วันนอนหลับโลก คนไทย 19 ล้านคนเผชิญภาวะ "นอนไม่หลับ"

ไลฟ์สไตล์
15 มี.ค. 67
11:30
888
Logo Thai PBS
วันนอนหลับโลก คนไทย 19 ล้านคนเผชิญภาวะ "นอนไม่หลับ"
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
ถ้าพูดถึงการนอนหลับ หลายคนในปัจจุบันนี้ เคยสังเกตตัวเองกันบ้างไหมว่า แต่ละคืน แต่ละวัน เรานอนกันแบบมีคุณภาพมากพอหรือไม่ การนอนไม่พอ ส่งผลร้ายแรงมากกว่าแค่ง่วง

การนอนหลับถึงเป็นช่วงเวลาสำคัญ และ ถึงขั้นที่ต้องมีวันระลึกถึงที่เรียกว่า "วันนอนหลับโลก" หรือ World Sleep Day อย่างวันนี้ (15 มี.ค.2567) เพื่อให้ผู้คนได้ตระหนัก ถึงการนอนหลับแบบสมดุล ต้นทุนของสุขภาพที่ดี

กลุ่มวัยทำงานควรนอนให้ได้ถึงวันละ 8 ชั่วโมง แต่ถ้ามีอาการ เช่น ตื่นเช้าหงุดหงิด อ่อนเพลีย ไม่อยากทำงาน ง่วงนอน ไม่สดชื่น ปวดหัว ช่วงเวลาหลังตื่นนอนและระหว่างวัน ก็จะมีผลประสิทธิภาพการทำงานที่ไม่ดี 

ภาพประกอบข่าว : นอนหลับช่วงกลางคืนไม่ได้คุณภาพ

ภาพประกอบข่าว : นอนหลับช่วงกลางคืนไม่ได้คุณภาพ

ภาพประกอบข่าว : นอนหลับช่วงกลางคืนไม่ได้คุณภาพ

อาการช่วงกลางคืนที่เราอาจจะไม่รู้ตัว เช่น กรน หยุดหายใจบางช่วง หรือ หายใจแบบเฮือกๆ แขนขากระตุก นอนกัดฟัน นอนละเมอ ทั้ง ละเมอเดิน ละเมอกิน หรือ บางคนก็ละเมอพูด นานวันเข้า การนอนไม่พอ หรือ นอนไม่หลับ ยังผลระยะยาว เกิดโรคภัยร้ายแรงตามมา ส่วนใหญ่จะเป็นการเจ็บป่วยเรื้อรัง ทั้งหมดนี้คือค่าใช้จ่ายมหาศาล ที่เราต้องหาเงินมาดูแลตัวเอง

ถ้าเรื่องแค่ง่วง นอนแล้วก็หาย ก็คงจะไม่เป็นปัญหา แต่จำนวนผู้ป่วยจากการนอนกำลังเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ก็คงจะบอกว่า นี่ไม่ใช่เรื่องเล็กๆ ยกตัวอย่าง กรณีผู้ป่วยเข้ามาตรวจการนอนหลับ หรือ Sleep test ที่โรงพยาบาล ด้วยอาการที่พบว่าหยุดหายใจระหว่างนอนร่วมด้วย ค่าออกซิเจนในเลือดต่ำเหลือร้อยละ 76 ต่างจากค่าปกติ ที่คนทั่วไป ต้องอยู่ที่ร้อยละ 95 - 100 กรณีนี้อยู่ในเกณฑ์อันตราย บวกกับ มีภาวะคาร์บอนไดออกไซด์ คั่งในสมอง

 ภาพประกอบข่าว : การทำ Sleep Test

ภาพประกอบข่าว : การทำ Sleep Test

ภาพประกอบข่าว : การทำ Sleep Test

ก็ต้องเข้าสู่กระบวนการรักษา "โรคหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น" ด้วยเครื่องอัดอากาศแรงดันบวก (CPAP) มาติดที่สมองและร่างกายทดสอบเพื่อประกอบการวินิจฉัย นำไปสู่การประเมินแนวทางรักษา และแนะนำอย่างถูกต้อง และไม่ใช่ว่า อาการแบบนี้จะเพิกเฉยได้ ต้องสังเกตตัวเองว่ามีอาการล้า นอนไม่พอ ง่วงบ่อย ปวดหัวตอนเช้า เป็นเวลานาน ต้องเข้ารับการตรวจเพื่อจะได้หาสาเหตุเจอ

ภาพประกอบข่าว : อาการหลังการตื่น

ภาพประกอบข่าว : อาการหลังการตื่น

ภาพประกอบข่าว : อาการหลังการตื่น

อ่าน : เช็กที่นี่ เบิกค่า "Sleep Test" ผู้ประกันตน "ป่วยหยุดหายใจขณะหลับ"

มีข้อมูลจากกรมสุขภาพจิต พบว่า 3 ใน 4 ประชากรไทย หรือราว 19 ล้านคน กำลังเผชิญกับภาวะนอนไม่หลับโดยที่ ราวๆ ร้อยละ 30 หรือ กว่า 5,700,000 คน นอนหลับยาก ซึ่งกว่าร้อยละ 70 หรือ เกือบ 4,000,000 คน อยู่ในวัยทำงาน

เฉพาะที่ โรงพยาบาลราชวิถี ในแต่ละปีมีผู้ป่วยกลุ่มนี้ มากกว่าปีละ 800 คน และเฉพาะปีนี้ มีจองคิวเข้ารับการตรวจการนอนหลับ หรือ Sleep test คิวเต็ม ล้นยาวไปถึงเดือน พ.ค.2568 แนวโน้มปัญหารุนแรงขึ้น สะท้อนว่านี่คือภัยเงียบ ท่ามกลางกระแสการตื่นตัวรักสุขภาพ

ภาพประกอบข่าว : คนเข้าคิวรับการรักษา

ภาพประกอบข่าว : คนเข้าคิวรับการรักษา

ภาพประกอบข่าว : คนเข้าคิวรับการรักษา

พญ.ศศิกานต์ ภูมิคอนสาร ศูนย์การแพทย์เฉพาะทางด้านโสต ศอ นาสิก รพ.ราชวิถี ชี้ว่า กิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวัน มีผลต่อการนอนอย่างคิดไม่ถึง การเสพข่าวสาร เรื่องราว หรือ โซเชียล ดรามาต่างๆ ที่เราชอบพูดว่าไม่ต้องหลับต้องนอน ขอบตาดำ กำลังเป็นต้นเหตุที่ทำให้คนทุกเพศทุกวัย มีปัญหากับการนอน

สำหรับช่วงเวลาของการนอนที่ดี เด็กเล็กแบบ "เบบี๋" ควรนอน 12-14 ชั่วโมง เด็กช่วงวัยอนุบาล อาจจะต้องนอน 10-12 ชั่วโมง รวมนอนกลางวันด้วย วัยรุ่น วัยทำงาน และสูงวัย ควรนอนให้ได้ 7-9 ชั่วโมง เช่นกัน

การฝึกสุขลักษณะที่ดีในการนอน เช่น เข้านอน-ตื่นนอน ให้ตรงเวลาในทุกๆ วัน และควรเริ่มตั้งแต่เด็ก รวมถึงไม่ควรทานอาหารก่อนนอน อย่างน้อย 3-4 ชั่วโมง หลีกเลี่ยงกาเฟอีนจากเครื่องดื่ม 

ภาพประกอบข่าว : การนอนหลับของทารก

ภาพประกอบข่าว : การนอนหลับของทารก

ภาพประกอบข่าว : การนอนหลับของทารก

อ่าน : แพทย์ ชี้ Sleep Test เหมาะกับผู้มีปัญหาคุณภาพการนอนหลับ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง