วันนี้ (28 พ.ค.2563) พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม เรียกประชุมศูนย์สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือ ศบค.กลุ่มย่อย หลังจากคณะกรรม การเฉพาะกิจพิจารณาผ่อนคลายการบังคับใช้มาตรการในการป้องกันและยับยั้งการแพร่ระบาดของโรคติดต่อเชื้อ COVID-19 ประชุมมีการพิจาณรามาตรการคลายล็อกระยะที่ 3
ด้านพล.อ.สมศักดิ์ รุ่งสิตา เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) กล่าวว่า ข้อเสนอของสมช.เบื้องต้น เสนอให้ผ่อนคลายกิจกรรมกิจการในกลุ่มสีเหลืองที่ค้างมาจากการผ่อนปรนระยะที่ 2 ซึ่งยังต้องหาข้อยุติในรายละเอียดกิจการกิจกรรม รวมทั้งการผ่อนปรนให้เวลาของการเคอร์ฟิวให้น้อยลง แต่ยังต้องหาข้อยุติว่ากี่ชั่วโมงและเวลาไหน ซึ่งเดิมกำหนดช่วงเวลา 23.00-04.00 น.
จะมีกิจกรรมที่ผ่อนคลายบางส่วน และเพิ่มเติมบางกิจการกิจกรรมที่ยังไม่ได้รับการผ่อนคลายใน 2 ระยะ รวมถึงจะพิจารณาเวลาเคอร์ฟิว ที่จะลดเวลาเคอร์ฟิวลง 1 ชม. เพื่อเป็นการผ่อนคลายมากขึ้น
รวมทั้งการเดินทางเคลื่อนย้ายข้ามจังหวัด จะผ่อนคลายให้เดินทางได้มากขึ้น ลดจำนวนด่านตรวจลงตามสัดส่วน ยกเว้นจังหวัดที่มีความเสี่ยงที่เป็นอำนาจผู้ว่าราชการแต่ละจังหวัด ส่วนการเดินทางระหว่างประเทศยังคงต้องปิดจนกว่าการสิ้นสุดของ พ.ร.ก. ฉุกเฉิน ที่จะสิ้นสุดจนถึงสิ้นเดือนมิ.ย.นี้
อ่านข่าวเพิ่ม ศบค.เผยแนวโน้มป่วยเพิ่ม 11 คนอยู่ใน State Quarantine

รอเคาะลดเวลาเคอร์ฟิวพรุ่งนี้(26 พ.ค.)
ด้านนพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถาน การณ์การแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 หรือ ศบค. กล่าวว่า วันพรุ่งนี้ (29 พ.ค.) จะมีการประชุมศบค.ชุดใหญ่ ที่มีพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน จะมีการพิจารณามาตรการผ่อนปรนระยที่ 3 เพิ่มเติม
เช่น สำหรับกิจการ-กิจกรรม ที่คาดว่าจะมีการพิจารณาให้เปิดเพิ่มเติมให้สามารถดำเนินกิจกรรมได้ เช่น ห้างสรรพสินค้าเปิดแล้วมีการควบคุมได้ดี อาจเปิดร้านต่างได้มากขึ้น ส่วนกิจกรรมเกี่ยวกับกีฬา พยายามเปิดให้มากขึ้น โดยเฉพาะการซ้อมของนักกีฬา
ส่วนเวลาเคอร์ฟิว เลขาสมช.บอกว่ามีแนวโน้มที่จะลดเวลาลงแน่ๆ แต่เวลาเท่าไรให้รอที่ประชุม ศบค.พรุ่งนี้
เล็งหาเขื้อเพิ่มอีก 1 แสนตัวอย่าง
นอกจากนี้ นพ.ทวีศิลป์ ยังระบุว่า แม้ตัวเลขผู้ติดเชื้อในไทยจะเหลือศูนย์ โดยมีการไทยได้ตรวจเชื้อไปแล้วกว่า 300,000 ตัวอย่าง แต่กระทรวงสาธารณสุขยังไม่พอใจ การเฝ้าระวังโรค ค้นหาการติดเชื้อในประชาชนและสถานที่เสี่ยง จำแนกได้ 4 กลุ่ม ได้แก่ บุคลากรทางการแพทย์ ผู้ต้องขังแรกรับ กลุ่มอาชีพที่พบปะผู้คนจำนวนมาก และกลุ่มอื่นๆ ตามที่คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดพิจารณา เช่น เจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง บุคคลในชุมชมแออัด บุคคลในโรงงาน บุคคลที่อาศัยอยู่ในศูนย์พักพิง เจ้าหน้าที่เรือนจำ บุคคลในร้านอาหารที่จะต้องมีการสุ่มตรวจ บุคคลในโรงเรียน
ตั้งเป้าไว้เกือบ 100,00 ตัวอย่างใน 77 จังหวัด เพื่อให้เกิดความมั่นใจ และขอฝากบุคคลในกลุ่มอื่นๆ ที่ได้ระบุเอาไว้ได้ให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ในการรับการตรวจ
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง