ประวัติความเป็นมา "วันอาสาฬหบูชา" ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8

สังคม
20 ก.ค. 66
11:07
49,200
Logo Thai PBS
ประวัติความเป็นมา "วันอาสาฬหบูชา" ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
"วันอาสาฬหบูชา" ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 ปีนี้ ตรงกับ วันที่ 1 ส.ค.66 เป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา เป็นวันที่พระรัตนตรัยเกิดขึ้นโดยสมบูรณ์ ทั้งพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์

วันอาสาฬหบูชา ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 ก่อนวันเข้าพรรษา 1 วัน ในปีนี้ตรงกับ วันที่ 1 ส.ค.2566

อาสาฬหบูชา ย่อมาจากคำว่า "อาสาฬหปูรณมีบูชา" แปลว่า "การบูชาในวันเพ็ญเดือนอาสาฬหะ" อันเป็นเดือนที่ 4 ตามปฏิทินของประเทศอินเดีย ตรงกับวันเพ็ญ เดือน 8 ตามปฏิทินจันทรคติของไทย มักตรงกับเดือน ก.ค. หรือ ส.ค.

วันอาสาฬหบูชา เป็นวันสำคัญทาง พระพุทธศาสนา เป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนา คือ เทศน์กัณฑ์แรก คือ "ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร" เป็นครั้งแรกแก่เบญจวัคคีย์ ทั้ง 5

วันอาสาฬหบูชา ถือเป็นวันสำคัญทางพุทธศาสนา เนื่องจากเป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงพระธรรมที่ตรัสรู้เป็นครั้งแรกแก่ ปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 คนได้แก่ โกณฑัญญะ วัปปะ ภัททิยะ มหานามะ และอัสสชิ

อ่านข่าว : วันอาสาฬหบูชา 2567 ปฐมเทศนา "ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร"

วัดสุทัศนเทพวราราม

วัดสุทัศนเทพวราราม

วัดสุทัศนเทพวราราม

การแสดงธรรมครั้งนั้นทำให้ พระโกณฑัญญะ หนึ่งในปัญจวัคคีย์ เกิดความเลื่อมใสในพระธรรมจนได้ดวงตาเห็นธรรม บรรลุเป็นพระอริยบุคคลระดับโสดาบัน ได้อุปสมบทเป็นพระอริยสงฆ์องค์แรกในพระพุทธศาสนา และทำให้พระรัตนตรัยครบองค์ 3 คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์

วันอาสาฬหบูชา ถูกกำหนดให้เป็นวันสำคัญทางพุทธศาสนาโดยคณะสังฆมนตรี เมื่อ พ.ศ.2501 ตามคำแนะนำของ พระธรรมโกศาจารย์ (ชอบ อนุจารี) พร้อมทั้งยังกำหนดพิธีขึ้นอย่างเป็นทางการเป็นครั้งแรกในประเทศไทย โดยมีพิธีปฏิบัติเทียบเท่ากับ "วันวิสาขบูชา"

อย่างไรก็ตาม วันอาสาฬหบูชาถือเป็นวันสำคัญที่กำหนดให้กับวันหยุดของรัฐเพียงแต่ในประเทศไทยเท่านั้น ส่วนในต่างประเทศที่นับถือพุทธศาสนานิกายเถรวาทอื่น ๆ ยังไม่ได้ให้ความสำคัญกับวันอาสาฬหบูชาเทียบเท่ากับวันวิสาขบูชา

อ่านข่าว : รวมคำบูชา - คำถวาย ในพิธีทางพระ วันอาสาฬหบูชา - เข้าพรรษา 2567

ทำบุญตักบาตร

ทำบุญตักบาตร

ทำบุญตักบาตร

หลักธรรมสำคัญในวันอาสาฬหบูชา

"พระธัมมจักกัปปวัตตนสูตร" ซึ่งมีอริยสัจ 4 ได้แก่

1. ทุกข์ คือ ปัญหาที่ทำให้ไม่สบายกาย ไม่สบายใจ

2. สมุทัย คือ เหตุที่ทำให้เกิดทุกข์

3. นิโรธ คือ การดับทุกข์

4. มรรค คือ กระบวนการแก้ปัญหา มี 8 ข้อ เรียก อริยอัฏฐังคิกมัคค์ ได้แก่

  • สัมมาทิฏฐิ เห็นชอบ คือ รู้เข้าใจถูกต้อง เห็นตามที่เป็นจริง
  • สัมมาสังกัปปะ ดำริชอบ คือ คิดสุจริตตั้งใจทำสิ่งที่ดีงาม
  • สัมมาวาจา เจรจาชอบ คือ กล่าวคำสุจริต
  • สัมมากัมมันตะ กระทำชอบ คือ ทำการที่สุจริต
  • สัมมาอาชีวะ อาชีพชอบ คือ ประกอบสัมมาชีพหรืออาชีพที่สุจริต
  • สัมมาวายามะ พยายามชอบ คือ เพียรละชั่วบำเพ็ญดี
  • สัมมาสติ ระลึกชอบ คือ ทำการด้วยจิตสำนึกเสมอ ไม่เผลอพลาด
  • สัมมาสมาธิ ตั้งจิตมั่นชอบ คือ คุมจิตให้แน่วแน่มั่นคงไม่ฟุ้งซ่าน

กิจกรรมวันอาสาฬหบูชา 2566

กิจกรรมในวันอาสาฬหบูชาแบ่งออกเป็นกิจกรรมของพระภิกษุสงฆ์และพุทธศาสนิกชน โดยพระภิกษุสงฆ์ในวัดก็เตรียมจัดกิจกรรมที่วัด รวมถึงแสดงพระธรรมเทศนาธัมมจักกัปปวัตตนสูตร ตามที่พระพุทธเจ้าเคยแสดงธรรมแก่ปัญจวัคคีย์ ส่วนสิ่งที่พุทธศาสนิกชน พึงกระทำในวันนี้ คือ 

  • ทำบุญ ตักบาตร ถวายสังฆทาน
  • รักษาศีล งดการทำบาป หรือให้ทาน
  • เข้าวัดฟังธรรมสวดมนต์ 
  • เวียนเทียนรอบอุโบสถในเวลาเย็น เพื่อน้อมระลึกถึงพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ และยังช่วยชำระล้างจิตใจให้ผ่องใส

อ่านข่าว : วันอาสาฬหบูชา 2566 เตรียม "บทสวดเวียนเทียน" สวดบทไหน - ต้องใช้เครื่องบูชาอะไรบ้าง

กิจกรรมเวียนเทียน

กิจกรรมเวียนเทียน

กิจกรรมเวียนเทียน

เวียนเทียนวันอาสาฬหบูชา

การเวียนเทียนในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา คือการเดินเวียนรอบปูชนียสถาน เรียกว่า เวียนประทักษิณาวัตร ซึ่งเป็นอิทธิพลที่รับมาจากอินเดีย เพื่อแสดงความเคารพบูชาพระรัตนตรัย 

โดยมากมักจะเดินรอบพระอุโบสถหรือพระพุทธรูป โดยถือเทียนธูปและดอกไม้ไว้ในมือเพื่อเป็นเครื่องสักการะบูชา 3 รอบ ขณะเดินพึงตั้งจิตให้สงบพร้อมสวดระลึกถึงพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ และพระสังฆคุณ การเวียนเทียนในวันอาสาฬหบูชา ชาวพุทธต้องสำรวมกาย วาจา และใจ อย่าลืมแต่งกายให้เหมาะสมกับสถานที่ 

วัดพระแก้ว

วัดพระแก้ว

วัดพระแก้ว

ขณะที่วันสำคัญวันสำคัญทางศาสนาที่ประเทศไทยทำพิธีเวียนเทียน มีอยู่ 4 ครั้ง คือ วันวิสาขบูชา (15 ค่ำ เดือน 6) วันอัฏฐมีบูชา (แรม 8 ค่ำ เดือน 6) วันมาฆบูชา (15 ค่ำ เดือน 3) และ วันอาสาฬหบูชา (15 ค่ำ เดือน 8)

ข้อมูล : สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ, rama.mahidol, วิกิพีเดีย

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

"วันวิสาขบูชา 2566" วันสำคัญสากลของโลก ตรงกับวันเสาร์ที่ 3 มิ.ย. ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 7

ข่าวที่เกี่ยวข้อง