หวังรัฐจ้างเเรงงานสูงวัยเพิ่ม

เศรษฐกิจ
9 เม.ย. 64
13:08
191
Logo Thai PBS
หวังรัฐจ้างเเรงงานสูงวัยเพิ่ม
รัฐบาลกำหนดให้วันที่ 13 เมษายนของทุกปีเป็นวันผู้สูงอายุแห่งชาติ ปีนี้ก็คงจะเป็นอีกปี ที่ผู้สูงอายุหลายคนได้เจอหน้าลูกหลานผ่านทางออนไลน์ เพราะโควิด-19 ที่ต้องเว้นระยะห่างไว้ก่อน แต่ก็มีผู้สูงอายุบางส่วนที่ยังต้องทำงานในวันหยุดยาวนี้

ตอนนี้สังคมเปลี่ยนไป และไทยเองกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ มีผู้สูงอายุบางส่วน ที่ไม่มีครอบครัว และยังต้องทำงานเพื่อเลี้ยงตัวเอง กลุ่มนี้ก็เลยยังคงต้องทำงานในวันหยุดยาวแลกกับค่าแรง และไม่ต้องเหงา

แม้จะอายุ 62 ปีแล้ว แต่ป้ากรุงจิตร ดีอ้อม ก็ยังทำงานได้อย่างคล่องแคล่ว ป้ารับหน้าที่เป็นพนักงาน จัดอาหารพร้อมทาน ในห้างค้าปลีกขนาดใหญ่ สงกรานต์ปีนี้ เลือกที่จะทำงาน ไม่กลับบ้านที่ จ.สุรินทร์ เพราะมองว่าการเดินทางใน ช่วงเทศกาลสงกรานต์ คนเดินทางเยอะซึ่งก็เสี่ยงต่อโควิด- 19 เช่นกัน แต่ละวันป้าจิตร ทำงาน 6 ชั่วโมง มองว่าไม่หนักเกินไป ไม่ต้องอยู่เฉย ที่สำคัญได้มีเงินมาใช้จ่ายเลี้ยงตัวเองด้วย

เช่นเดียวกับ ป้ายูน พักมะรืน อายุ 67 ปี ที่ทำหน้าที่ รักษาความปลอดภัยและเชคสินค้า คุณป้าบอกว่า สงกรานต์ปีนี้จะใช้วันหยุดอยู่กับลูกหลาน เมื่อต้องพบเจอคนในครอบครัวจึงได้เข้มงวดในการป้องกันตัวเองจากโควิด-19 พร้อมระบุถึงการทำงานว่าช่วยให้ มี ความสุข และมีกำลังใจ ที่สำคัญได้ช่วงแบ่งเบาภาระให้ครอบครัวได้

ไม่ใช่แค่การแบ่งเบาภาระในครอบครัวเท่านั้น แต่การมาทำงานของผู้สูงวัย ช่วยทำให้พัฒนาจิตใจ ไม่ต้องเสี่ยงเป็นโรคซึมเศร้า โดยบางส่วนมองว่ารัฐควรปรับสวัสดิการให้ผู้สูงอายุ หรือ หาตำแหน่งงานว่างให้ผู้สูงอายุได้ทำงาน

ไทยกำลังเข้าสู่สังคมสูงวัย ซึ่งยังมีผู้สูงวัยอีกมาก ที่ยังต้องทำงานเพื่อเลี้ยงปากท้องของตัวเอง และบางส่วนทำเพราะไม่ต้องการอยู่เฉยๆ แม้จะมีเงินออมเงินเก็บไว้ใช้แล้วก็ตาม

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจเเละสังคมเเห่งชาติ ระบุว่า ปัญหาผู้สู่วัยที่ไม่มีหลักประกันในชีวิตที่เพียงพอ ไม่มีเงินออม เป็นปัญหาใหญ่ที่รัฐ ต้องจริงจังและสร้างหลักประกันรายได้ให้กับผู้สูงอายุไว้ ซึ่งปฏิเสธไม่ได้เลยว่า ขณะนี้ไทยกำลังประสบปัญหาด้านเศรษฐกิจ มีผลต่อการออมเงิน เเละสำหรับผู้สูงอายุก็ไม่เพียงพอต่อการดำรงชีวิต จากรายงานการเตรียมความพร้อมด้านการเงิน เเละสุขภาพในสังคมอายุยืน ของทีดีอาร์ไอ ที่ทำไว้ ปี 62 ระบุไว้ว่า

รายได้พึงมี เมื่ออายุ 60 ปี จนถึง 100 ปี สำหรับคนรายได้ปานกลางที่อยู่ในเขตเมืองต้องมีประมาณ 4,300,000 บาท ส่วนต่างจังหวัดหรือ ชนบท ควรมี 2,800,000 บาท ซึ่งปี 62 มีครัวเรือนเพียง 1,200,000 ครัวเรือน ที่มีรายได้สูงกว่า 2,800,000 บาท สะท้อนได้ชัดว่าสถานการณ์การออมยังไม่เพียงพอ ซึ่งสอดคล้องกับผู้สูงวัยที่บางส่วนยังต้องทำงานเพื่อหาเลี้ยงชีพ เเละไม่ได้วางแผนการเงิน

สภาพัฒน์จึงออกมาเตือน ว่าเริ่มออมได้ควรออม รัฐเองก็ต้องจริงจังในการสนับสนุนให้คนเข้าสู่ระบบการออมเงินด้วย โดยเฉพาะเเรงงานอิสระที่มีความไม่เเน่นอนด้านรายได้สูง

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง