ในเมืองเชียงใหม่มุสลิมที่สำคัญอยู่ 3 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 ชาวมุสลิมเชื้อสายจีนยูนนาน หรือที่เรียกกันว่า “จีนฮ่อ” เริ่มอพยพเข้ามาตั้งแต่ปลายคริสตศตวรรษที่ 19 โดยกลุ่มแรก ๆ ที่เดินทำงเข้ามาเป็นพ่อค้าทางไกลที่เดินทางเข้ามาค้าขายพร้อมกองคาราวานม้าต่างหรือล่อต่าง บรรทุกสินค้าสำคัญ ได้แก่ ผ้าไหม ใบชา เครื่องทองเหลืองจากจีนและทิเบตเข้ามาขาย และขากลับจะซื้อผ้าฝ้ายดิบและเกลือจากไทยและลาวกลับไปขาย
พ่อค้าจีนฮ่อเหล่านี้เดินทางค้าขายอยู่แถบชายแดนไทย-พม่า และเข้ามาค้าขายแถบเชียงราย ตาก เชียงใหม่ และแม่ฮ่องสอน มีการแวะพักในเมืองเชียงใหม่บ้างเป็นการชั่วคราว มีชุมชนจีนฮ่ออยู่ทั้งฝั่งวัดเกตและฝั่งตะวันตกของแม่น้ำปิง
ส่วนมุสลิมเชื้อสายเอเชียใต้มีหลายกลุ่มและมาจากหลายเมือง หลายประเทศ อพยพมาจากบังกลาเทศ ปากีสถาน อินเดีย มีการอพยพเข้ามาหลายระลอก เป็นกลุ่มแรกที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานในเชียงใหม่ อพยพเข้ามาในช่วง พ.ศ.2393 นำโดยท่าน มูฮัมหมัด อุสมาน อาลี เมยายี ส่วนใหญ่มักอพยพมาทางบก ผ่านพม่าเข้าสู่เชียงใหม่ด้วยเส้นทางการค้าที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ โดยใช้เส้นทาง จ.ตาก แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ และเชียงราย ชุมชนที่ตั้งส่วนใหญ่จะอยู่ในพื้นที่ช้างคลานในปัจจุบัน
และกลุ่มที่ 3 มุสลิมพม่า ซึ่งเป็นกลุ่มที่เข้ามาในภายหลังเมื่อช่วงประมาณ 30-40 ปีก่อน ผู้อพยพส่วนใหญ่พักพิงตามเมืองชายแดน ในขณะที่บางส่วนอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานบริเวณพื้นที่ชุมชนช้างคลาน โดยเส้นทางที่มุสลิมพม่าใช้สัญจรแบ่งได้ 2 เส้นทาง คือเส้นทางแม่สอด – เมียวดี และเส้นทางแม่สามแลบ จังหวัดแม่ฮ่องสอน สาเหตุหลักที่มุสลิมพม่าเลือกชุมชนช้างคลานเป็ นจุดหมายปลายทางหลัก เนื่องจากระยะทางระหว่างพื้นที่ต้นทางและปลายทางที่ไม่ไกลกันมากและบริบททางด้านเศรษฐกิจของเชียงใหม่ก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ดึงดูดมุสลิมพม่าให้เข้ามาตั้งถิ่นฐาน ซึ่งมุสลิมพม่าเป็นกลุ่มแรงงานข้ามชาติที่อพยพเข้ามาในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ด้วยเหตุผลทางด้านเศรษฐกิจ
นอกจากนี้ยังมีมุสลิมปาทาน มุสลิมมาเลย์ที่อพยพเข้ามาในภายหลังเมื่อไม่กี่ปีมานี้ด้วยปัจจัยดึงดูดทางด้านเศรษฐกิจ
เนื่องจากชาวยูนานที่เข้ามาค้าขายในระยะแรก ส่วนใหญ่เป็นผู้ชาย บางคนจึงได้แต่งงานกับผู้หญิงมุสลิมเชื้อสายเอเชียใต้ที่อาศัยอยู่ในเชียงใหม่โดยชาวมุสลิมเชื้อสายเอเชียใต้จะยกย่องชาวมุสลิมเชื้อสายจีนว่าค้าขายเก่ง มีความสามารถทางการค้าธุรกิจและมีฐานะมั่นคงมากกว่าพวกตน การแต่งงานทำให้มีการผสมกลมกลืนเข้าด้วยกัน และเนื่องจากสังคมไทยมีลักษณะเป็นพหุสังคมที่ประกอบด้วยคนหลายเชื้อชาติ หลายภาษา ไม่มีการผูกขาดหรือกีดกันอาชีพหรือโอกาสที่จะเข้าถึงทรัพยากร ทำให้มุสลิมทั้งสองกลุ่มมีโอาสในการประกอบอาชีพ พัฒนาตัวเองด้วยการศึกษาและพัฒนาฐานะได้ทั้งสองฝ่าย
ส่วนความสัมพันธ์กับคนพื้นเมืองชาวเชียงใหม่นั้น ชาวมุสลิมที่อาศัยอยู่มานาน มักเรียกตัวเองว่า “มุสลิมคนเมือง” เพราะมีการดำเนินชีวิต ทั้งภาษาและความเป็นอยู่ที่คล้ายคลึงและกลมกลืนเป็นเนื้อเดียวกัน ยกเว้นเพียงแค่นับถือศาสนาต่างกันเท่านั้น
ปัจจุบันชุมชนที่มุสลิมอาศัยอยู่มี 4 แห่ง ย่านช้างเผือกกับช้างคลาน ส่วนใหญ่เป็นชาวอินเดียเชื้อสายบังคลาเทศ ชาวปากีสถาน ส่วนมุสลิมเชื้อสายจีนยูนนานอาศัยอยู่บริเวณมัสยิดบ้านฮ่อ ย่านไนท์บาซาร์และมัสยิดอัตตักวา ย่านวัดเกต
ติดตามในรายการ จากรากสู่เรา ตอน ชุมชนมุสลิมจีนในเชียงใหม่ ชาติพันธุ์ ศาสนา และการรักษาอัตลักษณ์ วันจันทร์ที่ 17 เมษายน 2566 เวลา 21.45 - 22.15 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมทีวีออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live
จากรากสู่เรา
เจริญกรุง - ถนนตก : ชาวเดนมาร์ก และรถรางสายแรกของเอเชีย
โต๊ะจีนกับวัฒนธรรมกินเลี้ยงของสังคมไทย
มุสลิมบางกอกน้อย : แขกแพ ข้าวหมกสามสี และที่นอนยัดนุ่น
หนังสือพิมพ์จีน การส่งผ่านแนวคิดทางการเมืองในสังคมไทย
จากพระประแดงถึงนครเขื่อนขันธ์ : นิวอัมเตอร์ดัมไทยแลนด์
จากพระประแดงถึงนครเขื่อนขันธ์ : นิวอัมเตอร์ดัมไทยแลนด์
ย่านประดิพัทธ์ สะพานควาย กับการขยายเมืองทางตอนเหนือของพระนคร
ชุมชนประชานฤมิตร จากสวนผลไม้ สู่ถนนสายไม้แห่งบางโพ
ชุมชนมัสยิดยะวา
สี่แยกราชประสงค์ : รู้จักย่านธุรกิจใหญ่ ด้วยความเข้าใจพื้นที่เก่า
สุสาน - ป่าช้า : พื้นที่ประวัติศาสตร์ของเมือง
ชาวปาร์ซี บนเส้นเวลาประวัติศาสตร์สยาม
การไปรษณีย์โทรเลข : เล่าเรื่องวันวาน สู่ดิจิทัลอิโคโนมี่
ประวัติศาสตร์แฟชั่น จากผ้าแถบ และรัฐนิยม สู่ Y2K
เชียงใหม่ : สร้างบ้านแปงเมือง
แกงโฮะหม้อใหญ่: เชียงใหม่เมืองพหุวัฒนธรรม
ล้านนาลายมังกร : ตำนานการค้าขายของจีนฮ่อ-จีนโพ้นทะเล
กาดหลวงเชียงใหม่ : จากสุสานเก่า สู่ตลาดคู่เมือง
เชียงใหม่กับฝรั่งค้าไม้ : ช่วงชีวิตที่รุ่งเรืองและความเปลี่ยนแปลง
คนซิกข์และฮินดู : อัตลักษณ์ ความสัมพันธ์และวัฒนธรรมล้านนา
241 ปีกรุงรัตนโกสินทร์ : จากรากและกระแสแห่งความเปลี่ยนแปลง
ชุมชนมุสลิมจีนในเชียงใหม่ ชาติพันธุ์ ศาสนา และการรักษาอัตลักษณ์
สมโภช 700 ปี เชียงใหม่ กับทิศทางฟื้นฟู อนุรักษ์และพัฒนา
ภาพถ่ายเชียงใหม่ ประวัติศาสตร์และความทรงจำของคนเมือง
หมอสอนศาสนา: กับยุคเปลี่ยนผ่านของเชียงใหม่
เชียงใหม่เมืองท่องเที่ยว ย่านวัดเกตการาม คลองโอตารุเชียงใหม่
โฟล์คซองคำเมือง วัฒนธรรมคนเมืองในบทเพลง และอาหาร
คนเมืองเชียงใหม่ : ญี่ปุ่นและจีนอพยพใหม่
อัญมณีแห่งบูรพาทิศ : จันทบุรีและบ้านเมืองภาคตะวันออก
เมืองท่าริมเขาสระบาป : จันทบุรียุคแรกเริ่ม
จากรากสู่เรา
เจริญกรุง - ถนนตก : ชาวเดนมาร์ก และรถรางสายแรกของเอเชีย
โต๊ะจีนกับวัฒนธรรมกินเลี้ยงของสังคมไทย
มุสลิมบางกอกน้อย : แขกแพ ข้าวหมกสามสี และที่นอนยัดนุ่น
หนังสือพิมพ์จีน การส่งผ่านแนวคิดทางการเมืองในสังคมไทย
จากพระประแดงถึงนครเขื่อนขันธ์ : นิวอัมเตอร์ดัมไทยแลนด์
จากพระประแดงถึงนครเขื่อนขันธ์ : นิวอัมเตอร์ดัมไทยแลนด์
ย่านประดิพัทธ์ สะพานควาย กับการขยายเมืองทางตอนเหนือของพระนคร
ชุมชนประชานฤมิตร จากสวนผลไม้ สู่ถนนสายไม้แห่งบางโพ
ชุมชนมัสยิดยะวา
สี่แยกราชประสงค์ : รู้จักย่านธุรกิจใหญ่ ด้วยความเข้าใจพื้นที่เก่า
สุสาน - ป่าช้า : พื้นที่ประวัติศาสตร์ของเมือง
ชาวปาร์ซี บนเส้นเวลาประวัติศาสตร์สยาม
การไปรษณีย์โทรเลข : เล่าเรื่องวันวาน สู่ดิจิทัลอิโคโนมี่
ประวัติศาสตร์แฟชั่น จากผ้าแถบ และรัฐนิยม สู่ Y2K
เชียงใหม่ : สร้างบ้านแปงเมือง
แกงโฮะหม้อใหญ่: เชียงใหม่เมืองพหุวัฒนธรรม
ล้านนาลายมังกร : ตำนานการค้าขายของจีนฮ่อ-จีนโพ้นทะเล
กาดหลวงเชียงใหม่ : จากสุสานเก่า สู่ตลาดคู่เมือง
เชียงใหม่กับฝรั่งค้าไม้ : ช่วงชีวิตที่รุ่งเรืองและความเปลี่ยนแปลง
คนซิกข์และฮินดู : อัตลักษณ์ ความสัมพันธ์และวัฒนธรรมล้านนา
241 ปีกรุงรัตนโกสินทร์ : จากรากและกระแสแห่งความเปลี่ยนแปลง
ชุมชนมุสลิมจีนในเชียงใหม่ ชาติพันธุ์ ศาสนา และการรักษาอัตลักษณ์
สมโภช 700 ปี เชียงใหม่ กับทิศทางฟื้นฟู อนุรักษ์และพัฒนา
ภาพถ่ายเชียงใหม่ ประวัติศาสตร์และความทรงจำของคนเมือง
หมอสอนศาสนา: กับยุคเปลี่ยนผ่านของเชียงใหม่
เชียงใหม่เมืองท่องเที่ยว ย่านวัดเกตการาม คลองโอตารุเชียงใหม่
โฟล์คซองคำเมือง วัฒนธรรมคนเมืองในบทเพลง และอาหาร
คนเมืองเชียงใหม่ : ญี่ปุ่นและจีนอพยพใหม่
อัญมณีแห่งบูรพาทิศ : จันทบุรีและบ้านเมืองภาคตะวันออก
เมืองท่าริมเขาสระบาป : จันทบุรียุคแรกเริ่ม