เปิดทีวีทิ้งไว้ ทำร้ายพัฒนาการลูก

ออกอากาศ3 พ.ย. 63

ทุกวันนี้มีบ้านไหนเปิดโทรทัศน์ไว้เป็นเพื่อนคลายเหงากันบ้าง และถ้าหากคุณชอบเปิดโทรทัศน์ทิ้งไว้เพื่อเป็นเพื่อนคลายเหงา พร้อมกับกำลังเลี้ยงเด็กเล็กอยู่ด้วย อยากให้อ่านบทความนี้จนจบ เพราะการเปิดโทรทัศน์ทิ้งไว้ในบ้าน โดยที่ไม่มีใครดู หรือที่เรียกว่า Background Media อาจเป็นภัยเงียบที่ทำร้ายพัฒนาการเด็กได้ในหลาย ๆ ด้าน

เปิดบ้านไทยพีบีเอสจะพาไปไขความลับเรื่องนี้กับ รศ. นพ.วีระศักดิ์ ชลไชยะ หัวหน้าหน่วยปฏิบัติการวิจัยพัฒนาศักยภาพเด็กไทย และสาขาวิชาพัฒนาการและการเจริญเติบโต คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้ทำการศึกษาวิจัยผลของสื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านจอต่อเด็กและวัยรุ่น จะเป็นอย่างไร ลองมาทำความเข้าใจไปพร้อม ๆ กัน

Q : ก่อนอื่นเลย อยากให้อธิบายให้ฟังหน่อยค่ะ ว่า Background Media คืออะไร?

A : Background Media คือการเปิดสื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านจอทิ้งไว้โดยไม่มีใครดู อาจจะอยู่ในรูปแบบของโทรทัศน์ วิดีโอ ดีวีดี คอมพิวเตอร์ แท็บแล็ต หรือสมาร์ตโฟน ซึ่งเนื้อหาสื่อที่เปิดไว้ส่วนใหญ่เป็นเนื้อหาที่ผลิตขึ้นสำหรับผู้ใหญ่ ไม่ได้มีความเหมาะสมกับเด็ก

Q : แล้วทำไมสื่อประเภท Background Media ถึงขัดขวางพัฒนาการเด็กได้คะ?

A : เนื่องจากเวลาที่มีการเปิดสื่อทิ้งไว้ เด็กอาจจะกำลังเล่นอะไรบางอย่างอยู่ แล้วขณะนั้นในโทรทัศน์บังเอิญมีโฆษณาบางตัวมาดึงดูดความสนใจของเด็ก ทำให้เด็กอาจจะหันไปสนใจสิ่งนั้นแทน ก็เลยทำให้เซลล์ประสาทที่ควรจะเชื่อมต่อกันเป็นโครงข่ายถูกรบกวนจนไม่สามารถทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ

ซึ่งในสมองของคนเราประกอบไปด้วยเซลล์สมองกว่า 1 แสนล้านเซลล์ ถูกพัฒนามาตั้งแต่ตอนที่เราอยู่ในครรภ์ และสามารถพัฒนาได้ดีมากที่สุดในช่วงแรกเกิด จนถึงอายุ 3 ปี โดยเซลล์สมองเหล่านี้เกิดจากการเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ รอบตัว รวมไปถึงการเล่นของเล่น เล่นตุ๊กตา คืบคลาน หรือการกระโดด โดยเซลล์ประสาทเหล่านี้จะเชื่อมต่อกันเป็นร่างแห หากพ้นจากช่วงอายุดังกล่าวไปแล้วจะไม่มีเซลล์สมองเพิ่มขึ้นอีก แต่จะเชื่อมต่อเป็นโครงข่ายเส้นใยประสาทไปเรื่อย ๆ จนเมื่อเข้าสู่อายุ 10 ปี ทุกอย่างจะเริ่มถดถอยลงอย่างช้า ๆ

ดังนั้นในช่วงแรกเกิดจนถึงอายุ 3 ปี ถือว่าเป็นช่วงเวลาที่สำคัญต่อพัฒนาการของเด็ก ถ้าคุณพ่อคุณแม่ปล่อยให้ลูกอยู่กับสื่อประเภท Background Media ไปนาน ๆ อาจส่งผลกระทบต่อสติปัญญาและพัฒนาการของเด็ก เนื่องจากภาพและเสียงจากสื่อประเภทดังกล่าว จะเข้าไปกระทบต่อการพัฒนาโครงข่ายของจุดประสานประสาท และการสร้างไมอีลินในสมองซึ่งเป็นส่วนที่สำคัญต่อพัฒนาการและการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพของเด็ก

รวมไปถึงยังเป็นตัวการที่ทำให้พัฒนาการทางด้าน Executive Functions (EF) หรือระบบการทำหน้าที่บริหารสมองระดับสูง ที่คอยยับยั้งความคิด อารมณ์ พฤติกรรม และทักษะสำคัญด้านความจำในการทำงาน การควบคุมยับยั้งตนเอง และการมีความคิดยืดหยุ่นลดลง เนื่องจากการที่ปล่อยให้ลูกใช้เวลาอยู่กับจอมากเกินไปโดยที่คุณพ่อคุณแม่ไม่ได้ดูไปพร้อมกับลูกด้วย ส่งผลให้เด็กขาดปฏิสัมพันธ์และไม่ได้ทำกิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาการทางด้านนี้เลย

นอกจากนี้จากการศึกษาของคุณหมอวีระศักดิ์ ชลไชยะยังพบว่า บ้านที่เปิดสื่อทิ้งไว้นาน ๆ ส่งผลทำให้เด็กนอนหลับได้ยากขึ้น นอนไม่พอ จนอาจเกิดอาการหงุดหงิด มีพฤติกรรมซน สมาธิสั้น หรือก้าวร้าวเพิ่มขึ้นได้

ซึ่งคุณพ่อคุณแม่ที่มาปรึกษาส่วนใหญ่ให้คะแนนว่าลูกมีพฤติกรรมดื้อต่อต้านมากยิ่งขึ้นและมีพฤติกรรมไปทางเด็กออทิสติก(Autistic Disorder) หรือ ออทิสซึม (Autism) คือ มีพฤติกรรมการแยกตัว หรือสื่อสารน้อยลง และชอบอยู่คนเดียว

Q : เราจะแก้ไขปัญหาเรื่องนี้อย่างไรได้บ้างคะ เพื่อที่จะไม่ให้เกิดการขัดขวางพัฒนาการต่าง ๆ ของเด็ก

A : สำหรับบ้านไหนที่อยากจะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ภายในบ้าน เพื่อให้ลูกน้อยมีพัฒนาการและสติปัญญาที่ดีขึ้น ไม่ก้าวร้าว ไม่หงุดหงิด พักผ่อนได้อย่างเพียงพอ และเจริญเติบโตตามวัย ลองทำตามคำแนะนำง่าย ๆ 4 ข้อ ดังต่อไปนี้ครับ

  1. ควรหลีกเลี่ยงสื่อผ่านจอทุกประเภทในเด็กแรกเกิดจนถึงเด็กที่มีอายุ 2 ขวบ ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ควรเลือกเวลาใช้จอในช่วงที่ลูกไม่ได้อยู่บริเวณนั้น หรือช่วงที่ลูกหลับ
  2. จัด Media Free Zone ให้เป็นพื้นที่ปลอดสื่อในบ้าน เช่น ไม่ให้มีโทรทัศน์ หรือไม่ดูจอในห้องครัวและห้องนอน
  3. ถ้าบ้านไหนที่คุณพ่อคุณแม่ให้ลูกใช้สื่อแล้ว ลองกำหนดกติกาการใช้สื่อผ่านจออย่างเข้มงวด
  4. เมื่อยินยอมให้เด็กใช้สื่อแล้ว ก็ไม่ควรปล่อยให้เด็ก ๆ ดูเพียงลำพัง คุณพ่อคุณแม่ควรนั่งอยู่กับลูก เพื่อคอยพูดคุย สร้างปฏิสัมพันธ์กับเด็ก ๆ

ชมรายการเปิดบ้านไทยพีบีเอสย้อนหลัง ตอน ผลเสียจากการเปิดโทรทัศน์ทิ้งไว้


แหล่งข้อมูล

หนังสือ ผลของสื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านจอต่อเด็กและวัยรุ่น Effects of Electronic Screen Media on Children and Adolescents ของ รศ.นพ. วีระศักดิ์ ชลไชยะ หัวหน้าหน่วยปฏิบัติการวิจัยพัฒนาศักยภาพเด็กไทย และสาขาวิชาพัฒนาการและการเจริญเติบโต คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ทุกวันนี้มีบ้านไหนเปิดโทรทัศน์ไว้เป็นเพื่อนคลายเหงากันบ้าง และถ้าหากคุณชอบเปิดโทรทัศน์ทิ้งไว้เพื่อเป็นเพื่อนคลายเหงา พร้อมกับกำลังเลี้ยงเด็กเล็กอยู่ด้วย อยากให้อ่านบทความนี้จนจบ เพราะการเปิดโทรทัศน์ทิ้งไว้ในบ้าน โดยที่ไม่มีใครดู หรือที่เรียกว่า Background Media อาจเป็นภัยเงียบที่ทำร้ายพัฒนาการเด็กได้ในหลาย ๆ ด้าน

เปิดบ้านไทยพีบีเอสจะพาไปไขความลับเรื่องนี้กับ รศ. นพ.วีระศักดิ์ ชลไชยะ หัวหน้าหน่วยปฏิบัติการวิจัยพัฒนาศักยภาพเด็กไทย และสาขาวิชาพัฒนาการและการเจริญเติบโต คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้ทำการศึกษาวิจัยผลของสื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านจอต่อเด็กและวัยรุ่น จะเป็นอย่างไร ลองมาทำความเข้าใจไปพร้อม ๆ กัน

Q : ก่อนอื่นเลย อยากให้อธิบายให้ฟังหน่อยค่ะ ว่า Background Media คืออะไร?

A : Background Media คือการเปิดสื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านจอทิ้งไว้โดยไม่มีใครดู อาจจะอยู่ในรูปแบบของโทรทัศน์ วิดีโอ ดีวีดี คอมพิวเตอร์ แท็บแล็ต หรือสมาร์ตโฟน ซึ่งเนื้อหาสื่อที่เปิดไว้ส่วนใหญ่เป็นเนื้อหาที่ผลิตขึ้นสำหรับผู้ใหญ่ ไม่ได้มีความเหมาะสมกับเด็ก

Q : แล้วทำไมสื่อประเภท Background Media ถึงขัดขวางพัฒนาการเด็กได้คะ?

A : เนื่องจากเวลาที่มีการเปิดสื่อทิ้งไว้ เด็กอาจจะกำลังเล่นอะไรบางอย่างอยู่ แล้วขณะนั้นในโทรทัศน์บังเอิญมีโฆษณาบางตัวมาดึงดูดความสนใจของเด็ก ทำให้เด็กอาจจะหันไปสนใจสิ่งนั้นแทน ก็เลยทำให้เซลล์ประสาทที่ควรจะเชื่อมต่อกันเป็นโครงข่ายถูกรบกวนจนไม่สามารถทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ

ซึ่งในสมองของคนเราประกอบไปด้วยเซลล์สมองกว่า 1 แสนล้านเซลล์ ถูกพัฒนามาตั้งแต่ตอนที่เราอยู่ในครรภ์ และสามารถพัฒนาได้ดีมากที่สุดในช่วงแรกเกิด จนถึงอายุ 3 ปี โดยเซลล์สมองเหล่านี้เกิดจากการเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ รอบตัว รวมไปถึงการเล่นของเล่น เล่นตุ๊กตา คืบคลาน หรือการกระโดด โดยเซลล์ประสาทเหล่านี้จะเชื่อมต่อกันเป็นร่างแห หากพ้นจากช่วงอายุดังกล่าวไปแล้วจะไม่มีเซลล์สมองเพิ่มขึ้นอีก แต่จะเชื่อมต่อเป็นโครงข่ายเส้นใยประสาทไปเรื่อย ๆ จนเมื่อเข้าสู่อายุ 10 ปี ทุกอย่างจะเริ่มถดถอยลงอย่างช้า ๆ

ดังนั้นในช่วงแรกเกิดจนถึงอายุ 3 ปี ถือว่าเป็นช่วงเวลาที่สำคัญต่อพัฒนาการของเด็ก ถ้าคุณพ่อคุณแม่ปล่อยให้ลูกอยู่กับสื่อประเภท Background Media ไปนาน ๆ อาจส่งผลกระทบต่อสติปัญญาและพัฒนาการของเด็ก เนื่องจากภาพและเสียงจากสื่อประเภทดังกล่าว จะเข้าไปกระทบต่อการพัฒนาโครงข่ายของจุดประสานประสาท และการสร้างไมอีลินในสมองซึ่งเป็นส่วนที่สำคัญต่อพัฒนาการและการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพของเด็ก

รวมไปถึงยังเป็นตัวการที่ทำให้พัฒนาการทางด้าน Executive Functions (EF) หรือระบบการทำหน้าที่บริหารสมองระดับสูง ที่คอยยับยั้งความคิด อารมณ์ พฤติกรรม และทักษะสำคัญด้านความจำในการทำงาน การควบคุมยับยั้งตนเอง และการมีความคิดยืดหยุ่นลดลง เนื่องจากการที่ปล่อยให้ลูกใช้เวลาอยู่กับจอมากเกินไปโดยที่คุณพ่อคุณแม่ไม่ได้ดูไปพร้อมกับลูกด้วย ส่งผลให้เด็กขาดปฏิสัมพันธ์และไม่ได้ทำกิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาการทางด้านนี้เลย

นอกจากนี้จากการศึกษาของคุณหมอวีระศักดิ์ ชลไชยะยังพบว่า บ้านที่เปิดสื่อทิ้งไว้นาน ๆ ส่งผลทำให้เด็กนอนหลับได้ยากขึ้น นอนไม่พอ จนอาจเกิดอาการหงุดหงิด มีพฤติกรรมซน สมาธิสั้น หรือก้าวร้าวเพิ่มขึ้นได้

ซึ่งคุณพ่อคุณแม่ที่มาปรึกษาส่วนใหญ่ให้คะแนนว่าลูกมีพฤติกรรมดื้อต่อต้านมากยิ่งขึ้นและมีพฤติกรรมไปทางเด็กออทิสติก(Autistic Disorder) หรือ ออทิสซึม (Autism) คือ มีพฤติกรรมการแยกตัว หรือสื่อสารน้อยลง และชอบอยู่คนเดียว

Q : เราจะแก้ไขปัญหาเรื่องนี้อย่างไรได้บ้างคะ เพื่อที่จะไม่ให้เกิดการขัดขวางพัฒนาการต่าง ๆ ของเด็ก

A : สำหรับบ้านไหนที่อยากจะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ภายในบ้าน เพื่อให้ลูกน้อยมีพัฒนาการและสติปัญญาที่ดีขึ้น ไม่ก้าวร้าว ไม่หงุดหงิด พักผ่อนได้อย่างเพียงพอ และเจริญเติบโตตามวัย ลองทำตามคำแนะนำง่าย ๆ 4 ข้อ ดังต่อไปนี้ครับ

  1. ควรหลีกเลี่ยงสื่อผ่านจอทุกประเภทในเด็กแรกเกิดจนถึงเด็กที่มีอายุ 2 ขวบ ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ควรเลือกเวลาใช้จอในช่วงที่ลูกไม่ได้อยู่บริเวณนั้น หรือช่วงที่ลูกหลับ
  2. จัด Media Free Zone ให้เป็นพื้นที่ปลอดสื่อในบ้าน เช่น ไม่ให้มีโทรทัศน์ หรือไม่ดูจอในห้องครัวและห้องนอน
  3. ถ้าบ้านไหนที่คุณพ่อคุณแม่ให้ลูกใช้สื่อแล้ว ลองกำหนดกติกาการใช้สื่อผ่านจออย่างเข้มงวด
  4. เมื่อยินยอมให้เด็กใช้สื่อแล้ว ก็ไม่ควรปล่อยให้เด็ก ๆ ดูเพียงลำพัง คุณพ่อคุณแม่ควรนั่งอยู่กับลูก เพื่อคอยพูดคุย สร้างปฏิสัมพันธ์กับเด็ก ๆ

ชมรายการเปิดบ้านไทยพีบีเอสย้อนหลัง ตอน ผลเสียจากการเปิดโทรทัศน์ทิ้งไว้


แหล่งข้อมูล

หนังสือ ผลของสื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านจอต่อเด็กและวัยรุ่น Effects of Electronic Screen Media on Children and Adolescents ของ รศ.นพ. วีระศักดิ์ ชลไชยะ หัวหน้าหน่วยปฏิบัติการวิจัยพัฒนาศักยภาพเด็กไทย และสาขาวิชาพัฒนาการและการเจริญเติบโต คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ละครย้อนยุค

ดูทั้งหมด

♫ ♫ Songs Popular ♫ ♫

ดูทั้งหมด

คลิปมาใหม่

คนดูเยอะ 👀

ดูทั้งหมด

เสน่ห์ประเทศไทย