ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

กทม.เปิดไทม์ไลน์ 16 คน จนท.จุฬาฯ-บุคลากรแพทย์-พนง.โรงงาน

สังคม
15 ก.พ. 64
06:58
9,468
Logo Thai PBS
กทม.เปิดไทม์ไลน์ 16 คน จนท.จุฬาฯ-บุคลากรแพทย์-พนง.โรงงาน
กทม.เผยยอดติดเชื้อ COVID-19 ระลอกใหม่ สะสม 923 คน พร้อมเปิดไทม์ไลน์อีก 16 คน เป็นบุคลากรจุฬาฯ บุคลากรทางการแพทย์ ผู้สูงอายุ พนักงานโรงงาน พบประวัติเดินตลาด กินหมูกระทะ

วันที่ 15 ก.พ.2564 กรุงเทพมหานคร รายงานสถานการณ์ COVID-19 ระลอกใหม่ ตั้งแต่วันที่ 20 ธ.ค.2563 - 14 ก.พ.2564 รวม 923 คน การติดเชื้อในประเทศส่วนใหญ่มาจากการสัมผัสผู้ป่วยยืนยันที่เป็นคนในครอบครัวหรือจากคนในที่ทำงาน การไปสถานบันเทิง สถานที่ชุมชน การตรวจเชิงรุกในตลาดและชุมชน พร้อมเปิดไทม์ไลน์ผู้ที่สอบสวนโรคแล้วเสร็จเพิ่ม 16 คน

ผู้ป่วยรายที่ 881 เป็นชาย อาชีพพนักงานรักษาความปลอดภัย พบประวัติทำงานที่ศูนย์รักษาความปลอดภัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ออกตรวจตามจุดที่มี รปภ.ประจำ 10 จุด, ไปตลาดสวนหลวง, แวะซื้อของร้าน 7-11 ปากซอยจุฬาฯ 9, ไปช่วยงานที่อาคารจุฬานิเวศน์ ต่อมาทราบว่าแฟนติดเชื้อ COVID-19

 

 

ผู้ป่วยรายที่ 882 เป็นหญิง อาชีพพนักงานทำความสะอาด พบประวัติทำงานที่ห้องสมุดชั้น 3 ตึกวชิราวุธ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ไปตลาดสวนหลวง พร้อมกับสามี

 

 

ผู้ป่วยรายที่ 883 เป็นชาย อาชีพพนักงานรักษาความปลอดภัย พบประวัติเดินไปทำงานที่ศูนย์รักษาความปลอดภัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, เข้ากะประจำจุดประตูคณะอักษาศาสตร์ และเดินกลับหอพักจุฬานิวาส, เข้ากะประจำจุดอาคารจามจุรี 5, นั่งรถโดยสารภายในมหาวิทยาลัย (CU Pop Bus) จากหน้าโรงพยาบาลจุฬา ลงหน้าคณะเศรษฐศาสตร์

 

 

ผู้ป่วยรายที่ 884 เป็นหญิง อาชีพพนักงานรักษาความปลอดภัย พบประวัติไปทำงานที่ ป้อม รปภ. ศูนย์สัตว์ทดลอง คณะสัตวแพทย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ไปซื้ออาหารที่ตลาดสวนหลวง

 

ผู้ป่วยรายที่ 885 เป็นชาย อาชีพพนักงานรักษาความปลอดภัย พบประวัติเดินทางเข้ากะกลางคืนที่ศูนย์รักษาความปลอดภัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประจำจุดป้อม รปภ.ที่ศาลพระพรหม คณะครุศาสตร์ (ไม่ได้เข้าตึก), ทำงานประจำจุดบริเวณ I'm Park จุฬา ซอย 9

 

ผู้ป่วยรายที่ 886 เป็นชาย อาชีพพนักงานรักษาความปลอดภัย พบประวัติไปทำงานที่ศูนย์รักษาความปลอดภัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กับภรรยา, ประจำจุดประตูธรรมมะสถานทางเข้าจุฬาฯ และได้พูดคุยกับเพื่อนร่วมงานที่มาตรวจงานเป็นประจำ, ประจำจุดตรงลานจอดรถ สำนักทะเบียนจุฬาฯ

 

ผู้ป่วยรายที่ 887 เป็นหญิง อาชีพบุคลากรด้านการแพทย์ พบประวัติทำงานที่โรงพยาบาล เขตคันนายาว, กินอาหารกับเพื่อนที่เขตลาดกระบัง, กินหมูกระทะกับเพื่อนที่ร้านป้าน้อยหมูกระทะย่านลาดพร้าว 107, ทำงานที่โรงพยาบาล รับผู้ป่วย COVID-19 ทำหน้าที่เจาะเลือด ใส่ชุดป้องกันครบชุด, ไปกินร้านคุณนายทะเลดองบุฟเฟ่ต์ทะเล สาขาตลาดนกฮูก จ.นนทบุรี

 

ผู้ป่วยรายที่ 888 เป็นหญิง อาชีพพนักงานโรงงาน พบประวัติทำงานโรงงานเขตภาษีเจริญ

 

ผู้ป่วยรายที่ 889 เป็นหญิง อายุ 70 ปี พบประวัติไปส่งใบตองที่ตลาดสำเหร่ ซอยสมเด็จพระเจ้าตากสิน 21 จากนั้นไปส่งใบตองที่ตลาดเงินวิจิตร แขวงต้นไทร เขตคลองสานทุกวัน

 

ผู้ป่วยรายที่ 890 เป็นหญิงชาวเมียนมา อาชีพพนักงานโรงงาน พบประวัติทำงานที่โรงงาน เขตบางแค แผนกเย็บผ้า

 

ผู้ป่วยรายที่ 891 เป็นหญิงชาวเมียนมา อาชีพพนักงานโรงงาน พบประวัติไปทำงานที่โรงงาน แขวงบางหว้า แผนกเย็บผ้า

 

ผู้ป่วยรายที่ 892 เป็นหญิงชาวเมียนมา อาชีพพนักงานโรงงาน พบประวัติเดินไปทำงานที่โรงงานแขวงบางหว้า แผนกเย็บผ้า

 

ผู้ป่วยรายที่ 893 เป็นหญิงชาวเมียนมา อาชีพพนักงานโรงงานแขวงบางหว้า

 

ผู้ป่วยรายที่ 894 เป็นหญิงชาวเมียนมา อาชีพพนักงานโรงงาน พบประวัติเดินไปทำงานที่โรงงานแขวงบางหว้า

 

ผู้ป่วยรายที่ 895 เป็นหญิงชาวเมียนมา อาพพนักงานโรงงานแขวงบางหว้า พบประวัติเดินไปทำงานที่โรงงาน

 

ผู้ป่วยรายที่ 896 เป็นหญิงชาวเมียนมา อาชีพพนักงานโรงงานเย็บผ้า เขตธนบุรี พบประวัตินั่งรถสองแถวจากที่พักไปโรงงาน

 

ทั้งนี้ การแจ้งข้อมูลการสอบสวนโรคจะรายงานข้อมูลที่ไม่พาดพิงถึงบุคคลก่อนที่จะได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูล ซึ่งเป็นไปตาม พ.ร.บ.โรคติดต่อ พ.ศ.2558 มาตรา 10 ในช่วงนี้ขอให้ทุกคนสวมหน้ากากอนามัย ล้างมือ เว้นระยะห่าง ตรวจคัดกรองอุณหภูมิ สแกนไทยชนะ และปฏิบัติตามมาตรการป้องกัน COVID-19 อย่างเคร่งครัด

หากสงสัยหรือกังวลว่าตนติดเชื้อหรือยัง หรือมีความเสี่ยงอยู่ในระดับใด สามารถประเมินความเสี่ยงได้ที่ http://bkkcovid19.bangkok.go.th/ หรือติดต่อขอคำปรึกษาได้ที่สายด่วนสำนักอนามัย โทร.0 2203 2393 หรือ 0 2203 2396

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง