จับกระแสการเมือง วันที่ 6 ต.ค.66 : ดัน "นิรโทษกรรม" ถอน หรือ เร่ง ฟืนออกจากกองไฟ

การเมือง
6 ต.ค. 66
15:24
458
Logo Thai PBS
จับกระแสการเมือง วันที่ 6 ต.ค.66 : ดัน "นิรโทษกรรม" ถอน หรือ เร่ง ฟืนออกจากกองไฟ
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)

"ถอนฟืนออกจากกองไฟ ยุตินิติสงคราม" แนวทางที่ "ต๋อม" ชัยธวัช ตุลาธน หัวหน้าพรรคก้าวไกล เดินหน้ากฎหมายนิรโทษกรรมทางการเมือง ด้วยการยื่น ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมแก่ผู้บุคคล ซึ่งได้กระทำความผิดอันเนื่องมาจากเหตุการณ์ความขัดแย้งทางการเมือง พ.ศ. ... เพื่อบรรจุเข้าสู่การพิจารณาโดยสภาฯ เมื่อวันที่ 5 ต.ค.ที่ผ่านมา ด้วยเชื่อว่า การใช้กระบวนการทางสภาฯ จะเป็นแนวทางที่ดีกว่าการใช้อำนาจบริหารเพียงอย่างเดียว โดยให้มีผลย้อนไปตั้งแต่ ก.พ.49 จนถึงปัจจุบัน ครอบคลุมทุกกลุ่ม ทุกสี ยกเว้น เจ้าหน้าที่รัฐที่กระทำผิด หรือเรียกว่า “ถอนฟืนจากไฟ ยุตินิติสงคราม

ใช้กระบวนการทางสภาดีกว่าใช้อำนาจบริหารอย่างเดียว ถ้าเกิดไปออก พ.ร.ก.นิรโทษกรรม อันนี้ยิ่งเป็นกระบวนการที่รวบรัดและขาดการมีส่วนร่วม แต่กระบวนการในสภาฯนั้นมีหลายขั้นตอน
นายชัยธวัช ตุลาธน หัวหน้าพรรคก้าวไกล

นายชัยธวัช ตุลาธน หัวหน้าพรรคก้าวไกล

นายชัยธวัช ตุลาธน หัวหน้าพรรคก้าวไกล

ขณะที่ รักษาการหัวหน้าพรรคเพื่อไทย อย่าง “ชูศักดิ์ ศิรินิล” ก็เตือนว่า การเดินหน้านิรโทษกรรม ควรดำเนินการด้วยความรอบคอบ เพราะหวั่นเกรงว่าจะนำไปสู่ชนวนความขัดแย้งรอบใหม่ เพราะประเด็นคดีการเมือง หรือ การแสดงออกทางการเมือง ต้องหาความชัดเจนให้ได้ก่อน รวมถึงเรื่องการนิรโทษกรรม ยังมีความเห็นที่หลากหลายทางการเมือง ดังนั้นพรรคเพื่อไทยจึงขอหารือภายในพรรคก่อน

นายชูศักดิ์ ศิรินิล รักษาการหัวหน้าพรรคเพื่อไทย

นายชูศักดิ์ ศิรินิล รักษาการหัวหน้าพรรคเพื่อไทย

นายชูศักดิ์ ศิรินิล รักษาการหัวหน้าพรรคเพื่อไทย

อย่างไรก็ตาม หากย้อนไปเมื่อวันที่ 31 ส.ค.66 พรรคเพื่อไทย ได้ยื่นร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. และ ร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. เพื่อบรรจุเข้าสู่วาระการพิจารณา เพื่อเปิดทางให้ผู้เสียหายจากการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐสามารถใช้สิทธิในกระบวนการยุติธรรม โดยการฟ้องคดีเพื่อพิสูจน์ความยุติธรรมได้

"ชูศักดิ์" ให้เหตุผลของการเสนอร่างกฎหมายทั้ง 2 ฉบับว่า กฎหมายดังกล่าวจะทำให้กระบวนการยุติธรรมคุ้มครองผู้เสียหาย ไม่ใช่เพียงแค่ หาก ป.ป.ช.สั่งไม่ฟ้อง หรือ สั่งไม่มีมูลแล้วยุติ หรือ สิ้นสุดเลยโดยผู้เสียหายก็ไม่ได้รับการเยียวยาโดยประการอื่นใด

นอกจากนี้ยังเป็นการเสนอแก้ไขกฎหมายการพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองประกอบคู่กัน เมื่อให้สิทธิผู้เสียหายฟ้องคดีได้เองก็ควรให้สิทธิผู้เสียหายฟ้องคดีต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองได้

นางธิดา ถาวรเศรษฐ อดีตแกนนำ นปช.

นางธิดา ถาวรเศรษฐ อดีตแกนนำ นปช.

นางธิดา ถาวรเศรษฐ อดีตแกนนำ นปช.

ขณะที่ในมุมของ "ธิดา ถาวรเศรษฐ" อดีตแกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ที่ระบุว่า เห็นด้วยกับแนวทางของร่างกฎหมายนิรโทษกรรมฉบับก้าวไกล แต่ก็ยังไม่ทราบถึงความชัดเจนถึงคดีความแบบใด หรือ จะรวมคดี 112 หรือไม่

ขณะที่การนิรโทษกรรมตั้งแต่ปี 49 นั้น “อดีตแกนนำ นปช.” เห็นด้วยและมองว่า เป็นเรื่องที่ถูกต้องซึ่งที่ผ่านมามีคนเสื้อแดงที่ติดคุกหลักพัน และคดียังไม่จบหลักร้อย โดยเป็นคดีตั้งแต่ปี 53 และมีอีกกลุ่มในปี 57

การนิรโทษกรรมเป็นเรื่องที่ดี ขอให้คณะกรรมการที่จะมาพิจารณาทำหน้าที่แบบเอาจริงเอาจัง ไม่ใช่มาทำหลอก ๆ เพราะประชาชนกำลังดูอยู่ บางเรื่องอาจจะหลอกได้แต่เรื่องนี้หลอกไม่ได้ เพราะเป็นเรื่องเดือดร้อนจริง ๆ มีคนติดคุกจริง ตายจริง และที่กำลังจะติดคุกก็กำลังจะมีอีก 

อีกหน้างาน ในด้านกฎหมายที่ก็เดินหน้าคู่ขนานกัน และเริ่มนับหนึ่ง ตามที่ถือว่าเป็นภารกิจเร่งด่วนของรัฐบาล "เศรษฐา" ก็คือ การแก้ไขรัฐธรรมนูญ

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง สะบั้นรัก “ทักษิณ-เฉลิม” ละคร หรือ งอนจริง   

ล่าสุด "นายกฯนิด" เศรษฐา ทวีสิน ลงนามเปลี่ยนตัวบุคคลที่จะร่วมเป็นคณะกรรมการเพื่อพิจารณาศึกษาแนวทางในการทำประชามติ เพื่อแก้ไขปัญหาความเห็นที่แตกต่างในเรื่องรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560  ภายหลังจากที่พรรคก้าวไกล ไม่ส่งตัวแทนเข้าร่วม

สำหรับรายชื่อบุคคลใหม่ที่จะเข้ามาร่วมเป็นคณะกรรมการ ประกอบด้วย นายวุฒิสาร ตันไชย จะเข้ามาเป็นรองประธานกรรมการคนที่ 1 , นายสุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ , นายวิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ , นายชวลิต วิชยสุทธิ์ , นายเจือ ราชสีห์ และ นายกฤช เอื้อวงศ์ เป็นกรรมการ

ขณะที่ บุคคลที่ถูกปรับเปลี่ยน ได้แก่ นายชูศักดิ์ ศิรินิล, นายนพดล ปัทมะ, น.ส.ลิณธิภรณ์ วริณวัชรโรจน์, นายเดชอิศม์ ขาวทอง , นายธนกร วังบุญคงชนะ และ นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ ซึ่งทั้งหมดมีตำแหน่ง ส.ส.

"นายกฯนิด" ให้เหตุผลในการปรับเปลี่ยนตัวบุคคลว่า “สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาท้วงติงมา ก็ต้องฟัง ไม่เกี่ยวกับเรื่องบุคคล แต่เป็นเรื่อง สส.ร่วมเป็นคณะกรรมการไม่ได้

นอกเหนือ จากการปรับเปลี่ยนรายชื่อคณะกรรมการฯ ข้างต้น อีกประเด็นที่ยังไม่จบ คือ การแต่งตั้ง ผบ.ตร.คนใหม่ที่ แม้ว่าจะได้ "บิ๊กต่อ" พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ สุขวิมล เป็น ผบ.ตร.คนที่ 14 แล้ว และล่าสุด พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส หัวหน้าพรรคเสรีรวมไทย ได้ไปยื่นต่อ ป.ป.ช.ให้ตรวจสอบ กต.ร.ที่ลงมติแต่งตั้ง "บิ๊กต่อ" เป็น ผบ.ตร.โดยมีคำถามถึง ลำดับอาวุโส ซึ่งโยงไปถึง "นายกฯนิด" ในฐานะ ประธาน กต.ร.ด้วย

นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี

นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี

นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี

นอกจากสถานการณ์การเมืองที่เริ่มจะระอุ สถานการณ์ฝนตกน้ำท่วมก็ยังน่าเป็นห่วง  "นายกฯนิด" เร่งลงพื้นที่ ภาคอีสานตรวจสถานการณ์น้ำท่วมต่อเนื่อง โดยลงพื้นที่ จ.อุบลราชธานี หลังก่อนหน้านี้เคยเดินทางไปตรวจปัญหาน้ำท่วมที่ จ.ชัยภูมิ และ ขอนแก่น มาแล้ว

พีเรียด "ช่วงฮันนีมูน" ของรัฐบาลเศรษฐา 1 เกือบจะหมดลงแล้ว ด้วยว่าสารพัดปัญหาความเดือดร้อนของชาวบ้าน และแวดวงการเมือง ได้เริ่มถาโถมมาอย่างไม่ขาดสาย

อ่านข่าวอื่น ๆ 

"พิธา" คนการเมืองร่วมรำลึก 47 ปี "6 ตุลา 19"  

"ชูศักดิ์" แนะคิดให้รอบคอบ หวั่น ร่างกม.นิรโทษกรรม สร้างความขัดแย้งรอบใหม่  

"เศรษฐา" ลุยน้ำท่วมอีสาน 6-7 ต.ค.นี้ เร่งเคลียร์รับฝนระลอกใหม่  

"เศรษฐา" ยันตั้งผบ.ตร.ตามกฎหมาย ยังไม่ชัดตั้งทนายสู้   

จับกระแสการเมือง : วันที่ 5 ต.ค.66 รอยร้าวล่องหน "ทักษิณ-เฉลิม" ประกาศแยกทาง 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง