Thailand Web Stat
ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

ย้อนปรากฏการณ์วันที่ “ดนตรีดิสโก้” ครองโลก


Lifestyle

25 ส.ค. 67

อนุรักษ์ ภูมิทรัพย์

Logo Thai PBS
แชร์

ย้อนปรากฏการณ์วันที่ “ดนตรีดิสโก้” ครองโลก

https://www.thaipbs.or.th/now/content/1523

ย้อนปรากฏการณ์วันที่ “ดนตรีดิสโก้” ครองโลก
บริการเสริมจาก Thai PBS AI

 

ช่วงปลายยุค 1970 นั้นแนวดนตรีดิสโก้ได้กลายเป็นเหมือนสึนามิทางวัฒนธรรมที่เปลี่ยนวงการเพลงและวิถีชีวิตคนทั่วโลก เพราะนอกจากดนตรีที่มอบความสนุกแบบที่หลายคนได้สัมผัส วัฒนธรรมดิสโก้ยังเปลี่ยนวัฒนธรรมการเที่ยวกลางคืนและการแต่งตัว

แม้ว่ากระแสเพลงดิสโก้ในวันนี้จะไม่เหมือนในอดีต แต่วัฒนธรรมการฟังเพลงของคนยุคปัจจุบันยังมีส่วนที่ได้รับอิทธิพลจากเพลงดิสโก้ เช่น เทศกาลดนตรีอิเล็กทรอนิกส์แดนซ์ที่จัดในประเทศไทย หรือ ต่างประเทศก็มีองค์ประกอบหลายจุดที่คล้ายกับปาร์ตี้ในดิสโก้เทค 

ใน รายการนักผจญเพลง Replay เรามีโอกาสได้ฟังเรื่องราวปรากฏการณ์ดนตรีดิสโก้ จากแขกรับเชิญที่เป็นศิลปินยุคดิสโก้ตัวจริงอย่าง จี๊ด-สุนทร สุจริตฉันท์ จากวง Royal Sprites และ ตู้-ดิเรก อมาตยกุล กับ อ้วน-วารุณี สุนทรีสวัสดิ์ จากวง The President รวมถึงดีเจเพลงสากลอย่าง หมึก-วิโรจน์ ควันธรรม ซึ่งเราได้ฟังเรื่องราวของเพลงดิสโก้ทั้งจุดเริ่มต้น และวันที่มันเปลี่ยนวัฒนธรรมการฟังเพลงทั่วโลกไปตลอดกาล

จุดเริ่มต้นของเพลงดิสโก้ 

โปสเตอร์ภาพยนตร์ Saturday Night Fever หนังที่เปลี่ยนวงการเพลงดิสโก้ไปตลอดกาล (ขอบคุณภาพจากเว็บไซต์ Paramount Pictures)

โปสเตอร์ภาพยนตร์ Saturday Night Fever หนังที่เปลี่ยนวงการเพลงดิสโก้ไปตลอดกาล (ขอบคุณภาพจากเว็บไซต์ Paramount Pictures)

จี๊ด สุนทร ได้เล่าว่ายุคดิสโก้เฟื่องฟูได้เริ่มขึ้นปลายยุค 70 หลังกระแสของเพลงแนวดิสโก้และฟังก์ พร้อมกระแสของ Studio 45 คลับเต้นรำที่ดังในยุคนั้นและมีคนดังมากมายเป็นแขก และตามด้วยการมาของภาพยนตร์ Saturday Night Fever ที่ John Travolta แสดงนำ และได้โชว์ลีลาการเต้นที่เป็นเอกลักษณ์ที่ผสมผสานลีลาศในแง่การนับจังหวะและการขยับร่างกาย มาผสมผสานกับจังหวะดนตรีแบบใหม่ 

นอกจากการเล่นดนตรีแล้ว ยังมีการแข่งขันเต้นเพลงดิสโก้ด้วย ซึ่งความแปลกใหม่ของเพลงดิสโก้ที่ผู้คนได้สัมผัสจากภาพยนตร์ Saturday Night Fever ทั้งการเต้น ทั้งรูปแบบดนตรี ถือเป็นความแปลกใหม่ในยุคดังกล่าวเป็นอย่างมาก  

วันที่วัฒนธรรมดิสโก้เดินทางไปทั่วโลก 

ภาพปกอัลบั้มเพลง “Last Train to London” ของวง Electric Light Orchestra (ขอบคุณภาพจากเว็บไซต์ Columbia Records)

ภาพปกอัลบั้มเพลง “Last Train to London” ของวง Electric Light Orchestra (ขอบคุณภาพจากเว็บไซต์ Columbia Records)

หลังจากที่เพลงดิสโก้ได้กลายเป็นกระแสขึ้นมาในประเทศสหรัฐอเมริกา แนวดนตรีนี้ได้เดินทางไปหลายประเทศทั่วโลกและมาถึงเมืองไทย โดยในรายการ จี๊ด สุนทร ได้เล่าว่า ตัวเขาเริ่มเล่นเพลงดิสโก้ในยุค พ.ศ. 2520 ซึ่งเป็นยุคที่เริ่มมีดิสโก้เธค มีเพลงของศิลปินอย่าง Donna Summer ที่โด่งดัง

จี๊ดเล่าต่อว่า ยุคนั้นศิลปินจะเล่นเพลงสากลแบบเป๊ะ หรือนำเพลงดิสโก้สากลมาแปลงเนื้อเพลงซึ่งการนำเพลงสากลมาแปลงเป็นเพลงไทย ถือเป็นช่วงเปลี่ยนผ่าน จากยุคที่คนฟังเพลงดิสโก้ของประเทศ สู่ยุคที่คนฟังเพลงดิสโก้ที่เป็นเพลงไทยจริง ๆ  

ส่วนทางฝั่งของ ตู้ ดิเรก ได้เล่าว่า เพลงแรกที่เขาเล่นในยุคนั้นคือ “Last Train to London” ของวง Electric Light Orchestra ซึ่งตัวเขานำมาแปลงเนื้อภาษาไทยในเวลาต่อมา และอีกเพลงที่เขาเล่นและคนรู้จักเป็นอย่างดีคือ “เจงกิสข่าน” ซึ่งผู้ที่ทำให้เพลงนี้เป็นที่รู้จักก็คือตัวของ หมึก วิโรจน์ ที่เป็นดีเจดังในยุคนั้น 

ซึ่ง ตู้ และ อ้วน วารุณี เล่าว่าวงการเพลงดิสโก้สากลในยุคนั้นมีการแข่งขันสูงมากทั้ง จนผู้ฟังได้รู้จักเพลงดีมากมาย ไม่ว่าจะเป็น “Can't Take My Eyes off You” ที่มีหลายเวอร์ชั่นออกมาให้ทุกคนได้ฟัง หรืออย่างเพลง “Copacabana” โดยในอดีตแทบทุกประเทศจะมีศิลปินดิสโก้ที่โดดเด่น อย่างประเทศเยอรมันก็มีวง Boney M. ที่มีเพลงดังอย่าง "Rasputin" ส่วนประเทศสวีเดนก็มีวงระดับตำนานอย่าง Abba ที่สร้างความสุขให้คนทั่วโลกด้วยเพลง “Dancing Queen”

อิทธิพลเพลงดิสโก้ที่เปลี่ยนวัฒนธรรมการฟังเพลงไปตลอดกาล

บุรินทร์ บุญวิสุทธิ์ ศิลปินไทยที่ยึดมั่นกับการทำเพลงดิสโก้นานหลายปี

บุรินทร์ บุญวิสุทธิ์ ศิลปินไทยที่ยึดมั่นกับการทำเพลงดิสโก้นานหลายปี

นอกจากปัจจุบันเรายังได้เห็นเพลงใหม่ที่เป็นแนวดิสโก้ออกมาให้ฟังทั้งจากศิลปินต่างชาติ หรือศิลปินในไทยอย่าง บุรินทร์ บุญวิสุทธิ์ ที่ทำเพลงดิสโก้ทั้งในฐานะสมาชิกวง Groove Riders และศิลปินเดี่ยว แขกรับเชิญรายการนักผจญเพลง Replay ยังเผยมุมมองน่าสนใจ ที่ทำให้เราสัมผัสได้ว่าวัฒนธรรมดิสโก้มีอิทธิพลกับหลายสิ่งในยุคปัจจุบัน  

แม้ว่าเพลงดิสโก้ในวันนี้จะไม่ได้เฟื่องฟูเหมือนในยุค 70 เพราะกระแสดนตรีที่เปลี่ยนไปตามยุคสมัย แต่ในรายการดีเจ หมึก วิโรจน์ มีมุมมองว่าที่น่าสนใจว่า การเปิดเพลงดิสโก้ในดิสโก้เธคยุคนั้น มีหลักการเดียวกับงานเทศกาลดนตรีเพลงอิเล็กทรอนิกส์แดนซ์ หรือ EDM ที่เราฟังทุกวันนี้

โดยบรรยากาศเทศกาลดนตรีอิเลกทรอนิกส์แดนซ์ยุคนี้ที่มีคนร่วมสนุกก็มีการเล่นไฟแสงสี ที่คล้ายกับบรรยากาศยุคดิสโก้ที่มีการเล่นแสงบนลูกดิสโก้บอลและที่พื้นฟลอร์เต้นรำ ขณะเดียวกันดีเจในยุคดิสโก้และยุคอิเล็กทรอนิกส์แดนซ์ ก็เปิดเพลงที่ถูกเรียงต่อกันแบบไม่ต้องพึ่งพาวงดนตรีเหมือนกัน

นอกจากเรื่องดนตรีแล้ว จี๊ด สุนทร เล่าถึงแฟชั่นยุคดิสโก้ ที่หลายคนนิยม อย่างเช่นรองเท้าที่มีพื้นสูง 5 นิ้ว และกางเกงขาบาน โดยแฟชั่นคนเที่ยวดิสโก้เธค นิยมสวมกางเกงขายาวและเสื้อแขนยาวกรุยกราย ซึ่งปัจจุบันนี้เรายังคงได้เห็นการแต่งกายที่มีแรงบันดาลใจจากยุคนั้นเช่นกัน เรียกได้ว่าแม้กระแสดนตรีดิสโก้จะเปลี่ยนไป แต่เรายังคงได้เห็นอิทธิพลของแนวเพลงนี้ในปัจจุบัน

บทสรุป 

กระแสความนิยมของเพลงดิสโก้ นอกจากตัวเพลงที่มอบความสนุกสนานแล้ว องค์ประกอบที่ทำให้แนวดนตรีนี้เป็นที่นิยมก็คือ การมาของดิสโก้เธค รวมไปถึงแฟชั่น และการเต้นที่เป็นเอกลักษณ์ รวมไปถึงภาพยนตร์เรื่อง Saturday Night Fever ที่มีผู้ชมทั่วโลก 

ซึ่งเรื่องนี้ถือเป็นบทเรียนที่น่าสนใจว่า การที่สิ่ง ๆ หนึ่งจะโด่งดังระดับปรากฏการณ์ได้ นอกจากคุณภาพตัวงานแล้ว บางทีปัจจัยโดยรอบ ทั้งตัววัฒนธรรมที่มาด้วยกัน หรือสื่อรูปแบบต่าง ๆ ล้วนทำให้ตัวงานเป็นที่รู้จักได้เช่นกัน 

นอกจากเรื่องราวของดนตรีดิสโก้แล้ว แขกรับเชิญทั้งตัวของจี๊ด แสงทอง, ตู้ ดิเรก และ อ้วน วารุณี ก็ได้ขนเพลงดิสโก้ในความทรงจำของหลาย ๆ คนมาโชว์ โดยทุกคนสามารถชมรายการย้อนหลังได้ทาง YouTube Thai PBS และเว็บไซต์ https://www.thaipbs.or.th/program/SongHunterTV/episodes/103349 

 

แท็กที่เกี่ยวข้อง

ดนตรีดิสโก้รายการนักผจญเพลง Replayคอลัมน์ เพลงหน้า A by นักผจญเพลง
อนุรักษ์ ภูมิทรัพย์
ผู้เขียน: อนุรักษ์ ภูมิทรัพย์

ผู้ดำเนินรายการ นักผจญเพลง REPLAY รายการเพลงที่มากกว่าเรื่องราวของเพลง แต่บอกเล่าเรื่องราวของดนตรีในมุมที่แตกต่าง สร้างแรงบันดาลใจในชีวิตประจำวันได้

บทความ NOW แนะนำ

ข่าวล่าสุด

Failed to load player resources

Please refresh the page to try again.

ERROR_BYTEARK_PLAYER_REACT_100001

00:00

00:00

ให้คะแนนการอ่านข่าวนี้