ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

"หัด"ระบาดหนักในเด็ก เร่งรับวัคซีนพื้นฐาน สร้างภูมิคุ้มกันโรค

สังคม
13 พ.ย. 66
13:00
640
Logo Thai PBS
"หัด"ระบาดหนักในเด็ก เร่งรับวัคซีนพื้นฐาน สร้างภูมิคุ้มกันโรค
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)

แม้สถานการณ์โควิด-19 จะคลี่คลายจนกลายเป็นโรคประจำถิ่นแล้ว แต่พบว่าผลพวงของโควิด ส่งผลให้น้อง ๆ หนู ๆ ที่ยังไม่ได้รับวัคซีนพื้นฐานที่จำเป็นกับช่วงวัยในขณะนั้น เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันโรค

ข้อมูลขององค์การอนามัยโลก ระบุว่า ตั้งแต่ 2561 - 2566 พบผู้ป่วยโรคหัด จากทั่วโลกเพิ่มสูงขึ้น ทั้งที่โรคดังกล่าว สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน ในปี 2562 มีผู้ป่วยหัดสูงถึง 541,247 คน และประเทศอินเดีย มีจำนวนผู้ป่วยโรคหัดมากถึง 61,562 คน

และจากการเก็บข้อมูลยังพบว่า ในปี พ.ศ. 2564 พบว่า มีเด็กเกือบ 40 ล้านคน พลาดการได้รับวัคซีนโรคหัด และมีเด็ก 25 ล้านคน พลาดการได้รับวัคซีนเข็มแรก และ เด็กอีก 14.7 ล้านคน พลาดการได้รับวัคซีนเข็มที่สอง

นพ.โสภณ เอี่ยมศิริถาวร รองอธิบดีกรมควบคุมโรค

นพ.โสภณ เอี่ยมศิริถาวร รองอธิบดีกรมควบคุมโรค

นพ.โสภณ เอี่ยมศิริถาวร รองอธิบดีกรมควบคุมโรค

นพ.โสภณ เอี่ยมศิริถาวร รองอธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า แนวโน้มของการได้รับวัคซีนครอบคลุมในเด็กไทยอายุ 1 ปี ลดลง ในปี 2565 พบว่า อัตราการรับวัคซีน MMR (วัคซีนป้องกันโรคหัด (Measles) คางทูม (Mumps) และหัดเยอรมัน (Rubella) )เข็มแรก ลดลงต่ำกว่า 90 % และเมื่อติดตามข้อมูลแบบราย เชคสุขภาพ พบว่า อัตราการรับวัคซีน MMR ทั้ง 13 เขตสุขภาพ ต่ำกว่า 88% โดยเฉพาะพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้

วัคซีน Hib (วัคซีนป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรีย 1 เข็ม ป้องกันได้ 5 โรค คือ คอตีบ บาดทะยัก ไอกรน ตับอักเสบบี เยื่อหุ้มสมองอักเสบ )ลดลงเหลือ 80.9% ส่วนวัคซีน Rota (โรต้าไวรัส) มีแค่ 72.8% จึงทำให้ต้องรณรงค์ให้เด็กที่เป็นกลุ่มเป้าหมายอายุ ต่ำกว่า 5 ปี มารับวัคซีนพื้นฐานในครบ

การระบาดของโควิด-19 ที่ผ่านมาในช่วง 2-3 ปี ที่ผ่านมานี้ ทำให้เด็กกลุ่มเป้าหมายอายุน้อยกว่า 5 ปี ถึงร้อยละ 20 ตกหล่นการรับวัคซีนพื้นฐานตามกำหนด

"หัด"สาเหตุการเสียชีวิตใน"เด็กเล็ก" 

ข้อมูลกองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2566 พบจังหวัดที่มีผู้ป่วยหัดสูงสุด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร 54 คน รองลงมา จ.เชียงใหม่ 29 คน ,อุบลราชธานี 18 คน ,นราธิวาส 17 คน ,ภูเก็ต ,ยโสธร จังหวัดละ 13 คน ,ยะลา 9 คน ,ชุมพร 7 คน และ ตราด 3 คน ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มเด็กอายุระหว่าง 0-4 ปี ถึง 93 คน รองลงมาก อายุ 5-14 ปี 54 คน ,อายุ 25-34 ปี 44 คน และ อายุ 15-24 ปี 39 คน พบในชาย 53.08% และ หญิง 46.92%

สำหรับ โรคหัด (Measles) ถือเป็นโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ ผู้ป่วยจะเกิดผื่นขึ้นตามผิวหนังพร้อมเป็นไข้ร่วมด้วย โดยเกิดจากไวรัสกลุ่มพารามิคโซไวรัส (Paramyxovirus) สามารถแพร่เชื้อและติดต่อกันได้ผ่านทางอากาศหรือการสัมผัสน้ำมูกและน้ำลายของผู้ป่วยโดยตรง

เชื้อไวรัสจะเข้ามาทางระบบทางเดินหายใจก่อนแพร่กระจายไปทั่วร่างกาย โรคหัดถือเป็นโรคติดต่อจากคนสู่คน ส่วนใหญ่มักเกิดในเด็กเล็ก รวมทั้งเป็นหนึ่งในสาเหตุการเสียชีวิตของเด็กแม้จะมีวัคซีนฉีดป้องกันโรคแล้วก็ตาม

วัคซีนรักษาชีวิต "หัด"ใช้ภูมิคุ้มกันหมู่

หน้าที่ของแพทย์ไม่ได้มีแค่รักษาโรค แต่การให้คำแนะ นำและการปฎิบัติตัวก็เป็นภารกิจหนึ่งในการดูแลสุขภาพ โดยเฉพาะหมอเด็กที่ใกล้ชิดกับผู้ปกครองและเด็ก

รศ.(พิเศษ)นพ.ทวี โชติพิทยสุนนท์ ตัวแทนสมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย

รศ.(พิเศษ)นพ.ทวี โชติพิทยสุนนท์ ตัวแทนสมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย

รศ.(พิเศษ)นพ.ทวี โชติพิทยสุนนท์ ตัวแทนสมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย

รศ.นพ.ทวี โชติพิทยสุนนท์ ตัวแทนสมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย กล่าวว่า การรับวัคซีนพื้นฐานไม่มีคำว่าเริ่มต้นใหม่ และช้าเกินไป หากเด็กรายใดที่ได้รับวัคซีนไม่ครบ หรือรับวัคซีนแค่เข็มเดียว ก็สามารถรับวัคซีนต่ออีกเข็มได้ทันที เพราะการรับวัคซีนมีประโยชน์ช่วยรักษาชีวิตและลดการเกิดโรค

หากเปรียบเทียบความรุนแรงระหว่างโรคหัดกับโควิด-19 พบว่า โควิด ติดง่าย แต่ปัจจุบันถูกธรรมชาติบีบตัว ทำให้ความรุนแรงลดลง ขณะที่ความรุนแรงของหัดยังคงเดิม การจะป้องกันโรคหัดได้ จำเป็นต้องสร้างภูมิ คุ้มกันหมู่ โดยการรับวัคซีนให้ได้ 95% ขึ้นไป

การฉีดวัคซีนหัด หากฉีดเพียงคนเดียวก็ไม่สามารถป้องกันได้ทั้งหมด ต้องฉีดในกลุ่มคนหรือคนหมู่มาก ถึงจะช่วยป้องกันได้เหมือนวัคซีน IPD ป้องกันโรคปอดอักเสบ ที่ต้องฉีดให้ได้ 70% ขึ้นไป

หมอเด็กสร้างความเข้าใจวัคซีนพื้นฐานให้ผู้ปกครอง

รศ.นพ.ทวี กล่าวว่า หมอเด็กคือกุญแจสำคัญที่สร้างความเข้าใจ เนื่องจากรับทราบเรื่องการพัฒนา  ความเปลี่ยนแปลงและความปลอดภัยของวัคซีนมาโดยตลอดปกติพบว่า เด็กแรกคลอดได้รับภูมิคุ้มกันที่ถ่ายทอดจากแม่สู่ลูก แต่สำหรับโควิด -19 ที่ผ่านมาพบว่า ในหญิงตั้งครรภ์บางคนไม่ได้รับการฉีดวัคซีนโควิด ทำให้ภูมิคุ้มกันส่วนนี้ไม่ได้ถ่ายทอดสู่ลูก ดังนั้นจึงเตรียมพิจารณาฉีดวัคซีนโควิด -19 ให้กับเด็กเล็กอายุ 6 เดือน

วัคซีนก็มีความสำคัญมากในการป้องกันโรคติดเชื้อ โดยเฉพาะไวรัส สามารถป้องกันและลดความรุนแรงของโรคได้ ทั้งนี้สมาคมโรคติดเชื้อในเด็ก เตรียมออกแนวทางการรับวัคซีนสำหรับเด็กในปี 2567

วัคซีนหลายตัวมีการศึกษาวิจัยและพัฒนา ก้าวหน้ามาตามลำดับ หลังโควิด -19 วัคซีนได้กลายเป็นตัวแปรสำคัญในการรักษาชีวิต หมอเด็กจึงจำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวัคซีน

สำหรับแนวทางการรับวัคซีนสำหรับเด็กในปี 2567 จะมีความใกล้เคียงกับกับแนวทางในปี 2566 ต่างกันในส่วนของวัคซีนเสริม ที่เป็นทางเลือกให้กับพ่อแม่ผู้ปกครอง แต่สำหรับวัคซีนพื้นฐานที่ครอบคลุมตามสิทธิของภาครัฐยังเดิม

ข้อมูลจากสมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย ระบุว่า วัคซีนพื้นฐานที่เด็กต้องได้รับ
แรกเกิด ต้องรับ บีซีจี (BCG), ตับอักเสบบี (HB1)

1 เดือน ต้องรับ ตับอักเสบบี (HB2) เฉพาะรายที่เกิดจากมารดาที่เป็นพาหะของไวรัสตับอักเสบบี

2 เดือน ต้องรับ คอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน-ตับอักเสบบี (DTP-HB1)*, โปลิโอชนิดหยอด (OPV1)

4 เดือน ต้องรับ คอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน-ตับอักเสบบี (DTP-HB2)*, โปลิโอชนิดหยอด (OPV2)
และโปลิโอชนิดฉีด (IPV) 1 เข็ม

6 เดือน ต้องรับ คอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน-ตับอักเสบบี (DTP-HB3)*, โปลิโอชนิดหยอด (OPV3)

9-12 เดือน ต้องรับ หัด-คางทูม-หัดเยอรมัน (MMR1)

1 ปี ต้องรับ ไข้สมองอักเสบเจอี (LAJE1)

1 ปี 6 เดือน ต้องรับ คอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน (DTP4), โปลิโอชนิดหยอด (OPV4)

2 ปี 6 เดือน ต้องรับ หัด-คางทูม-หัดเยอรมัน (MMR2), ไข้สมองอักเสบเจอี (LAJE2)

4 ปี ต้องรับ คอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน (DTP5), โปลิโอชนิดหยอด (OPV5)

11 ปี (นักเรียนหญิง ป.5) ต้องรับ เอชพีวี (HPV1, HPV2) ห่างกันอย่างน้อย 6 เดือน
12 ปี (ป.6) ต้องรับ คอตีบ-บาดทะยัก (dT)

สำหรับวัคซีนพื้นฐาน ถือเป็นวัคซีนที่ช่วยเสริมสร้างภูมิ คุ้มกันให้กับเด็ก ปลอดภัยจากโรคที่สามารถป้องกันได้ และช่วยลดค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลในกรณีเจ็บป่วย

ข่าวที่เกี่ยวข้อง