วิถีของคนหาดทนง อ.เมือง จ.อุทัยธานี ชาวบ้านอาศัยอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาซึ่งเป็นพื้นที่เชื่อมกับแม่น้ำสะแกรัง และด้วยพื้นที่ตั้งอยู่ติดแม่น้ำ ทำให้เจอกับน้ำท่วมปัญหาน้ำท่วมแทบทุกปี เรือเลยกลายเป็นพาหนะสำคัญที่คนแถบนี้มี โดยชาวบ้านยังใช้เรือ ทั้งเรือเล็ก เรือใหญ่ และเรือข้ามฟาก
เรือข้ามฟาก มี 2 ท่า คือ ท่าเรือน้าชู และท่าเรือน้าเสริฐ ทั้งสองคนเป็นคนขับเรือข้ามฟาก ที่มีลักษณะเหมือนแพเล็ก ๆ รับน้ำหนักได้ไม่เยอะ ทุกเช้าจะมีชาวบ้านมาลงเรือที่ท่าเรือกันอย่างคึกคัก ทั้งนักเรียน แม่ค้า และคนทำงานออฟฟิศ บางคนเอามอไซด์ข้ามเรือไปด้วย เรือข้ามฟากจะวิ่งเป็นเส้นตรงข้ามฟากจาก อ.เมือง จ.อุทัยธานี ข้ามไป อ.มโนรมย์ จ.ชัยนาท
ผู้คนที่นี่มีความโชคดีที่สามารถทำกินได้ ด้วยภูมิปัญญาเดิมๆ เช่น "ป้าแจ๋ว" มีอาชีพตัดบอนขาย ซึ่งชาวบ้านเรียกว่า "บอนเขียว" ป้าจะขี่ซาเล้งออกหาบอนที่ขึ้นจากธรรมชาติ หนองน้ำและป่าสาธารณะ ที่ป้าเก็บได้และไม่มีใครว่า ไกลบ้าง ใกล้บ้าง ต้องหาไปเรื่อยจนครบจำนวนที่ลูกค้าสั่ง
"พี่กุ๊ก" คนทำขนมโบราณชื่อ "ข้าวโปง" เป็นขนมสำคัญที่ชาวนาจะต้องเอาไปใช้ในการรับขวัญข้าวที่กำลังจะตั้งท้อง เป็นวิถีของชาวนาดั้งเดิมเมื่อมีข้าวใหม่ จะนำมาทำเป็นขนมไหว้แม่โพสพ เพราะมีความเชื่อว่าจะทำให้ได้ข้าวผลผลิตดี
คนหาดทะนงนั้น ชาวบ้านส่วนหนึ่งจะได้รับมรดกเป็น "สวนไผ่" เพราะอยู่บนที่ดินที่เป็นมรดกตกทอดให้ลูก ให้หลานสืบต่อกันมา บางคนเลี้ยงลูก เลี้ยงครอบครัวมาเพราะเงินจากไม้ไผ่ ชาวบ้านบอกว่า ไม้ไผ่ให้ประโยชน์ตั้งแต่เกิดยันแก่ ซึ่งไม้ไผ่ที่แก่เมื่ออายุครบ 4 ปีจะมีคนมารับซื้อ โดยจะมีทีมงาน "รับจ้างตัดไม้ไผ่" คนที่ทำอาชีพนี้แต่ละคนแข็งแรงมากเพราะการขึ้นไปตัดไม้ไผ่ต้องปีนขึ้นเหยียบบนกอไผ่ แล้วต้องพยายามทรงตัวให้ได้ และไต่ไปตัดไม้ไผ่แต่ละลำจนหมด
ไม้ไผ่จากสวนไผ่มรดก ยังถูกนำมาทำเป็น "เครื่องจักสาน" โดยภูมิปัญญาของชาวบ้าน วิถีคนทำจักสาน จะเริ่มตอนฟ้าสางจะได้ยินเสียงจักตอกของผู้เฒ่าผู้แก่ แต่ก่อนทำทุกบ้านตอนนี้ลดลง ของใช้จักสานทั้ง กระจาด กระด้ง จะมีคนมารับซื้อและนำไปขาย ขนใส่รถมอเตอร์ไซด์และเอาไปขายทั้งสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา คือ จังหวัดชัยนาท และจังหวัดอุทัยธานี
ติดตามชมเรื่องราวอาชีพของผู้คนริมน้ำสะแกกรัง คนขับเรือข้ามฟาก คนตัดบอน และกลุ่มคนรับจ้างตัดไม้ไผ่ วันเสาร์ที่ 24 พฤษภาคม 2568 เวลา 13.30 - 14.00 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live
วิถีของคนหาดทนง อ.เมือง จ.อุทัยธานี ชาวบ้านอาศัยอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาซึ่งเป็นพื้นที่เชื่อมกับแม่น้ำสะแกรัง และด้วยพื้นที่ตั้งอยู่ติดแม่น้ำ ทำให้เจอกับน้ำท่วมปัญหาน้ำท่วมแทบทุกปี เรือเลยกลายเป็นพาหนะสำคัญที่คนแถบนี้มี โดยชาวบ้านยังใช้เรือ ทั้งเรือเล็ก เรือใหญ่ และเรือข้ามฟาก
เรือข้ามฟาก มี 2 ท่า คือ ท่าเรือน้าชู และท่าเรือน้าเสริฐ ทั้งสองคนเป็นคนขับเรือข้ามฟาก ที่มีลักษณะเหมือนแพเล็ก ๆ รับน้ำหนักได้ไม่เยอะ ทุกเช้าจะมีชาวบ้านมาลงเรือที่ท่าเรือกันอย่างคึกคัก ทั้งนักเรียน แม่ค้า และคนทำงานออฟฟิศ บางคนเอามอไซด์ข้ามเรือไปด้วย เรือข้ามฟากจะวิ่งเป็นเส้นตรงข้ามฟากจาก อ.เมือง จ.อุทัยธานี ข้ามไป อ.มโนรมย์ จ.ชัยนาท
ผู้คนที่นี่มีความโชคดีที่สามารถทำกินได้ ด้วยภูมิปัญญาเดิมๆ เช่น "ป้าแจ๋ว" มีอาชีพตัดบอนขาย ซึ่งชาวบ้านเรียกว่า "บอนเขียว" ป้าจะขี่ซาเล้งออกหาบอนที่ขึ้นจากธรรมชาติ หนองน้ำและป่าสาธารณะ ที่ป้าเก็บได้และไม่มีใครว่า ไกลบ้าง ใกล้บ้าง ต้องหาไปเรื่อยจนครบจำนวนที่ลูกค้าสั่ง
"พี่กุ๊ก" คนทำขนมโบราณชื่อ "ข้าวโปง" เป็นขนมสำคัญที่ชาวนาจะต้องเอาไปใช้ในการรับขวัญข้าวที่กำลังจะตั้งท้อง เป็นวิถีของชาวนาดั้งเดิมเมื่อมีข้าวใหม่ จะนำมาทำเป็นขนมไหว้แม่โพสพ เพราะมีความเชื่อว่าจะทำให้ได้ข้าวผลผลิตดี
คนหาดทะนงนั้น ชาวบ้านส่วนหนึ่งจะได้รับมรดกเป็น "สวนไผ่" เพราะอยู่บนที่ดินที่เป็นมรดกตกทอดให้ลูก ให้หลานสืบต่อกันมา บางคนเลี้ยงลูก เลี้ยงครอบครัวมาเพราะเงินจากไม้ไผ่ ชาวบ้านบอกว่า ไม้ไผ่ให้ประโยชน์ตั้งแต่เกิดยันแก่ ซึ่งไม้ไผ่ที่แก่เมื่ออายุครบ 4 ปีจะมีคนมารับซื้อ โดยจะมีทีมงาน "รับจ้างตัดไม้ไผ่" คนที่ทำอาชีพนี้แต่ละคนแข็งแรงมากเพราะการขึ้นไปตัดไม้ไผ่ต้องปีนขึ้นเหยียบบนกอไผ่ แล้วต้องพยายามทรงตัวให้ได้ และไต่ไปตัดไม้ไผ่แต่ละลำจนหมด
ไม้ไผ่จากสวนไผ่มรดก ยังถูกนำมาทำเป็น "เครื่องจักสาน" โดยภูมิปัญญาของชาวบ้าน วิถีคนทำจักสาน จะเริ่มตอนฟ้าสางจะได้ยินเสียงจักตอกของผู้เฒ่าผู้แก่ แต่ก่อนทำทุกบ้านตอนนี้ลดลง ของใช้จักสานทั้ง กระจาด กระด้ง จะมีคนมารับซื้อและนำไปขาย ขนใส่รถมอเตอร์ไซด์และเอาไปขายทั้งสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา คือ จังหวัดชัยนาท และจังหวัดอุทัยธานี
ติดตามชมเรื่องราวอาชีพของผู้คนริมน้ำสะแกกรัง คนขับเรือข้ามฟาก คนตัดบอน และกลุ่มคนรับจ้างตัดไม้ไผ่ วันเสาร์ที่ 24 พฤษภาคม 2568 เวลา 13.30 - 14.00 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live