องค์กรวิชาชีพสื่อ ยื่น ผบ.ตร. สอบข้อเท็จจริง กรณีสื่อบาดเจ็บเหตุปะทะม็อบ APEC

สังคม
21 ธ.ค. 65
14:47
167
Logo Thai PBS
องค์กรวิชาชีพสื่อ ยื่น ผบ.ตร. สอบข้อเท็จจริง กรณีสื่อบาดเจ็บเหตุปะทะม็อบ APEC
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
ตัวแทนองค์กรวิชาชีพสื่อ ยื่นหนังสือให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติ สอบข้อเท็จจริง กรณีสื่อบาดเจ็บจากเหตุปะทะม็อบ APEC

ตัวแทนองค์กรวิชาชีพสื่อ

วันนี้ (21 ธ.ค.2565 ) นายธีรนัย จารุวัสตร์ อุปนายกฝ่ายสิทธิเสรีภาพและการปฎิรูปสื่อ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย นายชาย ปถะคามินทร์ จากสภาการสื่อมวลชแห่งชาติ นายธวานันทภัทร ตั๋นไชยวงค์ สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย ตัวแทนจาก สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย สภาการสื่อมวลชนแห่งชาติ สภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย และสหภาพแรงงานกลางสื่อมวลชนไทยในฐานะองค์กรวิชาชีพสื่อมวลชน ซึ่งมีหน้าที่ปกป้องคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของผู้ประกอบวิชาชีพ ได้เดินทางมาที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพื่อยื่นหนังสือถึง​ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ โดยมี พล.ต.ต.อาชยน ไกรทอง โฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติออกมารับผู้รับหนังสือแทน

สืบเนื่องจากเหตุการณ์เมื่อวันที่ 18 พ.ย.2565 ที่ผ่านมา กรณีกลุ่มผู้ชุมนุมที่เรียกตัวเองว่า “ราษฎรหยุด APEC” ได้พยายามเดินขบวนไปยังสถานที่จัดการประชุม APEC ซึ่งต่อมาเกิดการปะทะกันระหว่างกลุ่มผู้ชุมนุมและเจ้าหน้าที่ตำรวจ ส่งผลให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บจำนวนมากทั้งผู้ชุมนุมและเจ้าหน้าที่ตำรวจ รวมถึงสื่อมวลชนภาคสนามจำนวนหนึ่ง 

ทั้งนี้สื่อมวลชนที่บาดเจ็บในทั้ง 4 กรณี ได้ทำหน้าที่รายงานเหตุการณ์ตามข้อเท็จจริง แสดงสัญลักษณ์สื่อมวลชนชัดเจน และไม่ได้กีดขวางการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจ นอกจากนี้ ผู้บาดเจ็บยังระบุว่าไม่ได้รับแจ้งให้ผู้ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องและสื่อมวลชนคอยระวังหรือหลบหลีก เมื่อเจ้าหน้าที่จะดำเนินการผลักดัน หรือตอบโต้ผู้ชุมนุม

โดยการยื่นหนังสือครั้งนี้เพื่อเรียกร้องให้ดำเนินการดำเนินการสอบสวนข้อเท็จจริง เหตุดังกล่าวเกิดจากการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจบางส่วนที่ไม่เป็นไปตามหลักยุทธวิธีการควบคุมฝูงชนของเจ้าหน้าที่ตำรวจหรือไม่ และชี้แจงผลการสอบสวนให้สาธารณชนได้รับทราบโดยไม่ชักช้า

เยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชนที่ได้รับผลกระทบจากการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจในเหตุการณ์ดังกล่าว

กำชับให้เจ้าหน้าที่ในพื้นที่การชุมนุม ปฏิบัติหน้าที่อย่างเคร่งครัดตามหลักยุทธวิธีการควบคุมฝูงชนที่เหมาะสม เพื่อไม่ให้กระทบต่อการทำงานของสื่อมวลชน ไม่ว่าจะเป็นการจัดพื้นที่ปลอดภัยให้แก่สื่อมวลชน การประกาศเตือนอย่างชัดเจนก่อนใช้มาตรการควบคุมฝูงชน การละเว้นพฤติกรรมรุนแรงหรือคุกคามการปฏิบัติหน้าที่ของสื่อมวลชน เป็นต้น

ข่าวที่เกี่ยวข้อง