ติดตามความเคลื่อนไหวของการแก้ปัญหาคนอยู่กับป่า ยิ่งตอนนี้เรากำลังคุยกันในเวทีเอเปค เรื่องสิ่งแวดล้อมและเศรษฐกิจสีเขียว การแก้ปัญหาของประเทศก็ต้องคำนึงถึงชุมชนที่อยู่ในเขตป่าที่มีเกือบ 4,000 ชุมชน ในพื้นที่ราว 4.7 ล้านไร่ และคนกว่า 1.8 ล้านคนในพื้นที่ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นคนยากจน
ก่อนอื่นชวนอัปเดตความเคลื่อนไหว - เหตุการณ์ใกล้ตัวกับนักข่าวพลเมืองที่รายงานมากับ Csite จากทุกภูมิภาค
ช่วงปลายปีแบบนี้ เป็นช่วงภาคใต้ฝั่งอันดามันหมดจากหน้ามรสุม พื้นที่ริมทะเลจะมีฝูงตัวเคย หรือกุ้งเคย ออกมาลอยตัวอยู่แถบชายฝั่งเป็นจำนวนมาก คุณอโนทัย งานดี นักข่าวพลเมือง จ.พังงา ปักหมุดเล่าถึงกลุ่มเกษตรกรทำกะปิตำบลโคกกลอย ที่รับซื้อกุ้งเคยต่อจากชาวประมงพื้นบ้านเขาปิหลาย ต.โคกกลอย ต.ตะกั่วทุ่ง จ.พังงา เพื่อนำมาแปรรูปเป็นกะปิชั้นดีและขายสำหรับเป็นของฝากจาก จ.พังงา
อีกความเคลื่อนไหวที่ภาคอีสาน นักข่าวพลเมือง คุณรังสินาท อุทกศิริ พาไปดูการทำเกษตรแบบผสมผสานของชาวบ้านหญ้าคา ต.ละหานนา อ.แวงน้อย จ.ขอนแก่น ที่ก่อนหน้านี้เคยทำสวนปลูกต้นยูคาลิปตัสส่งขาย ซึ่งกว่าจะได้ขายแต่ละรอบต้องใช้เวลาประมาณ 2 ปี จึงปรับพื้นที่จากสวนต้นยูคาลิปตัสมาปลูกพืชผักสวนครัว สร้างรายได้หมุนเวียนระยะสั้น
จากนั้น นักข่าวพลเมือง สภาเกษตรกรจังหวัดจันทบุรี พาไปดูการเสริมสร้างรายได้ในพื้นที่ป่าชายเลน ของกลุ่มเกษตรกรวิสาหกิจชุมชนสวนป่าโกงกาง และกลุ่มผู้เลี้ยงผึ้งชันโรง ต.เกาะขวาง อ.เมืองจันทบุรี ด้วยการเลี้ยงผึ้งชันโรง ซึ่งเป็นผึ้งจิ๋ว แต่รายได้ไม่จิ๋ว
ขยายต่อกับการแก้ปัญหาคนอยู่กับป่า 8 ปีแล้ว เชียงใหม่ตั้งเป้าใช้ คทช. เป็นหนึ่งเครื่องมือในการแก้ปัญหาคนอยู่กับป่า ในพื้นที่ 1.8 ล้านไร่ คทช.จังหวัดเห็นชอบกับแนวเขตพื้นที่ไปเพียง 130,000 ไร่ หรือประมาณแค่ 14% ของพื้นที่ ซึ่งปัจจุบันหลายชุมชนพยายามทำแผนที่และแนวเขตการใช้ประโยชน์ที่ชัดเจน เพื่อผลักดันไปสู่การทำข้อบัญญัติท้องถิ่น และเพื่อเป็นเครื่องมือในการจัดการใช้พื้นที่ร่วมกันของรัฐและชุมชน ชวนดูแม่ยางส้าน โมเดล คทช. แบบบูรณาการ และชวนคิด ชวนคุยต่อว่า ชุมชนและรัฐส่วนท้องถิ่นจะเข้ามามีส่วนให้กระบวนการนี้ดำเนินไปได้เร็วขึ้นอย่างไร ร่วมพูดคุยกับพ่อหลวงพิพัฒน์ ธนรวิทยา ผู้ใหญ่บ้านบ้านแม่ยางส้าน ต.ท่าผา อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่ และคุณพัทธนันท์ พิทาคำ นายอำเภอแม่แจ่ม
ติดตามได้ในรายการ "คุณเล่า เราขยาย" วันพฤหัสบดีที่ 17 พฤศจิกายน 2565 เวลา 13.30 - 14.00 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมทีวีออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live
คุณเล่า เราขยาย
ผ้าป่าเมล็ดพันธุ์ ความหวังฟื้นชีวิตเกษตรกร
เปิดบทเรียนชุมชนประสบภัย กับโจทย์จัดการภัยพิบัติ
ฤดูประสบภัย กับคนสูงอายุ
"ไฟฟ้า" พลังงานทางที่เลือก
"อาสาล้างบ้าน" ฟื้นชุมชนหลังน้ำท่วม
ฟื้นชีวิตคน - คลองสำโรง จ.สงขลา
ข้อบัญญัติท้องถิ่นกับการจัดการทรัพยากรชุมชน
สื่อพลเมืองสะพานเชื่อมผู้คน
เมล็ดพันธุ์ คน เมือง
12 ปีวันรวมญาติชาวเล เริ่มพื้นที่นำร่องเขตคุ้มครองวัฒนธรรม
ทิศทางชุมชนริมราง รถไฟสายเหนือ
สถานะแรงงานกับสถานการณ์เพื่อนบ้าน
18 ปีความรุนแรง กับพลังผู้หญิงชายแดนใต้
คุณภาพสังคมสูงวัย กับสิทธิแรงงาน
ทางเลือกการศึกษากันเด็กไม่หลุดการเรียนรู้
10 ปี "สมบัด" ที่หายไป สู่การยกระดับสิทธิมนุษยชนอาเซียน
ทางไปต่อ พ.ร.บ.ภัยพิบัติ ภาคประชาชน
#Saveเกาะหลีเป๊ะ หาทางออกข้อพิพาทที่ดินชาวเล
ภาคพลเมือง ปรับทิศคิดต่อ ปี 2566
ท่องเที่ยวโดยชุมชน โอกาสของทางเลือก
เปิดห้องเรียน เครือข่ายสื่อสาธารณะท้องถิ่น
ทางออกฝุ่นควันเพื่ออากาศสะอาด
มองชาวเล เข้าใจกลุ่มชาติพันธุ์ภาคใต้
น้ำมันรั่วระยอง เยียวยาไม่เท่ากับฟื้นฟู
อีสาน Geopark โอกาสจากผืนดิน
ไฟจำเป็นกับการจัดการที่เป็นโจทย์ท้าทาย
"จะนะ เกียวทาคุ" ปลาพิมพ์ปลาเล่าเรื่องชุมชน
"ทางเท้า" พื้นที่สาธารณะกับการจัดการอย่างมีส่วนร่วม
ทิศทางชุมชน คน แร่ เหมือง
ฝุ่นจิ๋ว PM 2.5 มหากาพย์วาระประชาชน
คุณเล่า เราขยาย
ผ้าป่าเมล็ดพันธุ์ ความหวังฟื้นชีวิตเกษตรกร
เปิดบทเรียนชุมชนประสบภัย กับโจทย์จัดการภัยพิบัติ
ฤดูประสบภัย กับคนสูงอายุ
"ไฟฟ้า" พลังงานทางที่เลือก
"อาสาล้างบ้าน" ฟื้นชุมชนหลังน้ำท่วม
ฟื้นชีวิตคน - คลองสำโรง จ.สงขลา
ข้อบัญญัติท้องถิ่นกับการจัดการทรัพยากรชุมชน
สื่อพลเมืองสะพานเชื่อมผู้คน
เมล็ดพันธุ์ คน เมือง
12 ปีวันรวมญาติชาวเล เริ่มพื้นที่นำร่องเขตคุ้มครองวัฒนธรรม
ทิศทางชุมชนริมราง รถไฟสายเหนือ
สถานะแรงงานกับสถานการณ์เพื่อนบ้าน
18 ปีความรุนแรง กับพลังผู้หญิงชายแดนใต้
คุณภาพสังคมสูงวัย กับสิทธิแรงงาน
ทางเลือกการศึกษากันเด็กไม่หลุดการเรียนรู้
10 ปี "สมบัด" ที่หายไป สู่การยกระดับสิทธิมนุษยชนอาเซียน
ทางไปต่อ พ.ร.บ.ภัยพิบัติ ภาคประชาชน
#Saveเกาะหลีเป๊ะ หาทางออกข้อพิพาทที่ดินชาวเล
ภาคพลเมือง ปรับทิศคิดต่อ ปี 2566
ท่องเที่ยวโดยชุมชน โอกาสของทางเลือก
เปิดห้องเรียน เครือข่ายสื่อสาธารณะท้องถิ่น
ทางออกฝุ่นควันเพื่ออากาศสะอาด
มองชาวเล เข้าใจกลุ่มชาติพันธุ์ภาคใต้
น้ำมันรั่วระยอง เยียวยาไม่เท่ากับฟื้นฟู
อีสาน Geopark โอกาสจากผืนดิน
ไฟจำเป็นกับการจัดการที่เป็นโจทย์ท้าทาย
"จะนะ เกียวทาคุ" ปลาพิมพ์ปลาเล่าเรื่องชุมชน
"ทางเท้า" พื้นที่สาธารณะกับการจัดการอย่างมีส่วนร่วม
ทิศทางชุมชน คน แร่ เหมือง
ฝุ่นจิ๋ว PM 2.5 มหากาพย์วาระประชาชน