ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

ไม้เถาล้มลุก "ดองดึง" ดอกสวยเป็นไม้ประดับ หัว-รากเป็นสมุนไพร

สิ่งแวดล้อม
5 ก.ย. 66
17:49
3,732
Logo Thai PBS
ไม้เถาล้มลุก "ดองดึง" ดอกสวยเป็นไม้ประดับ หัว-รากเป็นสมุนไพร
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
รู้จัก "ดองดึง" ไม้เถาล้มลุก ออกดอกกลีบสีเหลืองนวลปลายสีแดง พบได้ทุกภาคในไทย หัวดองดึงมีสรรพคุณแก้ปวดข้อ-แก้พิษสัตว์กัดต่อย ส่วนราก แก้ลมจุกเสียด-ขับเสมหะ

วันนี้ (5 ก.ย.2566) กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช ชวนทำความรู้จัก "ดองดึง" เป็นไม้เถาล้มลุก อาศัยปลายใบที่ม้วนงอเป็นมือเกาะไปตามต้นไม้อื่น ดอกเดี่ยว ออกตามซอกใบใกล้ปลายยอด ดอกมีขนาดใหญ่โค้งคว่ำลง กลีบสีเหลืองนวลอมเขียวปลายกลีบสีแดง เมื่อแก่จะเปลี่ยนเป็นสีแดงทั้งดอก เกสรเพศผู้ 6 เกสร ชี้ออกเป็นรัศมี ผลแบบผลแห้งแตกตามรอยประสาน รูปทรงกระบอก มี 3 พู

ภาพ : กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช

ภาพ : กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช

ภาพ : กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช

ดองดึง มีเขตการกระจายพันธุ์ที่กว้างมาก พบตั้งแต่แอฟริกา อินเดีย จีนตอนใต้ ถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในประเทศไทยพบได้ทุกภาค นอกจากจะพบในบริเวณใกล้ทะเลแล้ว ยังพบดองดึงตามบริเวณชายป่าผลัดใบ ชายป่าดิบ ป่าเสื่อมโทรม และหัวไร่ปลายนา

ช่วงฤดูฝนโดยเฉพาะในช่วงเดือน ส.ค. หากเดินตามป่าชายหาด ป่าละเมาะริมทะเล หรือบริเวณรอยต่อป่าชายเลนกับป่าชายหาด อาจจะพบดองดึงออกดอก ถ้าโชคดีจะพบเท้ายายม่อมออกดอกในบริเวณเดียวกันด้วย บริเวณที่พบดองดึงได้ง่าย เช่น ป่าชายหาดบ้านเพ จ.ระยอง, หาดท้ายเหมือง จ.พังงา และหาดในยาง จังหวัดภูเก็ต

ภาพ : กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช

ภาพ : กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช

ภาพ : กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช

ดองดึง มีดอกขนาดใหญ่ สวยงาม เหมาะที่จะนำมาปรับปรุงพันธุ์เป็นไม้ประดับ มีสรรพคุณทางสมุนไพร เช่น หัว รักษาโรคเรื้อน คุดทะราด แก้ปวดข้อ รักษากามโรค รักษามะเร็ง แก้พิษแมลงสัตว์กัดต่อย ส่วนราก แก้ลมจุกเสียด ขับเสมหะ รักษาโรคผิวหนัง แก้ปวดข้อ

ภาพ : กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช

ภาพ : กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช

ภาพ : กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช

ภาพ : กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช

ภาพ : กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช

ภาพ : กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช

อ่านข่าวอื่นๆ

“พญาแร้ง" ฮันนีมูนกลางป่าห้วยขาแข้ง รอลุ้นลูกตัวแรก

เตือนอย่าสัมผัส "ทากทะเลมังกรฟ้า" กินแมงกะพรุนพิษร้าย

พิษเอลนีโญ! ห้วยขาแข้งแล้ง "ช้าง-สัตว์ป่า" ขยับหากินริมขอบป่า

ข่าวที่เกี่ยวข้อง