ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

ออกแบบล่าสุด "เวียงแก้ว" จ.เชียงใหม่

ภูมิภาค
25 ก.พ. 64
10:48
5,821
Logo Thai PBS
ออกแบบล่าสุด "เวียงแก้ว" จ.เชียงใหม่
ภาคประชาชนเชียงใหม่ จัดเวทีรับฟัง และปรับการแบบพื้นที่ "เวียงแก้ว" อดีตพระราชวังล้านนา หลังผลการขุดค้นทางโบราณคดี ภาคประชาชน วิชาการ เสนอคุณค่าและการใช้ประโยชน์พื้นที่สาธารณะและการปรับแบบพื้นที่ "เวียงแก้ว"

วันนี้ (25 ก.พ.64) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จ.เชียงใหม่ จัดเวทีร้อยเรียงอนาคต "เวียงแก้ว" เพื่อรับฟัง ทำความเข้าใจ และเสนอแนะ จัดโดยเครือข่ายชุมชนเมืองรักษ์เชียงใหม่ ได้รับความสนใจจากชาวเชียงใหม่ ภาควิชาการ และส่วนราชการในจังหวัดเข้าร่วมแลกเปลี่ยน เพื่อมองไปข้างหน้าถึงการใช้ประโยชน์พื้นที่สาธารณะขนาดใหญ่ 20 ไร่กลางเมืองผืนสุดท้าย เวทีได้เริ่มด้วยการชี้แจงการจัดงานโดยเครือข่ายชุมชนเมืองรักษ์เชียงใหม่ และตัวแทนจากจังหวัดเชียงใหม่ นำเสนอไทม์ไลน์การเคลื่อนไหวใน จ.เชียงใหม่ นับตั้งแต่ขอให้รื้อทัณฑสถานหญิงกลางเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 18 ก.ค. 2544 มาจนถึงปี 2560 และปัจจุบัน

 

ก่อนเปิดเวทีให้นายสายกลาง จินดาสุ นักโบราณคดีชำนาญการ สำนักศิลปากรที่ 7 (เชียงใหม่) นำเสนอเปิดพื้นที่หลุมการขุดค้นเวียงเเก้ว ค้นพบโบราณสถานจำนวน 12 จุดในเวียงแก้วที่ล้วนมีความเกี่ยวข้องตั้งแต่พระราชวังสมัยล้านนา มาจนถึงยุคสถาปัตยกรรม ร.5 รวมถึงโบราณวัตถุที่ขุดค้นพบ

 

จากนั้น ผศ.ดร.กวิน ว่องวิกย์การ อาจารย์คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ผู้ชนะการออกแบบเวียงแก้วเมื่อ 7 ปีก่อน ได้นำเสนอการปรับแบบให้สอดคล้องกับพื้นที่การขุดค้นทางโบราณคดี ก่อนที่จะเปิดให้ผู้เข้าร่วมเวทีได้ร่วมแลกเปลี่ยน

 

ร้อยเอก ดร.อัครินทร์ พงษ์พันธ์เดชา นักวิชาการอิสระ เสนอคุณค่าของเวียงแก้ว เช่น คุณค่าพื้นที่สาธารณะทางวิทยาศาสตร์ (ออกกำลังกาย), คุณค่าประวัติศาสตร์,คุณค่าทางสังคม,คุณค่าทางการเมือง,คุณค่าทางศิลปะ,คุณค่าทางจิตวิญญาณ และประวัติศาสตร์ ประเด็นคือจะนำองค์ประกอบเหล่านี้มาจัดเรียงกันใหม่อย่างไร จึงเสนอข้อความไว้คือ "สวนประวัติศาสตร์สาธารณะ" กับ "สวนสาธารณะประวัติศาสตร์ " ส่วนตัวเสนอว่าควรเป็น สวนประวัติศาสตร์สาธารณะคือเน้นคุณค่าด้านประวัติศาสตร์แก่สาธารณะ

 

ศ.เกียรติคุณ ดร.ธเนศวร์ เจริญเมือง คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ระบุว่า การต่อสู้พื้นที่สาธารณะเวียงแก้ว 20 ปีที่ผ่านมาทุกคนรู้ว่าพื้นที่บริเวณ 60-80 ไร่ คือพื้นที่มรดกทางประวัติศาสตร์ โดยเสนอให้จัดเวทีต่อเพราะพื้นที่เวียงแก้วคือมรดกของคนเชียงใหม่ สอดคล้องกับ "ธีระศักดิ์ รูปสุวรรณ" ภาคประชาชนชาวเชียงใหม่ที่เสนอให้ผู้ออกแบบมีการปรับแบบ และมีเวทีพูดคุยอีกครั้ง

 

ด้าน"เสาวคนธ์ ศรีบุญเรือง" เครือข่ายชุมชนเมืองรักษ์เชียงใหม่ มองว่าพื้นที่เวียงแก้วกับการเปิดพื้นที่แสดงทางโบราณคดีส่วนตัวเห็นด้วย แต่จะยึดติดกับคำว่า "สวนประวัติศาสตร์สาธารณะ" หรือ "สวนสาธารณะทางประวัติศาสตร์" เวียงแก้วจะไปไม่ถึงไหน ที่ผ่านมาภาคประชาชนติดตามมาตลอด จนมาถึงการขุดค้นพบกำแพง ถ้าไม่ทำอะไรต่อไปจากนี้ ต่อไปข้างหน้าจะเริ่มได้อย่างไร

"ชัชวาล ทองดีเลิศ" เครือข่ายภาคประชาชนชาวเชียงใหม่ ได้ให้ความเห็นว่า จุดร่วมเวทีวันนี้ที่สำคัญ คือ "พื้นที่ของทุกคน" ในประเด็นพูดคุยมีเรื่องที่คุยกัน คือ "สวนสาธารณะ" กับ "พื้นที่ทางประวัติศาสตร์" พร้อมเสนอให้เดินหน้าโครงการจัดความสมดุลระหว่าง "สวนสาธารณะ" กับ "พื้นที่ทางประวัติศาสตร์" ให้ไปด้วยกันได้โดยจะต้องมีคณะที่มอบหมายตัดสินใจ จัดเรียงลำดับพื้นที่ความสำคัญบอกเล่าเรื่องราว และจิตวิญญาของพื้นที่

 

"อิศรา กันแตง" นักสถาปัตยกรรมผังเมือง และอาจารย์ประจำคณะศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ระบุว่า ได้เข้ามามีส่วนร่วมตั้งแต่ระหว่างหาทางออกของเวียงแก้ว ซึ่งผลมาจากเวทีประชาพิจารณ์ เริ่มตั้งแต่ TOR โดยส่วนตัวเคยทำวิจัยเกี่ยวกับผังเมืองเชียงใหม่ และทราบความสำคัญพื้นที่ดังกล่าว คือ "เวียงแก้ว" ขั้นตอนการกำหนดใน TOR จึงชัดเจนว่าพื้นที่ดังกล่าวไม่ใช่วัดในทางพระพุทธศาสนา

 

หากแต่ "เวียงแก้ว" คือ ศูนย์กลางการปกครองในล้านนาในอดีต เมื่อมาถึงกระบวนการออกแบบ การคัดเลือกแบบที่ส่งเข้าประกวดจากผู้ทรงคุณวุฒิ แบบที่ชนะการประกวด เมื่อพื้นที่ใต้เวียงแก้วถูกขุดค้นทางโบราณคดีชัดเจน ขั้นตอนต่อไปจึงต้องถามกลับมาถามทุกคน โดยตั้งสติว่า "เราจะไปต่อกันอย่างไร" "เมื่อได้เห็นปรับแบบเห็นว่า เห็นด้วยกับการเป็นพื้นที่สาธารณะของเมืองโดยเฉพาะประจักษ์พยานพื้นที่กษัตริย์ล้านนา"

สำหรับพื้นที่เวียงแก้ว แม้จะไม่ได้ข้อสรุปเวทีวันนี้ แต่ก็ถือว่าเป็นจังหวะก้าวสำคัญ หลังเกิดการเคลื่อนไหวมาอย่างยาวนานทุกภาคส่วน

 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

เสนอเปิด “เวียงแก้ว” เป็นแหล่งเรียนรู้ประวัติศาสตร์ "พระราชวังล้านนา"

เปิดหลักฐานพระราชวังล้านนา “คุ้มเวียงแก้ว” เชียงใหม่

"คุ้มเวียงแก้ว" ความสำคัญในอดีต สู่การใช้พื้นที่ขนาดใหญ่กลางเมืองเชียงใหม่ 

ผู้ว่าฯเชียงใหม่เตรียมตั้งคกก.ดูแลกรณีรื้อฑัณฑสถานหญิงเชียงใหม่

 

 

 

 

 

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง