ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

มุมมองนักสิทธิสตรี-นักการเมืองหญิง กรณีล่วงละเมิดทางเพศ

สังคม
15 เม.ย. 65
18:20
1,097
Logo Thai PBS
มุมมองนักสิทธิสตรี-นักการเมืองหญิง กรณีล่วงละเมิดทางเพศ
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
ผู้ขับเคลื่อนงานด้านสิทธิสตรี มองกรณีการคุกคามทางเพศ เมื่อผู้ถูกกล่าวหาเป็นนักการเมือง ทำให้ผู้เสียหายไม่กล้าไปแจ้งความ สะท้อนถึงสถานะและอำนาจทางสังคม ขณะที่นักการเมืองหญิง เรียกร้องให้ผู้เสียหายออกมาดำเนินคดี พร้อมยืนยันพรรคจะไม่ปกป้องคนผิด

วันนี้ (15 เม.ย.2565) จากกรณีที่นักการเมืองระดับรองหัวหน้าพรรค ถูกกล่าวหาเกี่ยวข้องกับคดีลวนลามและข่มขืน "อังคณา อินทสา" หัวหน้าฝ่ายส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศ มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล นักขับเคลื่อนด้านสิทธิสตรี สะท้อนถึงการคุกคามทางเพศที่เกิดจากผู้มีสถานะทางสังคม เมื่อเกิดเรื่องผู้เสียหายมักจะไม่กล้าแจ้งความ รวมทั้งมายาคติสังคมที่โทษผู้เสียหาย ทำให้ผู้เสียหายไม่กล้าพูด หรืออาจจะต้องใช้เวลา ซึ่งมีผลต่ออายุความ รวมถึงคดีลักษณะนี้ส่วนใหญ่จะมีความพยายามไกล่เกลี่ย

เขามีอำนาจที่เหนือกว่าอยู่แล้ว พูดไปคนก็ฟังเขา เทียบกับคนตัวเล็ก ๆ ไม่มีชื่อเสียง เมื่อถูกบังคับข่มขืนหรือถูกอนาจาร ทำให้ผู้หญิงก็ไม่กล้าดำเนินคดี จนนำไปสู่การกระทำครั้งที่ 2 ต่อไป


ขณะเดียวกัน สุเพ็ญศรี พึ่งโคกสูง ผู้อำนวยการมูลนิธิส่งเสริมความเสมอภาคทางสังคม มองว่า หากกระบวนการยุติธรรมเป็นมิตร ผู้เสียหายก็จะมีความมั่นใจและกล้าเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม ดังนั้น ถือเป็นโจทย์ใหญ่ของเจ้าหน้าที่ ซึ่งต้องทำให้ผู้เสียหายเห็นว่าตำรวจไม่ได้กลัวอิทธิพล

ด้าน "รัชดา ธนาดิเรก" ในฐานะนักการเมืองหญิง และกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ ขับเคลื่อนประเด็นความเท่าเทียมทางเพศ ยอมรับว่า รู้สึกสะเทือนใจกับกรณีที่เกิดขึ้น และแม้เป็นการกระทำส่วนบุคคล แต่พรรคไม่อาจปฏิเสธความรับผิดชอบ จึงเรียกร้องให้ผู้เสียหายออกมาดำเนินคดี โดยพรรคจะไม่ปกป้องผู้กระทำผิด

พูดไม่ออก เข้าใจความรู้สึกของประชาชนและผู้เสียหาย และจะไม่ยอมให้เรื่องนี้ลอยนวลแน่นอน เพราะฉะนั้นวันนี้ ใครที่เป็นผู้เสียหายขอให้ออกมาดำเนินคดี พรรคสนับสนุน และยืนยันว่า จะไม่ทำการใด ๆ ที่ปกป้องผู้กระทำผิด


ขณะที่ ศ.วิชา มหาคุณ อดีต ป.ป.ช.ที่เคยตรวจสอบนักการเมืองมานับไม่ถ้วน เห็นว่านักการเมืองที่ดี ควรดีมาตั้งแต่ต้น ไม่ใช่ทำตัวดีหลังได้รับตำแหน่งทางการเมือง ซึ่งการเป็นผู้นำต้องมีศาสตร์การปกครองและเป็นตัวอย่างที่ดีเหมือนกับหลักการที่ใช้ในนานาประเทศ

ประเทศต่าง ๆ ก็ล้วนแต่ใช้ระบบที่ถือได้ว่า คนที่มีคุณธรรมหรือจริยธรรม หรือมีความดี ต้องเป็นผู้ที่นำราษฎรไปในแนวทางที่ถูกต้อง และต้องปฏิบัติตัวให้เป็นแบบอย่างด้วย


อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

ตร.เตรียมออกหมายจับ "อดีตรองหัวหน้าพรรคการเมือง" 16 เม.ย.นี้

บทวิเคราะห์ : ถึงคิวรองหน.พรรค

ตร.ยังไม่ออกหมายจับ "ปริญญ์" หลังผู้เสียหายแจ้งความ 3 คน

แจ้งความเพิ่มอีกราย! สาวอ้างถูกรองหัวหน้าพรรคล่วงละเมิดในคอนโดฯ

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง