ตรึงค่าไฟ! สั่ง กกพ.รื้อค่าไฟใหม่ให้ต่ำกว่าเดิม 4.72 บาท/หน่วย

เศรษฐกิจ
10 มี.ค. 66
07:14
1,013
Logo Thai PBS
ตรึงค่าไฟ! สั่ง กกพ.รื้อค่าไฟใหม่ให้ต่ำกว่าเดิม 4.72 บาท/หน่วย
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
รมว.พลังงานสั่ง กกพ.รื้อค่าไฟงวดใหม่ คาดจะสามารถกำหนดราคาค่าไฟฟ้างวดเดือน พ.ค.-ส.ค.66 ได้เท่าเดิมที่ 4.72 บาทต่อหน่วย หรือต่ำกว่านั้น

เมื่อวันที่ 9 มี.ค.2566 พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ครั้งที่ 2/2566 โดยเปิดเผยหลักการประชุม ว่า มีการหารือเกี่ยวกับการดูแลค่าไฟฟ้า โดยได้เน้นย้ำให้ กกพ.คำนึงถึงผลกระทบที่มีต่อประชาชนและขอให้รับฟังความคิดเห็นครอบคลุมทุกด้าน โดยเฉพาะขณะนี้ราคาก๊าซธรรมชาติที่เป็นต้นทุนเชื้อเพลิงหลักในการผลิตไฟฟ้าปรับลดลง

ด้านนายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.พลังงาน เปิดเผยว่า มอบหมายให้ กกพ.ไปดูค่าไฟฟ้างวดใหม่เดือน พ.ค.-ส.ค.2566 จะต้องลดลงเท่าที่ลงได้ให้มากที่สุด และให้คำนึงถึงความสามารถของการแข่งขันของประเทศ

ขณะนี้ราคาก๊าซธรรมชาติอ่อนตัวลงและเริ่มเห็นสัญญาณชัดเจนขึ้น เบื้องต้นคาดว่าจะสามารถกำหนดราคาค่าไฟฟ้าได้เท่าเดิมที่ 4.72 บาทต่อหน่วย โดยอยากให้ราคาไฟฟ้าในภาคอุตสาหกรรมและครัวเรือนลดลงเท่ากันอยู่ที่ 4.72 บาทต่อหน่วย หรือต่ำกว่านั้น

อย่างไรก็ตาม ต้องดูสถานะการเงินของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ด้วย เพราะก่อนหน้านี้แบกรับภาระหนี้ค่าเอฟที 130,000 ล้านบาท รัฐบาลจะต้องชดเชยในระดับหนึ่งด้วย เพื่อให้ กฟผ.มีเงินลงทุนในพลังงานสายส่งการผลิตตามแผนงานและไม่เป็นการเพิ่มภาระมากเกินไป ส่วนมาตรการดูแลค่าไฟฟ้ากลุ่มเปราะบางที่ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 300 หน่วยต่อเดือน รัฐยังคงดูแลต่อ

ส่วนนายคมกฤช ตันตระวาณิชย์ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) กล่าวว่า การกำหนดอัตราค่าไฟฟ้างวดใหม่ อยู่ระหว่างการพิจารณาและเปิดรับฟังความเห็นจากประชาชนในวันที่ 10-20 มี.ค. เพื่อนำเสนอให้ที่ประชุม กกพ. พิจารณาในวันที่ 22 มี.ค. ก่อนประกาศอย่างเป็นทางการช่วงต้นเดือน เม.ย. ให้ทันการบังคับใช้ในเดือน พ.ค.2566

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

บอร์ด กกพ.​เคาะค่าไฟงวด พ.ค.-ส.ค. หน่วยละ 4.75 บาท

ค่าไฟงวด พ.ค.-ส.ค.จ่อลด หากทบทวนจ่ายคืนหนี้ กฟผ.

ครม.เคาะงบฯ 3,191 ล้าน อุ้มค่าไฟไม่เกิน 300 หน่วยต่อเดือน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง