ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

พลิกดินแล้งเป็นสวนผลไม้ ต่อยอด “ฝายห้วยน้ำพร้าฯ” จ.อุตรดิตถ์

ภูมิภาค
12:24
79
พลิกดินแล้งเป็นสวนผลไม้ ต่อยอด “ฝายห้วยน้ำพร้าฯ” จ.อุตรดิตถ์

สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (กปร.) ร่วมกับกรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เดินหน้าต่อยอดโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ส่งเสริมการปลูกที่เหมาะสมกับพื้นที่ สนับสนุนการรวมกลุ่มวิสาหกิจชุมชน กลุ่มแปลงใหญ่ ควบคู่ไปกับการทำการตลาดอย่างครบวงจร สร้างรายได้อย่างมั่นคง ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนให้ดีขึ้น

นายพลากร สุวรรณรัฐ องคมนตรี ประธานอนุกรรมการติดตามและขับเคลื่อนโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ในพื้นที่ภาคเหนือ

นายพลากร สุวรรณรัฐ องคมนตรี ประธานอนุกรรมการติดตามและขับเคลื่อนโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ในพื้นที่ภาคเหนือ

นายพลากร สุวรรณรัฐ องคมนตรี ประธานอนุกรรมการติดตามและขับเคลื่อนโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ในพื้นที่ภาคเหนือ

น.ส.บัวหา อินปาจร ชาวบ้าน ต.นางพญา อ.ท่าปลา จ.อุตรดิตถ์ เปิดเผยระหว่างต้อนรับนายพลากร สุวรรณรัฐ องคมนตรี ประธานอนุกรรมการติดตามและขับเคลื่อนโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ในพื้นที่ภาคเหนือ พร้อมด้วย นายศุภรัชต์ อินทราวุธ รองเลขาธิการ กปร. คณะที่ปรึกษาอนุกรรมการ และคณะอนุกรรมการฯ

ในโอกาสลงพื้นที่เยี่ยมชาวบ้านที่ได้รับประโยชน์จากโครงการฝายห้วยน้ำพร้าพร้อมระบบส่งน้ำ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ต.นางพญา อ.ท่าปลา จ.อุตรดิตถ์ เมื่อต้นเดือน ก.ค.2568 ที่ผ่านมา

น.ส.บัวหา อินปาจร ชาวบ้าน ต.นางพญา อ.ท่าปลา จ.อุตรดิตถ์

น.ส.บัวหา อินปาจร ชาวบ้าน ต.นางพญา อ.ท่าปลา จ.อุตรดิตถ์

น.ส.บัวหา อินปาจร ชาวบ้าน ต.นางพญา อ.ท่าปลา จ.อุตรดิตถ์

น.ส.บัวหาเล่าว่า เดิมครอบครัวปลูกข้าวโพด เป็นพืชเชิงเดี่ยว เพราะพื้นที่ขาดแคลนน้ำ ไม่สามารถปลูกพืชชนิดอื่นได้ แต่รายได้ก็ยังไม่ดี หลังจากมีโครงการฝายห้วยน้ำพร้าพร้อมระบบส่งน้ำ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ

ทำให้พื้นที่มีน้ำเพียงพอที่จะปลูกพืชชนิดอื่น ๆ โดยพื้นที่ 19 ไร่ แบ่งมาปลูกข้าว กข.10 จำนวน 4 ไร่ สำหรับบริโภคในครัวเรือน ส่วน 15 ไร่ ที่เหลือ ได้ปลูกทุเรียนพันธุ์หมอนทองนางพญา 300 ต้น แซมด้วยลองกอง อะโวคาโด และกาแฟ

“ปีที่ผ่านมา ทุเรียนให้ผลผลิต 4,000-5,000 กิโลกรัม ขายได้กิโลกรัมละ 80-90 บาท เมื่อรวมกับผลผลิตของพืชอื่น ๆ ทำให้มีรายได้ประมาณ 300,000 บาทต่อปี ซึ่งดีกว่าเมื่อก่อนที่ปลูกข้าวโพดอย่างเดียว ตอนนี้ที่นี่มีน้ำ มีคลอง มีฝายกั้นน้ำทำให้น้ำไหลเข้าถึงพื้นที่การเกษตรได้อย่างอุดมสมบูรณ์ ดีใจที่มีโครงการฝายห้วยน้ำพร้าพร้อมระบบส่งน้ำอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

ทำให้มีน้ำเพียงพอในการเพาะปลูก ผลผลิตดีมีคุณภาพ รายได้ก็ดีขึ้น ทุกวันนี้มีชีวิตความเป็นอยู่ดีกว่าเมื่อก่อนมาก มีบ้าน มีรถ มีเงิน สามารถส่งลูกเรียนหนังสือในระดับสูงขึ้นได้อย่างไม่ขัดสน และชาวบ้านทุกคนได้ใช้ประโยชน์จากน้ำในโครงการร่วมกันอย่างทั่วถึง”

สำหรับการต่อยอดการใช้ประโยชน์จากโครงการนั้น นายเอนก ชื่นอารมณ์ เกษตรจังหวัดอุตรดิตถ์ เปิดเผยว่า สำนักงานเกษตรจังหวัดอุตรดิตถ์ ได้ต่อยอดการใช้ประโยชน์จากโครงการอย่างคุ้มค่าและต่อเนื่อง

นับตั้งแต่การนำพันธุ์พืชที่ได้รับการพัฒนาพันธุ์ให้มีความเหมาะสมกับพื้นที่ ทั้งภูมิประเทศและภูมิอากาศ มาส่งเสริมให้ราษฎรเพาะปลูก โดยเฉพาะพืชที่เป็นอัตลักษณ์ประจำถิ่น คือ ทุเรียนหมอนทองนางพญา ซึ่งพัฒนาพันธุ์มาจากทุเรียนพันธุ์หมอนทอง ปัจจุบันมีพื้นที่ปลูกมากกว่า 875 ไร่ มีผลผลิตเฉลี่ย 1,200 กิโลกรัมต่อไร่

มีการถ่ายทอดองค์ความรู้ในวิธีการผลิตที่ถูกต้องได้มาตรฐาน รวมถึงสร้างกลไกการตลาดให้เกษตรกร เช่น ทุเรียนที่ปลูกบนพื้นที่เนินเขาจะมีความชื้นหน้าดินดี เพราะมีแหล่งน้ำอยู่ใกล้ ๆ ทำให้ทุเรียนมีรสชาติอร่อย หวาน มัน เนื้อแห้ง แตกต่างจากพื้นที่อื่น ๆ และรูปทรงก็ออกมาสวยงาม

สำหรับกาแฟได้ส่งเสริมให้ปลูกพันธุ์โรบัสต้า ตอนนี้มีประมาณ 76 ไร่ มีผลผลิตเฉลี่ย 97 กิโลกรัมต่อไร่ ผลผลิตรวม 7.38 ตัน สร้างรายได้ประมาณ 184,397 บาทต่อปี โดยปัจจุบันได้ส่งเสริมให้มีการรวมกลุ่มจัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกาแฟนางพญา และกลุ่มแปลงใหญ่ทุเรียนตำบลนางพญา เพื่อให้การผลิตทุเรียนคุณภาพเป็นไปตามเป้าหมายการพัฒนา ได้แก่ ลดต้นทุนการผลิต เพิ่มผลผลิต พัฒนาคุณภาพให้ได้มาตรฐาน บริหารจัดการและจัดการด้านการตลาด ซึ่งเกิดประโยชน์กับเกษตรกรอย่างเต็มที่

โครงการฝายห้วยน้ำพร้าพร้อมระบบส่งน้ำอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เกิดขึ้นจากพระมหากรุณาธิคุณในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร มีพระราชดำริกับนายสุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการ กปร. ในขณะนั้น เมื่อวันที่ 8 มี.ค.2534 ความว่า

ให้พิจารณาประสานงานกับหน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ความช่วยเหลือราษฎรบ้านน้ำพร้า ตำบลนางพญา และพื้นที่ใกล้เคียงโดยเฉพาะเรื่องคมนาคม รวมทั้งให้การช่วยเหลือในเรื่องสาธารณสุข การประกอบอาชีพ และการชลประทานตามความเหมาะสม

สำนักงาน กปร. ร่วมกับกรมชลประทาน ได้สนองพระราชดำริดำเนินการก่อสร้างในปี 2536 ช่วยเหลือพื้นที่การเกษตรของราษฎรบ้านน้ำพร้า หมู่ 1 และหมู่ 5 ต.นางพญา อ.ท่าปลา จ.อุตรดิตถ์ จำนวน 500 ไร่ เกษตรกร 86 ครัวเรือน ปลูกข้าวนาปี พันธุ์ กข.10 ในเขตชลประทาน 200 ไร่ ให้ผลผลิต 450 - 500 กิโลกรัม/ไร่ มีรายได้รวม 940,000 บาท

สำหรับทุเรียนพันธุ์หมอนทองนางพญา มีเกษตรกรที่เพาะปลูก 175 ครัวเรือน พื้นที่ 1,885 ไร่ พื้นที่เก็บเกี่ยว 875 ไร่ มีผลผลิตเฉลี่ยไร่ละ 1,200 กิโลกรัม สร้างรายได้รวมปีละ 73,500,000 บาท รวมถึงกาแฟมีเกษตรกรเพาะปลูก 25 ครัวเรือน ให้ผลผลิตเฉลี่ยไร่ละ 97 กิโลกรัม มีรายได้รวมปีละ 184,000 บาท

ทั้งนี้มีการจัดตั้งกลุ่มผู้ใช้น้ำในการจัดสรรน้ำให้แก่สมาชิกอย่างทั่วถึงรวมถึงช่วยกันบำรุงรักษาอาคารชลประทานให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานอย่างต่อเนื่อง

อ่านข่าว : “พระปาราชิก” แต่ “ลาสิกขา” ก่อน จะกลับมา “บวชใหม่” ได้หรือไม่

"มหาเถรฯ" จ่อเรียกตัวมาพบ "พระ" ที่ ตร.มีหลักฐานโยงสีกา ทั้งโอนเงิน-แชตไลน์

โพลนิด้าชี้ "แพทองธาร" ควรลาออก - หนุน "ประยุทธ์" เป็นนายกฯ