ตร.-ทหาร เสี่ยงเครียด สังคมกดดันเทียบ “ถังขยะทางทางอารมณ์”

สังคม
16 มี.ค. 66
17:54
746
Logo Thai PBS
ตร.-ทหาร เสี่ยงเครียด สังคมกดดันเทียบ “ถังขยะทางทางอารมณ์”
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
อธิบดีกรมสุขภาพจิต ชี้คนในเครื่องแบบ ตำรวจ-ทหารกับภาวะเครียด เทียบ “ถังขยะทางทางอารมณ์” สังคมคาดหวัง กล้าหาญ แรงสูงยิ่งเสี่ยงสุขภาพจิต กางสถิติปี 2564 ตำรวจเสียชีวิตเครียดฆ่าตัว 21 นาย

พญ.อัมพร เบญจพลพิทักษ์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต ให้สัมภาษณ์ไทยพีบีเอสออนไลน์ กล่าวถึงสถานการณ์ความเครียดของกลุ่มที่อยู่ในอาชีพที่ครอบครองอาวุธ เช่น ตำรวจ ทหาร มีนัยความเครียดว่า เนื่องจากคนกลุ่มนี้ต้องปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับอาวุธร้ายแรง ถือเป็นหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบสูง

สอดคล้องกับในสถานการณ์ของนานาประเทศที่เคยมีการสำรวจก็บ่งชี้ว่าจากความรับผิดชอบสูง และลักษณะเฉพาะตัวของงาน มีแนวโน้มที่พบอัตราความเครียดที่เพิ่มกว่ากลุ่มคนทั่วไปได้ เหตุผลเพราะผู้ที่อยู่ในหน้าที่นี้ต้องอยู่ในหน้าที่และความกดดัน หากสังคมมีความเครียดสูง คนกลุ่มนี้ก็มีความเครียด

เพิ่มเติมคือการรับผิดชอบกับความเด็ดขาด ความปลอดภัย ความเป็นความตาย เมื่อต้องสัมผัสกับเหตุ ความเครียดอื่น ความรับผิดชอบในตัวเองและคนรอบข้าง จึงต้องสูงขึ้นเป็นแรงกดดันเสริมขึ้นไปอีก 

อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวอีกว่า สำหรับในไทยก่อนหน้านี้สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เคยมีการสำรวจตำรวจว่ามีผู้ที่อยู่ในสภาพจิตใจที่มีควมเครียดและมีโอกาสสุ่มเสี่ยงต่อสุขภาพจิตอย่างไรบ้าง แต่ตัวเลขที่สะท้อนออกมาสอดคล้องกับนานาชาติ พบว่ามีความเครียดสูง แต่ต้องตรวจสอบจากทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติว่ามีเพิ่มขึ้นสักกี่เปอร์เซ็นต์

อ่านข่าวเพิ่ม ผบ.ตร. รับใช้กระสุนจริง หลัง "สารวัตรกานต์" ยิงตอบโต้ ปัดเครียดงาน

ชี้สังคมคาดหวังเทียบ "ถังขยะทางอารมณ์"

เมื่อถามว่าสถิติเทียบสูงกว่าเพราะอะไร พญ.อัมพร กล่าวว่า กลุ่มอาชีพนี้มีความคาดหวังจากสังคม ความคาดหวังในความกล้าหาญ รวดเร็ว ทันต่อเหตุการณ์ ขณะที่ทั้ง 2-3 ส่วนนี้มีความเสี่ยงชีวิตแขวนอยู่บนความเสี่ยง และเป็นปัจจัยที่โน้มทำให้มีความเครียดมากกว่าปกติได้ง่าย 

อีกทั้งใน ระยะหลังที่สังคมคาดหวังและมีกระแสด้านลบ และอาชีพนี้มีความคาดหวังสูง และถูกตำหนิสูงเช่นกันในทุกกลุ่มคนทำงานและสังคมก็มีทั้งคนดีไม่ดีปนกัน แต่หากมีคนไม่ดี ก็จะยิ่งกลายเป็นกระแสขุ่นเคือง กดดันต่อทั้งกลุ่มวิชาชีพเช่นกัน

เคยมีการวิเคราะห์เปรียบเทียบว่าตำรวจ คนด่านหน้าที่ที่ต้องใช้ความกล้าหาญไปเผชิญนั้นเรียกว่าเป็นถังขยะทางอารมณ์ ถ้าไม่ได้ดั่งใจและคาดหวัง จึงมีเสียงต่อว่าเกิดขึ้นได้

อ่านข่าวเพิ่ม "จเรตำรวจ" สั่งเช็กสุขภาพจิตตำรวจ-แจ้งเบาะแสผ่าน JCOMS

กรณีสารวัตรกานต์ ไม่ผ่านเกณฑ์สุขภาพจิตเพื่อเลื่อนตำแหน่งและพบเรื่องการใช้สารเสพติด พญ.อัมพร กล่าวว่า เรื่องนี้ขอให้ทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติเป็นคนสรุปสาเหตุดังกล่าว แต่กรมสุขภาพจิต ได้เข้าไปร่วมในการปฏิบัติการเจรจา

อย่างไรก็ตาม ขอย้ำว่าในช่วงวิกฤตของสถานการณ์นี้ ถ้ามุ่งมองแต่มองจุดอ่อนปัญหาจะหมดกำลังใจ และครั้งนี้เชื่อว่าตำรวจทำงานอย่างอดทนและหนักแน่นไม่อยากให้เกิดความสูญเสีย และขอชื่นชมในการปฎิบัติงานด้วย

อ่านข่าวเพิ่ม ตรวจวิถีกระสุน-ร่องรอยความเสียหายชุมชนบ้านมั่นคง 9

กางสถิติตำรวจเครียด-ฆ่าตัวปมเหตุอะไร

ก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 4 ม.ค.2565 พล.ต.ต.ยิ่งยศ เทพจํานงค์ โฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เคยกล่าวถึงสถิติสาเหตุตำรวจฆ่าตัวตายช่วงปี 2551-2564 มีตำรวจเสียชีวิต 443 นาย

จำนวนนี้เกิดจากปัญหาสุขภาพ 129 นาย ปัญหาอื่นๆ 121 นาย ปัญหาครอบครัว 98 นาย ปัญหาส่วนตัว 39 นาย ปัญหาหนี้สิน 38 นาย ปัญหาเรื่องงาน 18 นาย

โดยในปี 2564 มีการสรุปสาเหตุการตาย 21 นาย เกิดจากปัญหาสุขภาพ 11 นาย ปัญหาหนี้สิน 5 นาย ปัญหาส่วนตัว 3 นาย ปัญหาเรื่องงาน 1 นาย ปัญหาอื่นๆ 1 นาย

ส่วนปัญหาสุขภาพ ยังไม่สามารถระบุได้ว่า เกิดจากความเครียดทางจิต หรืออาการป่วยทางร่างกาย ซึ่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เน้นให้ตำรวจทุกนายตรวจสุขภาพประจำปี ทั้งร่ายกายและสุขภาพจิต เนื่องจากตำรวจต้องทำงานภายใต้งานที่กดกัน และสุ่มเสี่ยง

นอกจากนี้โรงพยาบาลได้จัดตั้งศูนย์ให้คำปรึกษาเฉพาะทาง โดยจะมีเจ้าหน้าที่สุขภาพจิตให้คำแนะนำตลอด 24 ชม.อีกทั้งการตรวจประจำปี ตร.ได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้คำแนะนำกับข้าราชการตำรวจทั่วประเทศ ผ่านทางเพจเฟซบุ๊ก Depress We Care โทร 081-932-0000 ปรึกษาได้ตลอด 24 ชั่วโมง

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

ผลชันสูตร "สารวัตรกานต์" กระสุนทะลุตัว 6 นัด-พบสารเสพติด

ตำแหน่ง-หน้าที่-สถานที่ และ นาย ปมเครียดสะสม "ตำรวจ"

ไขคำตอบ! ผู้ป่วยจิตเวชกับแก๊สน้ำตา

ข่าวที่เกี่ยวข้อง