แพทย์เตือนควรเปลี่ยน "กางเกงใน" ทุกครึ่งปี เพื่อสุขอนามัยที่ดีในร่มผ้า

ไลฟ์สไตล์
31 มี.ค. 67
08:00
6,903
Logo Thai PBS
แพทย์เตือนควรเปลี่ยน "กางเกงใน" ทุกครึ่งปี เพื่อสุขอนามัยที่ดีในร่มผ้า
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
ไม่ขาด ไม่ยาน ไม่ย้วย ก็ไม่ค่อยจะอยากเปลี่ยน แล้วถึงจะขาด จะยาน จะย้วย ก็อยู่ข้างในไม่มีใครเห็น นี่แหละเหตุผลที่ใครหลายๆ คนไม่อยากจะเปลี่ยน "กางเกงใน" ไม่ว่าจะชายหรือหญิง จนแพทย์ต้องเตือน ควรเปลี่ยนกางเกงในใหม่ทุกๆ 6 เดือน เพื่อสุขอนามัยใต้ร่มผ้าที่ดี

"กางเกงใน" อยู่ได้นานแค่ไหน ?

คนเราจะมี "กางเกงใน" มากแค่ไหน ก็คงไม่มากไปกว่าเสื้อผ้าในตู้แน่นอน นั่นก็หมายถึงความถี่ที่กางเกงใน 1 ตัวจะถูกวนมาใส่ซ้ำๆ เรื่อยๆ ก็ย่อมมีมากกว่า อายุการใช้งานของกางเกงในจะขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น

  • เนื้อผ้าที่ใช้ ถ้าทำจากวัสดุคุณภาพสูงจะมีอายุการใช้งานยาวนานกว่าชุดชั้นในที่ทำจากวัสดุคุณภาพต่ำ
  • ความถี่ในการใช้งาน กางเกงในที่ใส่ไม่บ่อยจะมีอายุการใช้งานนานกว่ากางเกงในที่ใส่ทุกวัน
  • วิธีดูแลในแต่ละวันจะส่งผลต่ออายุการใช้งานอีกด้วย
ภาพประกอบข่าว

ภาพประกอบข่าว

ภาพประกอบข่าว

รู้ได้ยังไงต้องเปลี่ยน "กางเกงใน" แล้ว ? 

ต่อให้ดูแลดีแค่ไหน แต่ถ้ากางเกงในเสื่อมสภาพ ก็ควรทิ้ง! ข้อเท็จจริงนี้ไม่ได้ใช้เฉพาะคุณผู้หญิงเท่านั้น แต่คุณผู้ชายทั้งหลายก็ต้องปฏิบัติเช่นกัน และนี่คือสัญญาณบ่งชี้ว่ากางเกงในตัวโปรดที่ชอบใส่อยู่นั้น ถึงเวลาต้องบอกลากันแล้วหรือยัง

  • มีรูและรอยฉีกขาด รูเล็กๆ นำพาไปสู่รอยฉีกขาดที่ใหญ่ขึ้น และอาจเสียดสีผิวหนัง ทำให้เป็นรอยถลอก รอยดำ เป็นแผลผื่นคันได้ 
  • สีซีด สีกางเกงในอาจซีดจางได้เมื่อใช้ไปสักระยะหนึ่ง เนื่องจากซักและตากแดดเป็นประจำ และนั่นก็เป็นสัญญาณต้องเปลี่ยนกางเกงในตัวเก่าได้แล้ว 
  • ย้วย ยาน หย่อน พอใส่ไปนานๆ ยางยืดกางเกงในก็เสื่อมสภาพ คนใส่ก็จะรู้สึกไม่สบายตัว ใส่แล้วไม่กระชับ 
  • กลิ่น แม้จะซักบ่อยๆ แต่กางเกงในก็อาจมีกลิ่นไม่พึงประสงค์ได้เมื่อเวลาผ่านไป หากกางเกงในที่ใช้อยู่มีกลิ่นเหม็นหลังจากซัก ก็ถึงเวลาที่ต้องเปลี่ยนแล้ว
ภาพประกอบข่าว

ภาพประกอบข่าว

ภาพประกอบข่าว

เมื่อไหร่ที่ควรเปลี่ยน "กางเกงใน" ?

แม้ว่าจะไม่มีกฎที่ตายตัวว่าต้องเปลี่ยนกางเกงในบ่อยแค่ไหน

แต่ผู้เชี่ยวชาญก็แนะนำให้เปลี่ยนกางเกงในทุกๆ 6 เดือน

หรือถ้ากางเกงในมีรอยชำรุดก่อน 6 เดือน ก็ต้องเปลี่ยนใหม่ให้เร็วกว่านี้ ในทำนองเดียวกัน หากใส่แล้วรู้สึกไม่สบายตัว ระคายเคืองผิวหนัง ก็ต้องเปลี่ยนอยู่ดี เพราะกางเกงในที่เก่าจะเป็นแหล่งสะสมแบคทีเรีย แม้จะซักเป็นประจำก็ตาม แต่ก็มีโอกาสที่เชื้อโรคตัวจิ๋วจะฝังตัวในเนื้อผ้าได้ และนำไปสู่ความเจ็บป่วยต่างๆ ได้ เช่น การติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ การติดเชื้อรา ผิวหนังเกิดอาการระคายเคือง

ภาพประกอบข่าว

ภาพประกอบข่าว

ภาพประกอบข่าว

ฟิลิป เทียร์โน ศาสตราจารย์ด้านจุลชีววิทยาและพยาธิวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยนิวยอร์ก อธิบายว่าชุดชั้นในที่สวมใส่อยู่นั้น มีโอกาสที่เชื้อแบคทีเรีย E. coli ที่มักปะปนในอุจจาระ จะสะสมอยู่ที่เนื้อผ้าได้ ต่อให้จะพยายามซักกางเกงในสะอาดแค่ไหนก็ตาม เทียร์โนยืนยันว่า เราไม่สามารถกำจัดมันออกไปได้ทั้งหมด 

เทคนิคการทำความสะอาด "กางเกงใน"

การซักและการตากแห้งเป็นปัจจัยสำคัญ 2 ประการในการยืดอายุการใช้งานและคุณภาพของกางเกงใน ทุกครั้งที่ซักชุดชั้นใน ทั้งเสื้อใน กางเกงใน ควรแยกใส่ถุงตาข่าย ซักแยกกับเสื้อผ้า นอกจากนั้นควรใข้น้ำยาซักเฉพาะชุดชั้นใน โหมดการซักก็เปลี่ยนเป็นซักแบบอ่อนโยน และซักด้วยน้ำเย็น เพราะน้ำร้อนอาจทำให้ยางยืดเสื่อมได้ เมื่อซักเสร็จให้บิดหมาดๆ แล้วตากในที่โล่งแจ้ง ลมพัด อย่าใช้เครื่องอบเด็ดขาด เพราะเนื้อหาอาจหดได้ และที่สำคัญหลีกเลี่ยงการใช้น้ำยาปรับผ้านุ่มหรือน้ำยาฟอกขาว เพราะเป็นสารเคมีทำให้ผ้าเสื่อมคุณภาพไวขึ้น

ภาพประกอบข่าว

ภาพประกอบข่าว

ภาพประกอบข่าว

เมื่อชุดชั้นในที่ตากแห้งดีแล้ว ให้นำมาพับเก็บในตู้สำหรับชุดชั้นใน อย่าวางทับๆ กันเด็ดขาดเพราะจะทำให้ทรงกางเกงในเสีย แต่ควรพับให้เรียบร้อย

  • วางกางเกงในบนพื้นผิวเรียบ
  • พับเป้าขึ้นไปด้านบนของขอบเอว
  • พับด้านซ้ายของกางเกงในเข้ากึ่งกลาง ทำเช่นเดียวกับด้านขวา
  • จากนั้นม้วนให้เป็นรูปทรงทรงกระบอก
ภาพประกอบข่าว

ภาพประกอบข่าว

ภาพประกอบข่าว

จัดการยังไงกับ "กางเกงใน" เก่า ?

เมื่อรู้แล้วว่าต้องซื้อกางเกงในใหม่ถี่แค่ไหน ก็เท่ากับต้องทิ้งกางเกงในเก่าถี่เท่านั้น "การทิ้งลงถังขยะ" เป็นวิธีที่ง่ายที่สุดก็จริง แต่ไม่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเอาเสียเลย สิ่งทออาจต้องใช้เวลานานถึง 30 ปีในการสลายตัวอย่างสมบูรณ์ถ้าถูกนำไปฝังกลบ วิธีที่ดีที่สุดสำหรับกางเกงในเก่าคือ บริจาคให้กับองค์กรที่รีไซเคิลสิ่งทอ โดยนำใส่ถุงขยะแยกทิ้งในถังขยะสำหรับรีไซเคิล กางเกงในเก่าจะถูกนำไปผลิตเป็นผลิตภัณฑ์อื่นๆ เช่น เชือกจูงสุนัข หรือสามารถแปรรูปเป็นเชื้อเพลิงถ่านหินได้ 

อ่านข่าวอื่น :

อย.เตือนดารา-อินฟลูฯ-แพทย์ อย่ารีวิวอาหารเสริมอ้างรักษาโรค

จำคุก 25 ปี "แซม แบงก์แมน-ฟรายด์" อดีตราชาคริปโตฯ ฐานฉ้อโกง 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง