วิกฤต "ปะการังฟอกขาว" ในยุคทะเลเดือด

Logo Thai PBS
วิกฤต "ปะการังฟอกขาว" ในยุคทะเลเดือด
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
"อ.ธรณ์" ชี้น้ำทะเลมีอุณหภูมิสูง ส่งผลต่อปะการังฟอกขาว แบ่งเป็น 4 ระดับ ปะการังฟอกขาวทะเลไทย ขณะที่กว่า 50 ประเทศกำลังเผชิญปัญหา หากฝนตกต่อเนื่องจะช่วยลดความรุนแรงได้

การปล่อยก๊าซเรือนกระจกมาเป็นเวลาอันยาวนาน ซึ่งส่งผลให้อุณหภูมิสูงขึ้น และเกิดสภาพอากาศแปรปรวน (climate change) 

จากข้อมูลปี 2023 ระบุว่า โลกมีอุณหภูมิร้อนกว่ายุคก่อนปฏิวัติอุตสาหกรรมประมาณ 1.48 องศาเซลเซียส

ขณะที่อุณหภูมิน้ำทะเลสูงสุดเช่นกัน เมื่อน้ำร้อนก็ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศ ปะการัง ก็ได้รับผลกระทบเช่นกัน ทำให้เกิดปะการังฟอกขาว องค์การบริหารมหาสมุทรและชั้นบรรยากาศแห่งชาติ (National Oceanic and Atmospheric Administration) หรือ NOAA ได้ประกาศว่าเป็นปะการังฟอกขาวครั้งที่ใหญ่ที่สุด เป็นครั้งที่ 4 ในประวัติศาสตร์

สำหรับปะการังฟอกขาว เป็นสภาวะที่ปะการังสูญเสียสาหร่ายเซลล์เดียวที่อาศัยอยู่ภายในเนื้อเยื่อ ทำให้ปะการังอ่อนแอเพราะได้รับสารอาหารไม่เพียงพอและปะการังอาจตายไปในที่สุดถ้าหากไม่สามารถทนต่อสภาวะนี้ได้

อ่านข่าว : โลกเดือด! อุณหภูมิไทยแตะ 43 องศาฯ ปะการังฟอกขาว

facebook :  Thon Thamrongnawasawat

facebook : Thon Thamrongnawasawat

facebook : Thon Thamrongnawasawat

4 ระดับ "ปะการังฟอกขาว"

ล่าสุดวันนี้ (4 พ.ค.2567) ผศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ นักวิชาการด้านทะเลและสิ่งแวดล้อม และอาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เฟซบุ๊ก Thon Thamrongnawasawat  ระบุว่า ปะการังในทะเลไทยกำลังฟอกขาวรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ปะการังจะแสดงอาการผิดปรกติเมื่อน้ำร้อนเกิน 30.5-31 องศาฯ ระยะเวลาเร็วช้าขึ้นกับว่าน้ำร้อนกว่าเส้นวิกฤตแค่ไหน

น้ำทะเลตลอดเดือนเมษายน ร้อนเกินวิกฤตทั้งกลางวันและกลางคืน ซึ่งปะการังแต่ละชนิดทนร้อนไม่เท่ากัน

เมื่อน้ำร้อนจัด เกิดความผิดปรกติ ปะการังเริ่มปล่อยตัวช่วยออกไปจากเนื้อเยื่อ ซูแซนเทลลีทำให้ปะการังมีสีสัน เมื่อปล่อยออกไป ปะการังนอกจากอดได้พลังงาน ยังมีสีซีดจางลง ตามขั้นตอนต่อไปนี้

- เลเวลหนึ่ง ปะการังมีสีซีดจาง บอกว่าแย่แล้ว เริ่มปล่อยซูแซนเทลลีแล้วนะ
- เลเวลสอง สีเริ่มเปลี่ยนไป กลายเป็นสีแปลกๆ สวยดีแต่แย่หนัก ใกล้เข้าห้องไอซียู
- เลเวลสาม กลายเป็นสีขาว ผู้ช่วยโดนเลย์ออฟหมดแล้ว ปี๊ป่อมารับ ปะการังเข้าห้องไอซียู ตอนนี้ต้องขึ้นกับโชคชะตาว่าฝนจะตกน้ำจะเย็นลงไหม

หากฟ้าทะเลเป็นใจ ปะการังอาจฟื้นกลับมา รับผู้ช่วยที่มีอยู่ในน้ำอยู่แล้ว ให้กลับมาทำงานในเนื้อเยื่อ ปะการังอาจฟื้นได้

- เลเวลสี่ เผาจริง ตายแล้วตายลับ น้ำจะร้อนจะเย็น ฉันก็ไปสวรรค์แล้ว
อย่างไรก็ตาม ปะการังอาจตายเพียงบางส่วน เช่นในภาพ หากน้ำเย็นลงทัน ปะการังส่วนอื่นๆ ยังรอด ตัวปะการังอาจค่อยๆ ลามมา หรือแม้แต่ตายทั้งก้อน ยังเป็นฐานให้สัตว์อื่นลงเกาะ รวมถึงลูกปะการังเกิดใหม่

แต่ถ้าทะเลเดือดรุนแรง พ่อแม่ตายเยอะ ลูกก็เหลือน้อย

ทุกอย่างพัวพันเป็นลูกโซ่ โลกยิ่งร้อน คนยังคงซ้ำเติมทะเล ปะการังในโลกจะตกอยู่ในภาวะวิกฤต

การศึกษาล่าสุดพบว่า หากโลกร้อนเกิน 1.5 องศา ปะการัง 99% ในโลกอาจหมดไป (world economic forum)

ปีที่แล้ว โลกร้อนขึ้น 1.48 องศา ซึ่งอาจเหลือเวลาเพียง 5-6 ปี ที่จะหยุดโลกไม่ให้ร้อนเกิน 1.5 องศาฯ

facebook : Thon Thamrongnawasawat

facebook : Thon Thamrongnawasawat

facebook : Thon Thamrongnawasawat

ทะเลร้อน ปะการังฟอกขาวยังไม่จบ

ผศ.ดร.ธรณ์ เปิดเผยภาพผลสำรวจ แนวปะการัง จ.ตราด 8 แห่ง พื้นที่หมู่เกาะหมาก 6 แห่ง-เกาะผี เกาะขาม เกาะกระดาด เกาะหมากตะวันตกเฉียงเหนือ ตะวันออกเฉียงเหนือ และทางใต้หมู่เกาะกูด 2 แห่ง–เกาะแรดและแนวปะการังกลางน้ำ ผ่านเฟซบุ๊ก Thon Thamrongnawasawat พบว่าสถานการณ์ฟอกขาวยังไม่จบ ทะเลยังร้อนอยู่ โดยระบุเป็นความเสี่ยง 3 ระดับ ดังนี้

- เสี่ยงมาก เป็นแนวปะการังติดฝั่ง เช่น รอบๆ เกาะหมาก เกาะกระดาด เกาะขามบริเวณนี้น้ำตื้น ไหลเวียนไม่ค่อยดี น้ำร้อนและโดนแดดเยอะ ยังเป็นเขตฟอกขาวซ้ำซ้อน ส่วนหัวตายตามที่เคยเล่าไว้ ปะการังมีชีวิตพบเฉพาะด้านข้างและกำลังฟอกขาวตรงขอบแนวน้ำลึกหน่อย ปะการังมีชีวิตทั้งก้อน แต่ด้วยน้ำที่ร้อนจัด ทำให้ส่วนใหญ่เปลี่ยนสี และบางส่วนเริ่มฟอกจนเป็นสีขาวทั้งก้อน

facebook : Thon Thamrongnawasawat

facebook : Thon Thamrongnawasawat

facebook : Thon Thamrongnawasawat

- เสี่ยงปานกลาง เกาะแรด อยู่ลึกกว่า น้ำไหลไปมาได้ แต่มีปะการังเขากวางที่ไม่ค่อยทนต่อการฟอกขาว อีกทั้งยังมีการท่องเที่ยว

- เสี่ยงน้อย เกาะผี น้ำไหลเวียนดี น้ำลึก ฟอกขาวแค่บางชนิด การท่องเที่ยวควบคุมดี

อย่างไรก็ตาม ปะการังทนมาจนใกล้ถึงลิมิต หากน้ำร้อนต่อไปอีก 1-3 สัปดาห์ เราจะเห็นความเปลี่ยนแปลงอย่างมาก

สำหรับปะการังที่เสี่ยงสูงจะรอดยากขึ้น พวกเสี่ยงปานกลางอาจมีปะการังบางกลุ่มตาย ในขณะที่เสี่ยงน้อยยังพอไหว แต่สภาพจะโทรมลงกว่านี้

อ่านข่าว : NOAA ประกาศโลกเผชิญภาวะ "ปะการังฟอกขาวครั้งใหญ่" รอบที่ 4

ผศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์  ภาพ : คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ผศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ ภาพ : คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ผศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ ภาพ : คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

54 ประเทศทั่วโลกเผชิญปัญหาปะการังฟอกขาว

ผศ.ดร.ธรณ์ เปิดเผยว่า ปะการังฟอกขาวเกิดขึ้นมาหลายครั้ง ซึ่งประวัติศาสตร์มีอยู่ 4 ครั้งเท่านั้นซึ่งครั้งนี้เป็นครั้งที่ 4 และมี 54 กว่าประเทศ ใน 3 มหาสมุทร ทั้ง แปซิฟิก แอตแลนติก อินเดีย ที่กำลังเผชิญกับปะการังฟอกขาว

บางประเทศเกิดขึ้นไปแล้ว บางประเทศกำลังเริ่มจะเกิดอย่างรุนแรง รวมถึงประเทศไทยด้วย

facebook : Thon Thamrongnawasawat

facebook : Thon Thamrongnawasawat

facebook : Thon Thamrongnawasawat

เช่น ทะเลฝั่งอ่าวไทย หาดเจ้าหลาว จ.จันทบุรี เกาะช้าง เกาะหมาก เกาะกระดาด จ.ตราด เกิดปะการังฟอกขาว 30-50% บางพื้นที่ เกิน 50% ถ้าปัญหาไม่รุนแรงต่อเนื่อง ปะการังฟอกขาวก็อาจจะฟื้นได้ โดยปะการังติดฝั่ง ได้รับผลกระทบสูงสุด เพราะน้ำตื้นและร้อน

ล่าสุด เดือน พ.ค.อุณหภูมิน้ำทะเลสูงถึง 34-35 องศาฯ ถือว่าร้อนที่สุดตั้งแต่มีการบันทึกมา และถ้ายังร้อนต่อเนื่องอีกประมาณ 10 วัน โอกาสที่ปะการังฟอกขาวไปแล้วกลับมาฟื้นแทบจะเป็นไปไม่ได้ ทั้งนี้ระยะเวลาจะขึ้นอยู่กับปะการังแต่ละชนิด ซึ่งเมื่อถึงเวลานั้นจะส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศ สัตว์น้ำ ไม่เว้นแต่มนุษย์ด้วย

ผศ.ดร.ธรณ์ ยังกล่าวว่า ถ้าฝนเริ่มตก และตกอย่างต่อเนื่องจะทำให้อุณหภูมิน้ำทะเลลดลง

ถ้าฝนตกต่อเนื่อง ทำให้อุณหภูมิน้ำทะเลลดเหลือ 29-30 องศาฯ อาจจะมีโอกาสรอดได้

ผศ.ดร.ธรณ์ ระบุว่า ถึงแม้ปรากฏการณ์เอลนีโญจะจบเดือนพฤษาคมนี้ แต่ผลกระทบยังไม่หมดยังส่งผลกระทบต่ออีก 1-2 เดือน

อ่านข่าว : 

ทะเลอ่าวไทยอุ่นขึ้น 1 องศาฯ จับตา 3 เดือนเสี่ยงปะการังฟอกขาว

สภาพอากาศวันนี้ ทั่วไทย อากาศร้อนถึงร้อนจัด ระวังฝนฟ้าคะนองลมกระโชกแรง

ข่าวที่เกี่ยวข้อง