วันนี้ (10 ม.ค.2565) ศูนย์ข้อมูล COVID-19 รายงานผู้ติดเชื้อเพิ่ม 7,926 คน จำแนกเป็นผู้ป่วยจากระบบเฝ้าระวังฯ 7,229 คน ผู้ป่วยจากการค้นหาเชิงรุก 90 คน ผู้ป่วยภายในเรือนจำ/ที่ต้องขัง 195 คน และผู้ป่วยมาจากต่างประเทศ 412 คนทำให้มีผู้ป่วยสะสม (ตั้งแต่ 1 เม.ย.64) จำนวน 2,248,613 คนหายป่วยกลับบ้าน 3,612 คน หายป่วยสะสม (ตั้งแต่ 1 เม.ย.64) จำนวน 2,170,053 คน กำลังรักษา 58,159 คน และมีผู้เสียชีวิต 13 คน
ช่วยเด็ก 8 เดือนติดโควิดตระเวนหาโรงพยาบาล
ขณะที่เพจ “สายไหมต้องรอด” ได้รับ รับแจ้งเด็กวัย 8 เดือน ติดเชื้อโควิด โดยปู่พาย่าและหลานขับรถตระเวน 3 จังหวัด นนทบุรี ปทุมธานี และกทม. ตั้งแต่ 20.00 น.ยันตี ตี 2 แต่ไม่มีโรงพยาบาลไหนรับ ญาติแจ้งทีมสายไหมต้องรอดเข้าช่วยเหลือ
ทั้งนี้ปู่ บอกว่าหลานพ่อแม่ของเด็กติดเชื้อเข้าโรงพยาบาลแล้ว แต่ตัวเอง ย่าและหลายเพิ่งตรวจหาเชื้อวันที่ 9 ม.ค.ที่ผ่านมา และพบว่ายากับหลานติดเชื้อ กระทั่งคืนวานนี้ (9 ม.ค.)หลานเริ่มมีอาการหายใจหอบ และตัวร้อน จึงพาหาโรงพยาบาลแต่ไม่มีโรงพยาลาลไหนรับเพราะไม่มีมีหมอเด็ก กระทั่งทางพจเข้ามาช่วยเหลือนำส่งโรงพยาบาลเด็ก
"หมอยง" ห่วงโควิด-19 เด็กเป็นผู้กระจายเชื้อ
นพ.ยง ภู่วรวรรณ หน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊ก Yong Poovorawan ว่า เด็กติดเชื้อโควิค 19 อาการจะน้อยมาก หรือไม่มีอาการเป็นส่วนใหญ่ อันตรายถึงชีวิตยิ่งน้อยมากๆ การศึกษาในสหรัฐ อเมริกา ในช่วงที่มีการระบาดสูงมากของโอมิครอน เด็กเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเพิ่มขึ้น เพราะมีผู้ติดเชื้อจำนวนมาก เด็กจำนวนหนึ่งที่เข้ารับการรักษาด้วยสาเหตุอื่น แต่ตรวจพบโควิด 19 ก็มีมากขึ้น
ปัญหาสำคัญของการติดเชื้อในเด็กที่มีอาการน้อย แต่เด็กจะเป็นผู้กระจายเชื้อหรือแพร่เชื้อได้ดีมากเด็กป่วย ไม่สามารถแยกตัวเองออกไปได้ พ่อแม่ผู้ปกครองจะคอยดูแลอย่างใกล้ชิด และเป็นไปไม่ได้ที่จะไม่ติดโรค
นพ.ยง ระบุว่า มีคนไข้เด็กที่ติดจากสถานเลี้ยงเด็ก เมื่อตรวจพบแม่ยอมติดเชื้อด้วย เพราะต้องดูแลรักษาลูก รวมทั้งบุคคลในบ้าน เมื่อเด็กคนหนึ่งเป็น พี่น้องที่วิ่งเล่นด้วยกัน ก็จะติดกันอย่างแน่นอน
ในอดีตที่ผ่านมา เชื้อส่วนใหญ่อยู่ในผู้ใหญ่ ผู้ใหญ่สามารถแยกตัวออกมาได้ ป้องกันไม่ให้ติดเด็ก
แต่เมื่อมีการระบาดอย่างมากโดยเฉพาะโอมิครอน การติดเชื้อจะลงมาสู่เด็กอย่างแน่นอน
เด็กภาระความรุนแรงโรคน้อยมาก แต่จะเป็นผู้กระจายโรคไปสู่คนในบ้านเด็กเล็กจะกระจายไปสู่ผู้ดูแล ด้วยการสัมผัสใกล้ชิด กอดจูบ เล่นด้วยกันระหว่างเด็กๆ จำเป็นต้องไปโรงเรียน ในอนาคตคงหนีไม่พ้น การติดในโรงเรียน ที่เหมือนแบบโรคหวัดทั่วไปโดยเฉพาะในเด็กเล็ก

ภาพ:เพจสายไหมต้องรอด
ภาพ:เพจสายไหมต้องรอด
เด็กโตหรือวัยรุ่น จะมีสภาพสังคม และการเคลื่อนย้ายได้อย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดการระบาดในวงกว้างได้มากกว่าเด็กเล็ก ถึงแม้ว่าความรุนแรงของโรคในเด็กจะน้อยมาก เมื่อเทียบกับผู้ใหญ่ ความสำคัญในการแพร่กระจายโรคมีมากกว่า
วัคซีนที่ใช้ในเด็ก ที่ต้องการจะต้องมีความปลอดภัย ต้องมาก่อน และจะต้องมีประสิทธิภาพสูงในการป้องกันการติดเชื้อมากกว่า ลดความรุนแรงของโรค เพราะถ้าให้วัคซีนแล้ว เด็กยังสามารถติดเชื้อ โดยไม่มีอาการ จะไม่เกิดประโยชน์ในการลดการแพร่กระจายโรคได้
ช่วงเวลาที่ผ่านมา เด็กมีปัญหาเรื่องการเรียน ที่ต้องเรียนทางไกล ทำให้ประสิทธิภาพการศึกษาของเด็กลดลงอย่างมาก ผ่านมา 2 ปีแล้ว ในอนาคตเด็กต้องไปโรงเรียนอย่างแน่นอน โรคโควิด 19 โอมิครอน มีแนวโน้มความรุนแรงโรคลดลง ก็น่าจะเป็น coronavirus อีกตัวหนึ่งจากที่เคยมีอยู่แล้ว 4 ตัวที่เราไม่อาจจะหลีกเลี่ยงได้
ผู้ใหญ่ทุกคนจะต้องมีภูมิต้านทาน ไม่ว่าจะเป็นการได้รับวัคซีนหรือการติดเชื้อ และ ชีวิตของเด็ก ก็จะต้องกลับเข้าสู่สภาพเดิมโดยเฉพาะชีวิตในโรงเรียน
แท็กที่เกี่ยวข้อง: