การแสดงออนไลน์ทางรอดของ "หมอลำ" ยุคโควิดระบาด

Logo Thai PBS
การแสดงออนไลน์ทางรอดของ "หมอลำ" ยุคโควิดระบาด
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
การแสดงออนไลน์ทางรอดของ "หมอลำ" ยุคโควิดระบาด งานวิจัยของมหาวิทยาลัยขอนแก่น ชี้ มูลค่าทางเศรษฐกิจที่เกิดจากการจัดแสดงหมอลำ มีมากถึง 6,000 ล้านบาทแต่สถานการณ์โควิดกระทบมูลค่าหายกว่า 5,000 ล้านบาท

พวงมาลัยเงินออนไลน์จากแฟนคลับแดนไกล ที่โอนมาให้กับทีมงานของคณะหมอลำศิลปปินภูไท เป็น 1 รายได้ ที่ช่วยประคับประคองวงในช่วงโควิดระบาด ซึ่งวงได้พยายามหาช่องทางในการหารายได้โดยการแสดงผ่านออนไลน์

 

นายวีระพงษ์ วงศ์ศิลป์ หัวหน้าวง สะท้อนว่า ในช่วงแรกของการระบาดของโควิด-19 ทุกอย่างต้องหยุดชะงักโดยไม่ทันตั้งตัว งานจ้างบางงานถูกยกเลิก บางงานต้องเลื่อนออกไป จนทำให้สมาชิกในวงแทบไม่มีรายได้ จึงจำเป็นต้องหาทางออกโดยการใช้ช่องทางออนไลน์​ ซึ่งนอกจากจะช่วยให้ทำการแสดงในกลุ่มปิดได้แล้ว ยังถือเป็นช่องทางที่สื่อสารกับแฟนคลับอีกช่องทางหนึ่ง

 

ขณะที่ในช่วงโควิด-19 ที่ผ่านมา นักวิจัยของมหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้ศึกษาเกี่ยวกับผลกระทบด้านเศรษฐกิจของ "วงหมอลำ" พบว่า นอกจากสมาชิกในวงแล้ว ยังพบว่า การแสดงของหมอลำ ยังเป็นการกระจายรายได้ในชุมชนอีกด้วยเรียกว่า เป็นห่วงโซ่อุปทาน



จากงานวิจัยในช่วงปี 2564 พบว่า วงหมอลำขนาดใหญ่สามารถจัดแสดงได้เฉลี่ย 26 ครั้ง ต่างจากสถานการณ์ปกติ ที่สามารถจัดแสดงได้มากถึง 190 ครั้ง

คิดเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจกว่า 6,000 ล้านบาท แต่จากสถานการณ์โควิด-19 ทำให้มูลค่าทางเศรษฐกิจเหลือเพียง 1,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นความเสียหายที่เกิดขึ้นกับระบบเศรษฐกิจอุตสาหกรรมหมอลำ

 

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง