ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

รู้จัก Epinephrine Autoinjector เครื่องมือช่วยชีวิตผู้ป่วยแพ้รุนแรง


Logo Thai PBS
แชร์

รู้จัก Epinephrine Autoinjector เครื่องมือช่วยชีวิตผู้ป่วยแพ้รุนแรง

https://www.thaipbs.or.th/now/content/1976

รู้จัก Epinephrine Autoinjector เครื่องมือช่วยชีวิตผู้ป่วยแพ้รุนแรง
บริการเสริมจาก Thai PBS AI

การแพ้รุนแรง หรือที่รู้จักกันในทางการแพทย์ว่า Anaphylaxis หรือ Anaphylactic Reaction เป็นอาการตอบสนองต่อสารก่อภูมิแพ้แบบรุนแรง ซึ่งหากรักษาไม่ทันการอาจทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ สารก่อภูมิแพ้อาจเป็นสารที่อยู่ในอาหารอย่างไคตินในอาหารทะเล เมื่อสัมผัสกับสารก่อภูมิแพ้ ผู้ป่วยมักมีอาการหายใจไม่ออกอย่างเฉียบพลันเนื่องจากกล้ามเนื้อบริเวณหลอดลมหดตัวและบวมจากปฏิกิริยาภูมิคุ้มกัน และอาจนำไปสู่การขาดอากาศหายใจจนเสียชีวิตได้

Epinephrine Autoinjector เป็นหนึ่งในเครื่องมือปฐมพยาบาลที่สำคัญต่อผู้ที่มีอาการแพ้รุนแรง และอาจช่วยชีวิตผู้ป่วยได้ก่อนที่จะได้รับการรักษาโดยแพทย์

การบวมของเนื้อเยื่อใต้ผิวหนังหรือ Angioedema ในอาการแพ้รุนแรง

อาการ Anaphylaxis นั้นแตกต่างกันไปในแต่ละสถานการณ์ ขึ้นอยู่กับวิธีการที่ผู้ป่วยสัมผัสภูมิแพ้ เช่น การกินอาหารที่มีสารก่อภูมิแพ้ การหายใจเอาสารก่อภูมิแพ้เข้าไป การฉีดยาที่ผู้ป่วยแพ้เข้าเส้นเลือด เป็นต้น ในหลาย ๆ กรณี ผู้ป่วยมักจะมีหลากหลายอาการผสมกัน เช่น ตาบวม หน้าบวม ผื่นขึ้น หายใจติดขัด หายใจไม่ออก ซึ่งอาการหายใจติดขัดหายใจไม่ออกนั้นอันตรายถึงชีวิต เนื่องจากผู้ป่วยขาดอากาศหายใจได้ ในผู้ป่วยที่ขาดอากาศหายใจ ผิวอาจจะเริ่มเปลี่ยนเป็นสีฟ้าได้

การฉีด Epinephrine Autoinjector นั้นทำผ่านการฉีดในบริเวณต้นขา

ผู้ป่วยอาจหมดสติได้เนื่องจากขาดอากาศหายใจหรือเกิดอาการช็อกเนื่องจากความดันต่ำ เนื่องจากปฏิกิริยาตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันนั้นทำให้เกิด “Vasodilation” หรือการขยายตัวของเส้นเลือดอย่างฉับพลัน ทำให้ความดันโลหิตลดลง จนอาจหมดสติได้

Epinephrine Autoinjector หรือเครื่องฉีดอีพิเนฟรินอัตโนมัติ เป็นหนึ่งในเครื่องมือสำคัญสำหรับการปฐมพยาบาลผู้ป่วย Anaphylaxis หลายคนอาจจะไม่คุ้นกับคำว่า “Epinephrine” แต่จริง ๆ แล้ว “Epinephrine” ก็คือสาร “Adrenaline” นั่นเอง โดยที่ Epinephrine นั้นออกฤทธิ์กระตุ้นหัวใจ กระตุ้นปฏิกิริยา “Vasoconstriction” หรือการหดตัวของหลอดเลือดซึ่งจะหักล้างปฏิกิริยา “Vasodilation” ที่เกิดจากสารก่อภูมิแพ้ ทำให้ความดันโลหิตกลับมาปกติ การบวมของกล้ามเนื้อบริเวณหลอดลมลดลง จนผู้ป่วยสามารถหายใจได้

Vastus lateralis คือกล้ามเนื้อบริเวณต้นขา ใช้สำหรับการฉีด Epinephrine

Epinephrine Autoinjector มักจะมาในรูปแบบของปากกา เรียกว่า “EpiPen” หรืออาจจะมาในหลอดฉีดยาก็ได้ วิธีการใช้งานคือการฉีดเข้าที่กล้ามเนื้อต้นขาด้านข้าง Vastus Lateralis ซึ่งการฉีดเข้าที่กล้ามเนื้อ (Intramascular Injection: IM) สามารถทำได้โดยตั้งเข็มฉีดที่มุมตั้งฉากกับผิว เข็มฉีดที่มากลับเครื่องฉีดหรือมาในรูปของเข็มฉีดบรรจุ Epinephrine นั้นมักจะมีความยาวพอดีสำหรับการฉีดเข้ากล้ามเนื้อ ในเครื่องฉีดอัตโนมัติ เพียงกดหัวปากกาเข้ากับกล้ามเนื้อ ตัวปากกาจะฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อโดยอัตโนมัติ หากเป็นรูปแบบเข็มบรรจุยา ผู้ป่วยหรือคนรอบข้างจะต้องฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อด้วยตนเอง

การฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อ (Intramascular Injection_ IM) นั้นทำโดยการตั้งเข็มฉีดยาให้ตั้งฉากกับผิวหนังก่อนที่จะกดเข็มลงจนสุด

หลังจากใช้ Epinephrine แล้ว ผู้ป่วยมักจะมีอาการดีขึ้น อย่างไรก็ตาม ควรจะส่งผู้ป่วยต่อไปยังแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อดูอาการและรักษาเพิ่มเติม นอกจากนี้หากไม่ทราบสาเหตุหรือไม่ทราบสารก่อภูมิแพ้ ก็จะสามารถสืบหาสารก่อภูมิแพ้เพื่อการป้องกันในอนาคตได้

เรียบเรียงโดย โชตทิวัตถ์ จิตต์ประสงค์ ภาควิชาวิทยาศาสตร์การแพทย์ คณะสัตวแพทยศาสตร์และชีววิทยา City University of Hong Kong


อัปเดตข้อมูลแวดวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี รู้ทันโลกไอที และโซเชียลฯ ในรูปแบบ Audio จาก AI เสียงผู้ประกาศของไทยพีบีเอส ได้ที่ Thai PBS  

“รอบรู้ ดูกระแส ก้าวทันโลก” ไปกับ Thai PBS Sci & Tech

แท็กที่เกี่ยวข้อง

แพ้รุนแรงAnaphylaxisAnaphylactic Reactionภูมิแพ้สารก่อภูมิแพ้Epinephrine Autoinjectorวิทยาศาสตร์วิทยาศาสตร์น่ารู้Thai PBS Sci And Tech Thai PBS Sci & Tech Science
Thai PBS Sci & Tech
ผู้เขียน: Thai PBS Sci & Tech

🌎 "รอบรู้ ดูกระแส ก้าวทันโลก" ไปกับ Thai PBS Sci & Tech • วิทยาศาสตร์ • เทคโนโลยี นวัตกรรม • ดาราศาสตร์ • Media Literacy • Cyber Security • Tips & Tricks • Trends

บทความ NOW แนะนำ

ข่าวล่าสุด