มหาเถรสมาคมเมียนมา ขอบิณฑบาต กองทัพยุติการใช้ความรุนแรงกับประชาชน
Myanmar Now รายงานว่า คณะกรรมการสังฆมหานายก (The State Sangha Maha Nayaka Committee) องค์กรปกครองคณะสงฆ์นิกายเถรวาทในเมียนมา ซึ่งเทียบเท่ามหาเถรสมาคมของคณะสงฆ์ไทยจัดทำร่างแถลงการณ์เรียกร้อง ให้รัฐบาลทหารเมียนมายุติการใช้ความรุนแรงกับผู้ชุมนุม และกล่าวหาว่ามีการทรมานทารุณกรรม สังหารประชาชนผู้บริสุทธิ์ นับตั้งแต่การรัฐประหารเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์
คณะกรรมการสังฆมหานายก เรียกร้องให้รัฐบาลทหารเมียนมายุติการใช้ความรุนแรงกับประชาชน รวมทั้งมีมาตรการป้องกันมิให้ทหารฉกฉวยและทำลายทรัพย์สินของประชาชนด้วย
Myanmar Now อ้างแหล่งข่าวในคณะกรรมการมหาสังฆนายกว่า จะมีการเผยแพร่แถลงการณ์ฉบับนี้ ภายหลังปรึกษาหารือกับรัฐมนตรีกระทรวงกิจการศาสนาในวันพฤหัสบดีนี้ (18 มี.ค. 64)
คณะกรรมการมหาสังฆนายก ประกอบด้วยกรรมการสงฆ์ทั้งหมด 47 รูป ได้รับการแต่งตั้งโดยกระทรวงกิจการศาสนา มีวาระการดำรงตำแหน่ง 3 ปี มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายกำกับดูแลพระภิกษุให้ประพฤติปฏิบัติในกรอบพระวินัย (Vinaya) ของคณะสงฆ์นิกายเถรวาท คณะกรรมการมหาสังฆมหานายก เป็นองค์กรสงฆ์ที่มักถูกรัฐบาลเมียนมาใช้เป็นเครื่องมือในการกำกับควบคุมพระสงฆ์มิให้ยุ่งเกี่ยวกิจกรรมทางโลกวิสัย โดยเฉพาะการเมือง เช่นกรณี Shwenyawa Sayadaw เจ้าอาวาสวัดสาธุปริยัติ (Sadhu Pariyatti Manastery) แสดงธรรมเทศนาที่พรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย สาขามัณฑะเลย์ ในเดือนกันยายน ปี 2012 เรียกร้องให้รัฐบาลทหารเมียนมาปล่อยตัวนักโทษการเมือง และยุติสงครามกลางเมืองในเมียนมา เป็นเหตุให้คณะกรรมการมหาสังฆนายก มีมติขับ Shwenyawa Sayadaw ออกจากวัด โทษฐานไม่ปฏิบัติตามพระวินัย
พระสงฆ์เมียนมามีบทบาทสำคัญในการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในเมียนมา โดยเฉพาะการเข้าร่วมชุมนุมประท้วงเรียกร้องประชาธิปไตยในปี 2007 ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีในชื่อ "ปฏิวัติผ้าเหลือง" หรือ Saffron Revolution
ในการชุมนุมประท้วงต่อต้านรัฐบาลทหารและการรัฐประหารในช่วงเดือนเศษที่ผ่านมา ก็มีพระสงฆ์เข้าร่วมการชุมนุมด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะที่เมืองมัณฑะเลย์
หมายเหตุภาพ AFP สามเณร และพระสงฆ์บิณฑบาต ผ่านแนวป้องกันของผู้ชุมนุมที่ Hlaingthaya เขตนิคมอุตสาหกรรมในนครย่างกุ้ง เช้าวันอาทิตย์ที่ 14 มีนาคม วันที่เกิดเหตุปราบปรามนองเลือดที่ Hliangthaya มีผู้ชุมนุมเสียชีวิตอย่างน้อย 73 ศพ
มหาเถรสมาคมเมียนมา ขอบิณฑบาต กองทัพยุติการใช้ความรุนแรงกับประชาชน
Myanmar Now รายงานว่า คณะกรรมการสังฆมหานายก (The State Sangha Maha Nayaka Committee) องค์กรปกครองคณะสงฆ์นิกายเถรวาทในเมียนมา ซึ่งเทียบเท่ามหาเถรสมาคมของคณะสงฆ์ไทยจัดทำร่างแถลงการณ์เรียกร้อง ให้รัฐบาลทหารเมียนมายุติการใช้ความรุนแรงกับผู้ชุมนุม และกล่าวหาว่ามีการทรมานทารุณกรรม สังหารประชาชนผู้บริสุทธิ์ นับตั้งแต่การรัฐประหารเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์
คณะกรรมการสังฆมหานายก เรียกร้องให้รัฐบาลทหารเมียนมายุติการใช้ความรุนแรงกับประชาชน รวมทั้งมีมาตรการป้องกันมิให้ทหารฉกฉวยและทำลายทรัพย์สินของประชาชนด้วย
Myanmar Now อ้างแหล่งข่าวในคณะกรรมการมหาสังฆนายกว่า จะมีการเผยแพร่แถลงการณ์ฉบับนี้ ภายหลังปรึกษาหารือกับรัฐมนตรีกระทรวงกิจการศาสนาในวันพฤหัสบดีนี้ (18 มี.ค. 64)
คณะกรรมการมหาสังฆนายก ประกอบด้วยกรรมการสงฆ์ทั้งหมด 47 รูป ได้รับการแต่งตั้งโดยกระทรวงกิจการศาสนา มีวาระการดำรงตำแหน่ง 3 ปี มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายกำกับดูแลพระภิกษุให้ประพฤติปฏิบัติในกรอบพระวินัย (Vinaya) ของคณะสงฆ์นิกายเถรวาท คณะกรรมการมหาสังฆมหานายก เป็นองค์กรสงฆ์ที่มักถูกรัฐบาลเมียนมาใช้เป็นเครื่องมือในการกำกับควบคุมพระสงฆ์มิให้ยุ่งเกี่ยวกิจกรรมทางโลกวิสัย โดยเฉพาะการเมือง เช่นกรณี Shwenyawa Sayadaw เจ้าอาวาสวัดสาธุปริยัติ (Sadhu Pariyatti Manastery) แสดงธรรมเทศนาที่พรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย สาขามัณฑะเลย์ ในเดือนกันยายน ปี 2012 เรียกร้องให้รัฐบาลทหารเมียนมาปล่อยตัวนักโทษการเมือง และยุติสงครามกลางเมืองในเมียนมา เป็นเหตุให้คณะกรรมการมหาสังฆนายก มีมติขับ Shwenyawa Sayadaw ออกจากวัด โทษฐานไม่ปฏิบัติตามพระวินัย
พระสงฆ์เมียนมามีบทบาทสำคัญในการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในเมียนมา โดยเฉพาะการเข้าร่วมชุมนุมประท้วงเรียกร้องประชาธิปไตยในปี 2007 ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีในชื่อ "ปฏิวัติผ้าเหลือง" หรือ Saffron Revolution
ในการชุมนุมประท้วงต่อต้านรัฐบาลทหารและการรัฐประหารในช่วงเดือนเศษที่ผ่านมา ก็มีพระสงฆ์เข้าร่วมการชุมนุมด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะที่เมืองมัณฑะเลย์
หมายเหตุภาพ AFP สามเณร และพระสงฆ์บิณฑบาต ผ่านแนวป้องกันของผู้ชุมนุมที่ Hlaingthaya เขตนิคมอุตสาหกรรมในนครย่างกุ้ง เช้าวันอาทิตย์ที่ 14 มีนาคม วันที่เกิดเหตุปราบปรามนองเลือดที่ Hliangthaya มีผู้ชุมนุมเสียชีวิตอย่างน้อย 73 ศพ