ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

เตือนคนไทยเที่ยวญี่ปุ่น "โรคหัด" ระบาดนครโอซากา

สังคม
18 มี.ค. 67
13:27
13,279
Logo Thai PBS
เตือนคนไทยเที่ยวญี่ปุ่น "โรคหัด" ระบาดนครโอซากา
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
สถานกงสุลใหญ่ ณ นครโอซากา เตือนคนไทยไปเที่ยวญี่ปุ่นหลังพบโรคหัดระบาดป่วยแล้ว 8 คน เบื้องต้นมีรายงานพบผู้โดยสารที่มาบนเที่ยวบิน EY 830 จากกรุงอาบูดาบี-นครโอซากา ติดเชื้อและเขาประเทศช่วงปลายก.พ.-1 มี.ค.

เมื่อวันที่ 17 มี.ค.2567 ประกาศเตือนผ่านทางหน้าเพจเฟซบุ๊ก สถานกงสุลใหญ่ ณ นครโอซากา タイ王国大阪総領事館 การแพร่ระบาดของโรคหัด (Measles) ในภูมิภาคคันไซ

ข้อมูลระบุว่า นครโอซากา ออกคำเตือนเรื่องการแพร่ระบาดของโรคหัด (Measles) สถานกงสุลใหญ่ ณ นครโอซากาขอประชาสัมพันธ์ให้ทราบ โดยระบุว่า ญี่ปุ่นสามารถทำให้โรคหัดภายในประเทศหมดไปตั้งแต่ปี 2558

อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 1 มี.ค.67 ทางการญี่ปุ่นพบว่า มีผู้โดยสารสายการบิน Etihad เที่ยวบิน EY 830 จากกรุงอาบูดาบี สู่นครโอซากา เมื่อวันที่ 24 ก.พ.67 ติดเชื้อดังกล่าว

จึงมีประกาศคำเตือนให้ผู้โดยสารเที่ยวบินดังกล่าว ผู้เดินทางไปสนามบินคันไซ ผู้โดยสารรถไฟสาย Nankai Electric Railway และผู้ที่ใช้บริการห้าง Super Center TRIAL Rinku Town Store ในวันดังกล่าว เฝ้าสังเกตตนเองหากมีอาการ เช่น ไข้สูงกว่า 39 องศา ไอ น้ำมูกไหลและผื่น ให้รีบพบแพทย์โดยสวมหน้ากากอนามัยและหลีกเลี่ยงการใช้ระบบขนส่งสาธารณะ

สนามบินคันไซ นครโอซากา ญี่ปุ่น พบมีนักท่องเที่ยวเดินทางมากับสายการบินหนึ่งติดเชื้อหัด

สนามบินคันไซ นครโอซากา ญี่ปุ่น พบมีนักท่องเที่ยวเดินทางมากับสายการบินหนึ่งติดเชื้อหัด

สนามบินคันไซ นครโอซากา ญี่ปุ่น พบมีนักท่องเที่ยวเดินทางมากับสายการบินหนึ่งติดเชื้อหัด

พบโรคหัดในญี่ปุ่นระบาดป่วยแล้ว 8 คน 

นอกจากนี้ยังระบุว่า ล่าสุดนครโอซากายืนยันว่ามีผู้ติดเชื้อโรคหัดในจังหวัด รวม 2 คน และสื่อญี่ปุ่นรายงานยอดรวมผู้ติดเชื้อหัดในญี่ปุ่นรวม 8 คน ทั้งในภูมิภาคคันไซและภูมิภาคอื่น ๆ เช่น นครโอซากา ในจังหวัดเกียวโต จังหวัด ไอจิ จังหวัดกิฟุ และกรุงโตเกียว ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการแพร่ระบาดที่เริ่มขยายวงออกไปเรื่อยๆ

ทั้งนี้เมื่อปี 2559 มีการแพร่ระบาดของโรคดังกล่าวในญี่ปุ่นโดยมีผู้ติดเชื้อ 744 คน และในกรณีที่มีความรุนแรง อาจส่งผลให้เสียชีวิตได้ แต่สามารถป้องกันได้ด้วยการรับวัคซีนให้ครบถ้วน

ขณะที่กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขให้ข้อมูลโรคหัดว่า โดยทั่วไปแล้ว จะเกิดอาการภายใน 14 วันหลังจากได้รับเชื้อ ดังนี้ (1) อาการเป็นไข้ตัวร้อน ในระยะเริ่มแรกจะมีอาการคล้ายเป็นไข้หวัด มักตัวร้อนและอาจมีไข้ขึ้นสูงถึง 40 องศา ซึ่งจะเริ่มเป็นไข้ประมาณ 10-12 วันหลังได้รับเชื้อ

นอกจากนี้ ผู้ป่วยยังมีอาการน้ำมูกไหล ไอบ่อย เจ็บคอ ตาเยิ้มแดง และตุ่มแดงที่มีสีขาวเล็ก ๆ ตรงกลางขึ้นในกระพุ้งแก้ม (2) อาการผื่นขึ้นตามร่างกาย เมื่อผู้ป่วยออกอาการได้ 3-5 วัน จะเกิดผื่นขึ้นตามร่างกาย ซึ่งคล้ายผื่นคันตามผิวหนัง

โดยเกิดผื่นแดงหรือสีแดงออกน้ำตาลขึ้นเป็นจุดบนหน้าผากก่อน แล้วค่อยแพร่กระจายมาที่ใบหน้าและลำคอ ภายใน 3 วันจะเกิดผื่นกระจายมาถึงมือและเท้า อาการผื่นคันนี้จะปรากฏอยู่ 3-5 วันและหายไปเอง พร้อมทั้งมีคำแนะนำเรื่องอาการและโรคหัด

4.สถานกงสุลใหญ่ฯ ขอแนะนำให้ประชาชนไทยสวมหน้ากากอนามัย ขณะใช้บริการขนส่งสาธารณะ หรืออยู่ในที่ชุมชน หมั่นรักษาสุขอนามัยโดยเฉพาะการล้างมือ สังเกตอาการของตนเอง และให้พบแพทย์เพื่อขอรับคำแนะนำในการรับวัคซีน หรือรับการรักษาเมื่อมีอาการด้วย

อ่านข่าว สธ.เปิดตัว "Health Rider" เดลิเวอรี "ยา" ถึงบ้าน

รู้จักอาการโรคหัด

ข้อมูลจากกรมควบคุมโรค ระบุว่า โรคหัด (Measles) คือ โรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ ผู้ป่วยจะเกิดผื่นขึ้นตามผิวหนังพร้อมเป็นไข้ร่วมด้วย โดยโรคหัดเกิดจากไวรัสกลุ่มพารามิคโซไวรัส (Paramyxovirus) สามารถแพร่เชื้อและติดต่อกันได้ผ่านทางอากาศหรือการสัมผัสน้ำมูกและน้ำลายของผู้ป่วยโดยตรง

เชื้อไวรัสจะเข้ามาทางระบบทางเดินหายใจก่อนแพร่กระจายไปทั่วร่างกาย โรคหัดถือเป็นโรคติดต่อจากคนสู่คน โดยไม่พบการแพร่เชื้อดังกล่าวในสัตว์ ส่วนใหญ่มักเกิดในเด็กเล็ก รวมทั้งเป็นหนึ่งในสาเหตุการเสียชีวิตของเด็กแม้จะมีวัคซีนฉีดป้องกันโรคแล้วก็ตาม

จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลก (WHO) พบผู้เสียชีวิตด้วยโรคหัดจากทั่วโลก 134,200 คน คิดเป็นประมาณ 367 คนต่อวัน หรือ 15 คนต่อชั่วโมง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี

สำหรับสถานการณ์โรคหัดในประเทศไทย ตามรายงานของสำนักระบาดวิทยา กระทรวงสาธารณสุขปี 2555-2556 พบว่ามีจำนวนผู้ป่วยโรคหัดรวมทั้งสิ้น 5,207 คน และ 2,646 คน ในแต่ละปีตามลำดับ

โดยเด็กอายุ 9 เดือน-7 ปี จัดเป็นกลุ่มช่วงอายุที่พบผู้ป่วยโรคนี้มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 37.03 และ 25.85 ของแต่ละปี ทั้งนี้ยังพบผู้ป่วยที่อายุต่ำกว่า 9 เดือน โดยในปี 2555 พบ 19 คน และในปี 2556 พบ 9 คน

 

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง