในภารกิจครั้งแรกในภารกิจ STS-3 เพื่อใช้ในการกางอุปกรณ์วิทยาศาสตร์ที่ถูกติดตั้งบนกระสวยอวกาศ หน้าที่ของมันเป็นแขนกลเพื่อการอำนวยความสะดวกแก่ภารกิจภายนอกยาน ซึ่งมันก็เป็นส่วนในภารกิจสำคัญ ๆ หลายภารกิจ ทั้งปล่อยและซ่อมแซมกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล และการประกอบสถานีอวกาศนานาชาติ

ภาพถ่ายยาน Dragon ในภารกิจ CRS-1 เทียบท่าเชื่อมต่อสถานีอวกาศนานาชาติด้วยแขนกล Canadarm 2 ที่มา NASA

ด้วยความสำเร็จของ Canadarm ทำให้ทาง NASA และ องค์การอวกาศแคนาดา หรือ CSA เห็นชอบในการพัฒนา Canadarm 2 เพื่อติดตั้งอยู่บนสถานีอวกาศนานาชาติสำหรับอำนวยความสะดวกในงานด้านวิศวกรรมและวิทยาศาสตร์  Canadarm 2 จะมีส่วนที่แตกต่างจาก Canadarm รุ่นแรก คือ มันสามารถถอดตัวเองและเคลื่อนที่ไปยังโมดูลต่าง ๆ บนสถานีอวกาศนานาชาติได้ โดยที่ปลายแขนจับ Canadarm 2 ทั้งสองด้านจะมีมือเกี่ยวตะขอเกี่ยวอยู่ เมื่อมันต้องการเคลื่อนที่ไปยังโมดูลต่าง ๆ มันจะถูกควบคุมให้ขยับไปจับกับตะขอเกี่ยวที่อยู่ภายนอกสถานีอวกาศ เมื่อจับกับตะขอเกี่ยวปลายทางได้แล้วมันจะปลดมือจับที่ตะขอเกี่ยวแรก จากนั้นทำการเคลื่อนที่แบบนี้ไปเรื่อย ๆ จนถึงตำแหน่งที่ต้องการทำภารกิจ

ภาพถ่ายตะขอเกี่ยวสำหรับมือจับของ Canadarm 2 เพื่อให้แขนจับเกี่ยวและลากจูง ที่มา NASA

แขนกล Canadarm 2 ถูกนำออกสู่อวกาศและติดตั้งบนสถานีอวกาศในภารกิจ STS-100 ในเดือนเมษายน 2001 หลังจากนั้นมันทำงานในหน้าที่อำนวยความสะดวกช่วยเหลือการก่อสร้าง ช่วยเหลือภารกิจซ่อมบำรุงของมนุษย์นอกสถานีอวกาศ และขนย้ายวัสดุอุปกรณ์มาโดยตลอด เพียงแค่วัสดุอุปกรณ์ที่จะให้ Canadarm 2 เคลื่อนย้ายแค่ต้องมีตะขอเกี่ยวสำหรับตัวแขนกลเท่านั้น

ด้วยประโยชน์และภารกิจของ Canadarm 2 ที่อยู่บนสถานีอวกาศนานาชาติที่มากขึ้น ทาง CSA จึงลงทุนในแขนกลอีกตัวหนึ่งที่ชื่อ Dextre นำไปติดตั้งบนสถานีอวกาศนานาชาติเมื่อปี 2008 เพื่อใช้ในการอำนวยความสะดวกในการซ่อมบำรุงสถานีอวกาศนานาชาติเพิ่มเติม

ภาพถ่ายยาน HTV-6 กำลังถูกแขนกล Canadarm 2 ลากเข้าไปเชื่อมต่อกับสถานีอวกาศนานาชาติ ที่มา NASA

สำหรับยานอวกาศลำแรกที่แขนกล Canadarm 2 ทำหน้าในการจับเพื่อเทียบท่าคือยาน HTV-1 ยานเสบียงของญี่ปุ่นในปี 2009 และหลังจากนั้นมันก็มีอีกหน้าที่หนึ่งที่เพิ่มเข้ามาคือเป็นแขนกลจับยานอวกาศกลางอวกาศเพื่อพายานอวกาศเหล่านั้นเทียบท่าเชื่อมต่อของสถานีอวกาศนานาชาติ

ตั้งแต่ภารกิจ Commercial Orbital Transportation Services เป็นต้นมา แขนกล Canadarm 2 ก็มีบทบาทสำคัญในการจับยานเสบียงลำต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น ยาน Dragon ของ SpaceX ยาน ATV ของ ESA ยาน HTV 2 ของ JAXA และยาน Cygnus ของ Northrop Grumman เข้าเชื่อมต่อกับสถานีอวกาศนานาชาติ ซึ่งจนถึงปัจจุบัน ยาน Cygnus ในภารกิจ CRS Flight 21 มันก็ทำหน้าที่ในการลากยานอวกาศเข้าสู่สถานีอวกาศนานาชาติเป็นลำที่ 50 แล้ว

ด้วยคุณประโยชน์ที่ Canadarm ทั้งสองรุ่นได้สร้างไว้และความเชื่อใจที่มีต่อแขนกลนี้ NASA และชาติพันธมิตรในโครงการอาร์ทีมิสได้มีแผนในการติดตั้งแขนกล Canadarm 3 บนสถานีอวกาศ Lunar Gateway ในช่วงปี 2029

เรียบเรียงโดย จิรสิน อัศวกุล
พิสูจน์อักษร ศุภกิจ พัฒนพิฑูรย์


🎧 อัปเดตข้อมูลแวดวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี รู้ทันโลกไอที และโซเชียลฯ ในรูปแบบ Audio จาก AI เสียงผู้ประกาศของไทยพีบีเอส ได้ที่ Thai PBS  

ที่มาข้อมูล : space

“รอบรู้ ดูกระแส ก้าวทันโลก” ไปกับ Thai PBS Sci & Tech 

แท็กที่เกี่ยวข้อง

Canadarm 2แขนกล Canadarm 2แขนกลสถานีอวกาศนานาชาติสถานีอวกาศISSฺNASAองค์การนาซานาซาอวกาศThai PBS Sci And Tech Thai PBS Sci & Tech Space - Astronomy
Thai PBS Sci & Tech
ผู้เขียน: Thai PBS Sci & Tech

🌎 "รอบรู้ ดูกระแส ก้าวทันโลก" ไปกับ Thai PBS Sci & Tech • วิทยาศาสตร์ • เทคโนโลยี นวัตกรรม • ดาราศาสตร์ • Media Literacy • Cyber Security • Tips & Tricks • Trends

บทความ NOW แนะนำ

ข่าวล่าสุด