สธ.คาดไทยติดโควิดพีคแตะ 4 หมื่นกลาง เม.ย.ก่อนลดต่ำสุดปลาย พ.ค.

สังคม
3 มี.ค. 65
13:55
6,280
Logo Thai PBS
สธ.คาดไทยติดโควิดพีคแตะ 4 หมื่นกลาง เม.ย.ก่อนลดต่ำสุดปลาย พ.ค.
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
ศบค.ชี้หลายประเทศเริ่มปรับมาตรการจัดการ COVID-19 ในรูปแบบโรคประจำถิ่น แต่ประเทศไทยยังต้องพิจารณาให้รอบด้าน ขณะที่ สธ.คาดการณ์สถานการณ์ COVID-19 หากคงมาตรการยอดผู้ติดเชื้อจะสูงสุดแตะ 40,000 คน กลางเดือน เม.ย. และจะค่อย ๆ ลดลงต่ำสุดปลายเดือน พ.ค.นี้

วันนี้ (3 มี.ค.2565) พญ.สุมณี วัชรสินธุ์ ผู้อำนวยการสำนักสื่อสารความเสี่ยงและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข รายงานสถานการณ์ COVID-19 โดยระบุว่า ทั่วโลกติดเชื้อรวมกว่า 440 ล้านคน วันนี้ทั่วโลกพบผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นมากกว่า 1.5 ล้านคน ซึ่งสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 สายพันธุ์โอมิครอนทั่วโลก ที่แพร่ระบาดง่าย และมีผู้ป่วยอาการหนักไม่มาก ทำให้บางประเทศที่แม้จะมีผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้น แต่มีมาตรการผ่อนคลายเพิ่มขึ้น และไม่มีมาตรการล็อกดาวน์อีกต่อไป


นอกจากนี้ บางประเทศยังมีการจัดการ COVID-19 ในรูปแบบโรคประจำถิ่นด้วย ทั้งประเทศสเปน อินเดีย รัฐแคลิฟอร์เนียในสหรัฐอเมริกา รวมถึงประเทศจีนที่มีมาตรการ COVID-19 เป็น 0 ก็เตรียมยกเลิกมาตรการนี้ แล้วปรับมาใช้มาตรการ Living with COVID-19 แทน

 


สำหรับไทยที่มีแนวโน้มว่าจะปรับมาตรการ COVID-19 เป็นโรคประจำถิ่น ขณะนี้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องยังต้องพิจารณาให้รอบด้าน โดยคำนึงถึงประชาชนที่จะเต้องเข้าถึงการรับบริการต่าง ๆ และกลับมาใช้ชีวิตในการทำมาหากินแบบนิวนอมอลให้ได้ หากสถานการณ์มีการเปลี่ยนแปลง ต้องมีแผนรองรับ และติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดด้วย


พญ.สุมณี ยังเปิดเผยว่า กรมควบคุมโรคคาดการณ์สถานการณ์ COVID-19 หลังพบว่า ปลายเดือน ก.พ.จนถึงขณะนี้ ยังอยู่ในแนวโน้มขาขึ้น หากยังคงมาตรการต่าง ๆ ไว้ตัวเลขผู้ติดเชื้ออาจสูงถึงประมาณ 40,000 - 50,000 ในช่วงกลางเดือน เม.ย.ได้ แต่หากไม่คงมาตรการควบคุม COVID-19 หรือย่อหย่อนอาจทำให้ยอดผู้ติดเชื้อพีกสุดประมาณ 100,000 คน อย่างไรก็ตาม หากมีการเพิ่มมาตรการเข้มข้น ปฏิบัติตามการเตือนภัยระดับ 4 อย่างเคร่งครัด จะทำให้มียอดผู้ติดเชื้อสูงสุดอยู่ที่ประมาณ 20,000 คน

การระบาดในระลอกนี้มีการคาดการณ์ว่าจำนวนผู้ติดเชื้อจะค่อย ๆ ลดลงต่ำสุดในช่วงปลายเดือน พ.ค.

 

 

แท็กที่เกี่ยวข้อง:

ข่าวที่เกี่ยวข้อง