เปิดเหตุผล ทำไมประกันรถ EV ราคาแพง
รถยนต์ EV ในไทยเริ่มพบเห็นได้ตามท้องถนนมากขึ้น แต่การการเป็นของใหญ่ในไทย ทั้งยังมีแบตเตอรี่ขนาดใหญ่ที่มีราคาสูงถึงประมาณ 50-60% ของราคารถ ทำให้หลายคนกังวลว่ากรมธรรม์ประกันภัยรถ EV จะมีราคาสูงตามไปด้วย แล้วทำไมถึงเป็นเช่นนั้น แล้วในอนาคตราคาจะถูกลงหรือไม่ ? ร่วมพูดคุยกับ คุณอาภากร ปานเลิศ ผู้ช่วยเลขาธิการ สายกำกับผลิตภัณฑ์ประกันภัย คปภ.
เส้นทางสายนิเทศศาสตร์ในยุคดิจิทัล
ในช่วงหนึ่งการเรียนในสาขาวิชานิเทศศาสตร์ หรือสื่อสารมวลชนได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก แต่เมื่อวันเวลาเปลี่ยนแปลงไป ทุกคนสามารถมีช่องทางการสื่อสารได้ด้วยตัวเอง การเรียนในสาขาวิชาดังกล่าวยังจะได้รับความสนใจอยู่หรือไม่ ? บุคคลากรที่อยู่ในวงการนิเทศศาสตร์มองการเปลี่ยนแปลงนี้อย่างไร ร่วมพูดคุยกับ ผศ. ดร.เจษฎา ศาลาทอง คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ทำไมคนยอมจ่ายแพงเพื่อซื้อสินค้าหรู
ทำไมบางครั้งเรามักจะยอมจ่ายเงินเพื่อซื้อสินค้าหรือบริการที่หรูหรา ดูดี ทั้ง ๆ ที่มีสินค้าหรือบริการประเภทเดียวกันราคาถูกกว่า ปรากฏการณ์แบบนี้มีคำอธิบายในเชิงของการตลาดเชิงประสาทวิทยาอย่างไร ? ร่วมพูดคุยกับ นพ.อุเทน บุญอรณะ เจ้าของเพจ NeuroMarketing การตลาดเชิงประสาทวิทยา
จับตาการฟื้นตัวของตลาดอสังหาฯ ไทย
ในช่วงที่ผ่านมาประเทศไทยประสบกับปัญหาโควิด-19 ทำให้เศรษฐกิจเกิดการชะลอตัว โดยเฉพาะในส่วนของตลาดอสังหาริมทรัพย์ไทย แต่ในช่วงที่ผ่านมาจะเริ่มเห็นสัญญาณการฟื้นตัว จากการเข้ามาซื้อบ้านและคอนโดฯ ของชาวต่างชาติ สภาวะดังกล่าวถือเป็นสภาวะปกติแล้วหรือไม่ ? ร่วมพูดคุยกับ คุณโอภาส ถิรปัญญาเลิศ ผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุนอสังหาริมทรัพย์
เปิดสาเหตุ ทำไมธนาคารไทยปล่อยสินเชื่อยาก
หลายคนที่ต้องการเงินเพื่อใช้ในการอุปโภคบริโภคหรือลงทุนในธุรกิจ คงต้องหันหน้าไปหาธนาคาร แต่หลายครั้งธนาคารอาจไม่อนุมัติสินเชื่อ การหันไปหากู้เงินนอกระบบหรือ Non-Bank จึงเกิดขึ้น เหตุใดธนาคารจึงปล่อยสินเชื่อยาก ? ร่วมพูดคุยกับ ดร.เกียรติอนันต์ ล้วนแก้ว อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
เอกซเรย์ปัญหาและโอกาสในตลาดแรงงานไทย
หากเรามองไปในภาคอุตสาหกรรมจะพบว่า เรามีแรงงานจากประเทศเพื่อนบ้านเข้ามาอยู่ในหลาย ๆ ภาคส่วนธุรกิจ ทำให้เกิดคำถามว่าแล้วแรงงานไทยที่มีอยู่ภายในประเทศไม่เพียงพอต่อความต้องการหรือไม่ สถานการณ์แรงงานไทยในปัจจุบันเป็นอย่างไร ? ร่วมพูดคุยกับ คุณเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
“เศรษฐกิจโตช้า” ระเบิดเวลาประเทศจีน
หากพูดถึงเศรษฐกิจโลก หลายคนคงจับตาไปที่จีน หลังยกเลิกมาตราการคุมเข้มโควิด-19 แต่สถานการณ์กลับยังไม่สามารถฟื้นตัว ซ้ำยังต้องเจอปัญหาการผิดนัดชำระหนี้หุ้นกู้ในภาคอสังหาริมทรัพย์ สิ่งนี้จะเป็นระเบิดเวลาของเศรษฐกิจจีนหรือไม่ ? ร่วมพูดคุยกับ รศ. ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ นักวิชาการอิสระด้านเศรษฐศาสตร์และการเมือง
รถไฟความเร็วสูง เมื่อความเจริญเผชิญกับมรดกโลก
เมื่อรถไฟความเร็วสูงจะตัดผ่าน จ.อยุธยา ทำให้เกิดข้อกังวลถึงการถูกถอดออกจากการเป็นเมืองมรดกโลก ขณะที่เศรษฐกิจและการท่องเที่ยวย่อมได้ประโยชน์ แล้วจะทำอย่างไรให้ทั้ง 2 อย่างนี้สามารถเดินควบคู่ไปด้วยกันได้ ร่วมพูดคุยกับ คุณธนกฤต กิตติธรรมกูล นายกสมาคมธุรกิจท่องเที่ยวจังหวัดพระนครศรีอยุธยา อ.ศิริพจน์ เหล่ามานะเจริญ นักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์และโบราณคดี และคุณธนานันต์ สุวรรณโพธิ์รุ่ง ผู้ประกอบการธุรกิจอสังหาฯ จ.พระนครศรีอยุธยา
จับตาสถานการณ์ “เงินบาทอ่อนค่า”
สถานการณ์ “เงินบาทอ่อนค่า” กำลังทำให้ผู้ที่ส่งออกสินค้า หรือผู้ที่ใช้จ่ายเป็นเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐได้รับผลกระทบ แล้วอะไรเป็นปัจจัยที่ทำให้เงินบาทอ่อนค่าได้บ้าง มีธุรกิจในกลุ่มใดที่จะได้รับผลกระทบและมีกลุ่มธุรกิจใดที่จะได้รับประโยชน์ ? ร่วมพูดคุยกับ ดร.เกียรติอนันต์ ล้วนแก้ว อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ทำอย่างไรให้ซอฟต์พาวเวอร์ไทยไปไกลระดับโลก
ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาเราคงจะได้ยินคำว่า “ซอฟต์พาวเวอร์” กันบ่อยขึ้น แล้วความหมายของคำ ๆ นี้ คืออะไร การจัดอันดับซอฟต์พาวเวอร์กับประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ประเทศไทยอยู่อันดับที่เท่าไหร่ ? มีตัวอย่างประเทศใดบ้างที่ประสบความสำเร็จ และประเทศไทยสามารถนำมาปรับใช้ได้ ร่วมพูดคุยกับ ผศ. ดร.เจษฎา ศาลาทอง คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ส่วนลดสินค้า คุ้มค่าจริงหรือไม่ ?
หลายคนเวลาไปซื้อสินค้า หรือใช้บริการร้านอาหารมักจะให้ความสนใจกับส่วนลด หรือโพรโมชันต่าง ๆ จนบางครั้งก็สงสัยว่าส่วนลดเหล่านั้นคุ้มค่าจริงหรือไม่ ? แล้วหลักคิดในการจัดโพรโมชันหรือส่วนลดต่าง ๆ นั้นคืออะไร ร่วมพูดคุยในประเด็นนี้กับ ดร.วิทย์ สิทธิเวคิน และ ไกด์ รัฐศักดิ์ สกุลวัชรอนันต์
ความเป็นไปได้ของนโยบาย "ค่าแรงขั้นต่ำ 600 บาท"
ในช่วงการหาเสียงเลือกตั้งที่ผ่านมา นโยบายหนึ่งที่ถูกพูดถึงคือการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ ไม่ว่าจะเป็น 400 หรือ 600 บาท เพื่อช่วยเหลือด้านค่าครองชีพให้แก่แรงงาน แล้วในมุมของผู้ประกอบการนโยบายนี้เป็นไปได้หรือไม่ ? หากเปรียบเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียนค่าแรงงานขั้นต่ำของไทยมากหรือน้อยอย่างไร ? ร่วมพูดคุยกับ คุณเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
เงินอุดหนุนเด็กแรกเกิด การลงทุนในเด็กที่สำคัญที่สุด
“เงินอุดหนุนเด็กแรกเกิด” หนึ่งในสวัสดิการของรัฐที่ต้องการช่วยเหลือภาระค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับเด็กแรกเกิดไปจนถึง 6 ปี แต่ในช่วงที่ผ่านมาเป็นที่ถกเถียงกันว่า เงินจำนวนนี้ควรให้กับเด็กทุกคน หรือควรจัดสรรให้กับผู้ที่ยากจนจริง ๆ กันแน่ ? แล้วโมเดลในต่างประเทศเขามีวิธีจัดการเรื่องนี้อย่างไร ? ร่วมพูดคุยกับ ดร.สมชัย จิตสุชน ผู้อำนวยการวิจัย ด้านการพัฒนาอย่างทั่วถึง ทีดีอาร์ไอ
ขอบเขตความคุ้มครอง เรื่องต้องรู้ของประกันภัยรถยนต์
ประเทศไทยถือได้ว่าเป็นประเทศที่มีสถิติการเกิดอุบัติเหตุทางท้องถนนสูงเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก การทำประกันภัยรถยนต์จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่จะช่วยชดเชยและคุ้มครองให้กับผู้ที่ขับขี่เอง และทั้งคู่กรณี แล้วขอบเขตความคุ้มครองในการทำประกันภัยแต่ละประเภทนั้นเป็นอย่างไร มีข้อควรรู้อะไรบ้าง ร่วมพูดคุยกับ คุณอาภากร ปานเลิศ ผู้ช่วยเลขาธิการ สายกำกับผลิตภัณฑ์ประกันภัย คปภ.
เศรษฐกิจไทยในวันที่ GDP หดตัว
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจไทยในปี 2566 จะเติบโตไม่ถึง 3 % สร้างความกังวลให้กับหลายฝ่ายกังวล หาก GDP ในประเทศหดตัวแล้วเศรษฐกิจจะพัฒนาไปได้อย่างไร แล้ว GDP สำคัญอย่างไรต่อเงินในกระเป๋าของเรา ร่วมพูดคุยกับ ดร.วิทย์ สิทธิเวคิน และริชาร์ต วัชราทิตย์ เกษศรี
เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ปรับอย่างไรไม่ให้ใครตกหล่น
การปรับหลักเกณฑ์พิจารณา “เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ” กลับมาเป็นข้อถกเถียง ซึ่งทำให้ผู้สูงอายุบางคนไม่ได้รับเงินช่วยเหลือจากภาครัฐ เป็นที่กังวลกันว่าอาจจะมีผู้สูงอายุที่ตกหล่นไป แล้วเราจัดการกับปัญหานี้อย่างไรบ้าง ? ร่วมพูดคุยกับ ดร.สมชัย จิตสุชน ผู้อำนวยการวิจัย ด้านการพัฒนาอย่างทั่วถึง ทีดีอาร์ไอ
ธุรกิจสีเขียว โอกาสของผู้ประกอบการยุคใหม่
“ธุรกิจสีเขียว” กำลังเป็นที่พูดถึงมากขึ้น แล้วธุรกิจสีเขียวแท้จริงคืออะไรกันแน่ ? ทำไมผู้ประกอบการยุคใหม่ถึงต้องใส่ใจธุรกิจสีเขียว แนวโน้มของธุรกิจสีเขียวในประเทศไทยเป็นอย่างไร ? ร่วมพูดคุยกับ คุณเกียรติชาย ไมตรีวงษ์ ผู้อำนวยการองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก
ทำอย่างไรเมื่อสินค้าดี แต่ไม่มีคนซื้อ
สินค้าดีมีคุณภาพเหตุใดจึงขายไม่ออก จนเมื่อสินค้านั้นเริ่มมีการสื่อสารการตลาดด้วยหลักจิตวิทยาผู้บริโภคก็เริ่มขายได้ดีขึ้น เหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น การนำหลักดังกล่าวมาใช้มีความสำคัญอย่างไร ร่วมพูดคุยกับ นพ.อุเทน บุญอรณะ เจ้าของเพจ NeuroMarketing การตลาดเชิงประสาทวิทยา