เนื่องในโอกาส ครบรอบ 15 ปี Thai PBS Sci & Tech ชวนรู้จัก "ดาวเทียมไทยโชต" (THEOS-1) ซึ่งได้ขึ้นสู่วงโคจรเมื่อวันที่ 1 ต.ค. 2551 โดยจะมีรายละเอียดอะไรที่น่าสนใจบ้าง ตามมาอ่านกันได้เลย
รายละเอียดเกี่ยวกับ “ดาวเทียมไทยโชต”
- เป็นดาวเทียมรายละเอียดสูง 2 เมตร
- สูงจากพื้นโลก 820 กิโลเมตร
- โคจรรอบโลกซ้ำแนวโคจรเดิมทุก 26 วัน
- ทำหน้าที่ติดตามและสำรวจเชิงพื้นที่ ร่วมกับดาวเทียมสำรวจโลกอีกกว่า 20 ดวงทั่วโลก
- สถานีควบคุมและรับสัญญาณดาวเทียม ตั้งอยู่ที่อุทยานรังสรรค์นวัตกรรมอวกาศ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี
ข้อมูล “ดาวเทียมไทยโชต” ถูกนำไปใช้ทำอะไร
- ถูกนำไปใช้ติดตามพื้นที่ซึ่งได้รับผลกระทบ เช่น น้ำท่วม ไฟป่าหมอกควัน น้ำมันรั่วกลางอ่าวไทย ติดตามการเปลี่ยนแปลงและการใช้ที่ดิน ทรัพยากรป่าไม้ เป็นต้น
ภารกิจ “ดาวเทียมไทยโชต” ที่ผ่านมา เช่น
- ติดตามพื้นที่ความเสียหายจาก #สถานการณ์น้ำท่วม ปี 2554
- ติดตามสถานการณ์ไฟป่าหมอกควันในเขตภาคเหนือ ช่วงปี 2558 ถึงปัจจุบัน
- การเข้าร่วมในโครงการ Sentinel Asia Constellation เพื่อติดตามสถานการณ์ด้านภัยพิบัติร่วมกับดาวเทียมดวงอื่น ๆ กว่า 10 ดวง ในเอเชียแปซิฟิก เป็นต้น
ปัจจุบันดาวเทียมไทยโชต ยังปฏิบัติงานในห้วงอวกาศ โดยประสิทธิภาพอาจเริ่มลดลงตามอายุการใช้งานของดาวเทียม
🎧 อัปเดตข้อมูลแวดวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี รู้ทันโลกไอที และโซเชียลฯ ในรูปแบบ Audio จาก AI เสียงผู้ประกาศของไทยพีบีเอส ได้ที่ ThaiPBS
--------------------------
“รอบรู้ ดูกระแส ก้าวทันโลก” ไปกับ Thai PBS Sci & Tech
แหล่งข้อมูลอ้างอิง : สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (GISTDA)