Thailand Web Stat
ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

ไทยพบ 2 คนแรก "โอมิครอนกลายพันธุ์ HK.3" ยังไม่ชัดแพร่เชื้อเร็ว

สังคม
30 ส.ค. 66
07:30
5,222
Logo Thai PBS
 ไทยพบ 2 คนแรก "โอมิครอนกลายพันธุ์ HK.3" ยังไม่ชัดแพร่เชื้อเร็ว
อ่านให้ฟัง
03:37อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ยืนยันพบ 2 คนแรก ติดโควิดโอมิครอนกลายพันธุ์ HK.3 เป็นคนไทยครอบครัวเดียวกัน ชายอายุ 65 ปีและเด็กหญิง 11 ปี ยังไม่ชัดแพร่เชื้อเร็วรอ 2 สัปดาห์

วันนี้ (30 ส.ค.2566) นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ แถลงอัปเดตสถานการณ์โรคโควิด-19 ว่า ขณะนี้พบการระบาดของสายพันธุ์ XBB.1.5, XBB.1.16, EG.5 ที่ระบาดในโลก และที่พบระบาดใหม่ EG.5 ในไทยก็เริ่มมีจำนวนสายพันธุ์ที่ตรวจพบจำนวน 23 คน ส่วนสายพันธุ์ที่ต้องจับตา BA.2.75 ,BA.2.86, CH.1.1 , XBB, XBB.1.9.1 และ XBB.1.9.2

แนวโน้มในโลกที่ทาง (GISAID) รายงานสถานการณ์ลดลงเพราะดีขึ้นมาก และในแต่ละสัปดาห์ตัวที่ลดลง XBB.1.5 แต่ที่ยังทรงๆตัว XBB.1.16 และ BA.2.75 ขณะที่ EG.5 กำลังขยับมาเป็นสายพันธุ์หลัก

สำหรับ 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา ที่เจอ EG.5 จำนวน 15 คนและล่าสุดอีก 8 คนและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในไทย นอกจากนี้ตัวที่เป็นหลักยังคงเป็น XBB.1.16

อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ยังพบโอมิครอน HK.3 ซึ่งเป็น 2 คนแรกมาจากครอบครัวเดียวกัน สัญชาติไทย คือชายอายุ 65 ปี และเด็กหญิงอายุ 11 ปีจากพื้นที่ กทม. ส่วนที่มีข่าวก่อนหน้าว่ามี 3 คนเป็นความคลาดเคลื่อน

ประเทศไทยพบ 2 ราย เป็นครอบครัวเดียวกัน สัญชาติไทย อยู่ในกรุงเทพมหานคร เป็นเพศชาย อายุ 65 ปี และเพศหญิง อายุ 11 ปี ขณะนี้หายดีแล้ว ไม่ได้มีอาการหนักแต่อย่างใด 

ยังไม่ชัดแพร่เชื้อเร็วกว่าสายพันธุ์ย่อยอื่น 

นพ.ศุภกิจ กล่าวว่า จุดสำคัญของ HK.3 นั้น พบการกลายพันธุ์ตรงโปรตีนหนาม เปลี่ยนตำแหน่ง 455 จาก L ไปเป็น F และบางส่วนสลับจาก F ไปเป็น L โดยมีข้อสันนิษฐานว่า จะเพิ่มความสามารถในการเข้าสู่เซลล์ แพร่เชื้อเร็วขึ้น หรือหลบภูมิคุ้มกันได้มากขึ้นหรือไม่ ตรงนี้ยังไม่ชัดเจน ต้องติดตามข้อมูล

ส่วนที่มีการพูดกันถึงภาพรวมการติดเชื้อ HK.3 ว่า จะติดเชื้อเร็วกว่าเดิมร้อยละ 66 ส่วนประเทศไทยจะติดเชื้อเร็วกว่าสายพันธุ์ XBB.1.16 ถึงร้อยละ 95 ต้องรอกติดตามอีก 2 สัปดาห์ จึงจะบอกได้มากขึ้น

ส่วนสายพันธุ์ BA.2.86 ที่พบ 21 คน ส่วนในไทยมีนักวิทยาศาสตร์ Dr.Leshan ไปสุ่มตรวจน้ำเสียเก็บจากพื้นที่กทม. ในช่วงปลายเดือนก.ค.ที่ผ่านมา และนำมาถอดรหัสพันธุกรรมเพื่อหาเชื้อ ระบุว่า มีสายพันธุ์ BA.2.86

ของไทยพบแต่ในน้ำเสีย ไม่ได้พบในผู้ป่วยแม้แต่รายดี แต่ยังต้องเฝ้าระวัง   

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Failed to load player resources

Please refresh the page to try again.

ERROR_BYTEARK_PLAYER_REACT_100001

00:00

00:00

ให้คะแนนการอ่านข่าวนี้