พลังแห่งดวงจันทร์ กับ “วันนั้น” ของเดือน – The Visual by Thai PBS
ข้ามไปยังเนื้อหา
การมี “ประจำเดือน” ของผู้หญิงนั้น
โดยเฉลี่ยจะมีระยะห่างแต่ละรอบเท่า ๆ กัน และลดหลั่นลงไปตามช่วงอายุ

ข้อมูลจากเว็บไซต์ โรงพยาบาลเปาโล

โดยหากพิจารณาจากจำนวนวันของระยะห่างจะเห็นได้ว่า มีความใกล้เคียงกับ “ตัวเลข” ซึ่งเกี่ยวข้องกับ “ดวงจันทร์”
ความเชื่อหนึ่งในวัฒนธรรมจีนและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้เชื่อมโยง “ประจำเดือน” เข้ากับระยะเวลาครบรอบเสี้ยวและเต็มดวงของดวงจันทร์ ที่มักจะเกิดขึ้นคล้ายกัน คือ เดือนละ 1 ครั้ง
สิ่งที่ทำให้ประจำเดือนแต่ละคนแตกต่างกัน
มีหลายปัจจัย
ไม่เพียงเท่านั้นยังมีความเชื่อว่าดวงจันทร์อาจส่งผลกระทบต่อ
ปริมาณเลือด และ ความคลาดเคลื่อนของรอบประจำเดือน
เนื่องจากดวงจันทร์มีส่วนทำให้น้ำขึ้น-น้ำลง
อีกทั้งคำว่า ประจำเดือน ในภาษาอังกฤษ

menstruation (n.)

ยังมีรากศัพท์มาจากภาษาละติน คือ คำว่า mensis ที่แปลว่า ดวงจันทร์ (Moon) หรือ เดือน (Month)

แต่จริง ๆ แล้วเกี่ยวกันไหม ?

จากงานวิจัยเรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างพระจันทร์ รอบประจำเดือน และคุณภาพการนอน ของผู้มีประจำเดือนในวัยเจริญพันธ์ุ*

*เผยแพร่บนเว็บไซต์ www.ncbi.nlm.nih.gov วันที่ 21 มี.ค. 64

แบ่งการนับรอบดวงจันทร์เป็น 3 แบบ คือ

ก่อนอื่นลองมาดูกันว่าดวงจันทร์
ทำให้รอบประจำเดือนมีความคลาดเคลื่อนไหม
เปรียบเทียบสัดส่วนคนที่ประจำเดือนมาวันแรก ในช่วงสว่าง ช่วงกลาง และช่วงมืด จำนวน 529 คน ย้อนหลัง 6 เดือน พบว่า
สัดส่วนของคนที่ประจำเดือนมาวันแรก ในช่วงสว่าง ช่วงกลาง และช่วงมืด

ไม่ได้มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ

หมายความว่า ดวงจันทร์ไม่ได้ทำให้ประจำเดือนเลื่อนออกไป
หรือมาเร็วขึ้นนั่นเอง
ขณะเดียวกันในคืนที่มีประจำเดือน
ดวงจันทร์อาจส่งผลต่อการนอน

ลองมาดูว่าคนที่ประจำเดือนมาวันแรกในช่วงสว่าง ช่วงกลาง และช่วงมืด จะนอนหลับสนิท หรือไม่สนิทในเวลากลางคืน

ความสัมพันธ์ของช่วงการมีประจำเดือน
และคุณภาพการนอนย้อนหลัง 6 เดือน
จากการวิจัยพบว่า คนที่ประจำเดือนมาวันแรกในช่วงมืด จะนอนหลับไม่สนิท กว่าคนที่ประจำเดือนมาวันแรกในช่วงสว่าง โดยเฉพาะในช่วง 2 เดือนล่าสุด

สัดส่วนของคนที่นอนหลับสนิท และไม่สนิทช่วง 2 เดือนล่าสุด

คนที่ประจำเดือนมาวันแรกในช่วงสว่างทั้ง 2 เดือน จะนอนหลับสนิทมากที่สุด รองลงมาคือคนที่ประจำเดือนมาวันแรกในช่วงสว่างและกลาง

ส่วนอีกงานวิจัยหนึ่ง สำรวจการนอนหลับของชาวอาร์เจนตินาในชนบทและในเมือง รวมถึงนักศึกษามหาวิทยาลัยในเมืองของสหรัฐฯ พบว่า ในคืนก่อนพระจันทร์เต็มดวง คนจะนอนน้อยลงและเข้านอนดึกขึ้น

คุยกับหมอ

พญ.กตัญญุตา นาคปลัด

สูตินรีแพทย์ด้านเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์

Q : ควรดูแลร่างกายอย่างไรระหว่างมีประจำเดือน ?

ระหว่างมีประจำเดือน สามารถใช้ชีวิตปกติ เหมือนช่วงไม่มีประจำเดือน แต่อาจดูแลเพิ่มเติม ได้แก่

1. พักผ่อนให้เพียงพอ ทำให้ไม่เพลียจากการเสียเลือด
2. กินอาหารที่มีส่วนประกอบของธาตุเหล็กเยอะกว่าปกติ เช่น ตับ ปลา ผักใบเขียวเข้ม
3. หากมีอาการปวดเล็กน้อย สามารถใช้กระเป๋าน้ำอุ่นประคบ หรือกินยาแก้ปวด แต่หากปวดมาก ควรรีบพบแพทย์
4. หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์
5. บางคนอาจมีอารมณ์เปลี่ยนแปลง ควรนั่งสมาธิ พักผ่อนให้เพียงพอ หลีกเลี่ยงการดื่มชา กาแฟ และปรับสภาพจิตใจให้ยอมรับว่า ช่วงนี้มีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน

Q : ควรเลือกผ้าอนามัยอย่างไร ?

เปลี่ยนผ้าอนามัยทุก 3-4 ชั่วโมง เพื่อลดการสะสมของแบคทีเรีย สามารถใช้ได้ทั้งแบบแผ่น แบบสอด หรือแบบถ้วย ขึ้นอยู่กับความสะดวกของแต่ละคน สังเกตว่า มีอาการผิดปกติหลังใช้ผ้าอนามัยแต่ละชนิดหรือไม่ เช่น คัน ผื่นขึ้น ควรเปลี่ยนใช้แบบอื่น

หลายครั้งที่มีการถกเถียงในสื่อสังคมออนโลน์ถึงภาระค่าใช้จ่าย “ผ้าอนามัย” ก็มักจะมีความคิดเห็นในมุมที่ว่า “เลือกใช้ผ้าอนามัยตามกำลังทรัพย์ที่มี”

ในความเป็นจริง… หากใช้ตามกำลังทรัพย์ที่มีจะประหยัดได้จริงหรือไม่ ?

ถ้ามีเงิน xx บาท ผ้าอนามัยที่ได้ คือ …

เพื่อสุขอนามัยที่ดี ควรเปลี่ยนผ้าอนามัยทุก ๆ 3-4 ชั่วโมง
ใน 1 วัน จะต้องใช้ผ้าอนามัยประมาณ 6 แผ่น
จากการเก็บข้อมูลผ้าอนามัยตามท้องตลาดพบว่า
ผ้าอนามัย 1 แผ่น ราคาประมาณ 5 บาท
ดังนั้นใน 1 วัน ต้องใช้เงินซื้อผ้าอนามัย 30 บาท
ถ้าทำงานได้วันละ 300 บาท
ต้องเสียกว่า 10% ของรายได้ต่อวัน เพื่อซื้อผ้าอนามัย
ขณะเดียวกันก็จะเห็นว่า คุณสมบัติของผ้าอนามัยมีความแปรผันตามราคา
ทางเลือกของคนที่มีกำลังทรัพย์จำกัดจึงน้อยลงตามไปด้วย

Share This

Facebook
X (Twitter)

Created by

Digital Media Department

Content Creator
Pitchaya Jaisuya
Pimtawan Naeprakone
Kantida Kunnapatee
Graphic and Web Designer
Narongsak Somong
Chettida Pichetpaiboon

แท็ก

Recommended

Born To Be Me
โจทย์ท้าทาย สุขภาพจิต “ผู้สูงอายุไทย” ใครดูแล ?
Where are the women’s roles behind the scenes?