ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

ก.อุตฯ ยกระดับข้าว-โคเนื้อ หวังสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ 1.1 พันล้าน

เศรษฐกิจ
2 พ.ค. 68
16:33
92
Logo Thai PBS
ก.อุตฯ ยกระดับข้าว-โคเนื้อ หวังสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ 1.1 พันล้าน
อ่านให้ฟัง
03:52อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
ก.อุตฯ ชง ครม. ไฟเขียวเดินหน้ายกระดับข้าว-โคเนื้อ สนุกไรซ์พลัส-บีฟวัลเลย์ ทุ่ม 113 ล้าน หวังสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ 1.1 พันล้าน

วันนี้ ( 2 พ.ค.2568) นายณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า คณะรัฐมนตรีได้มีมติรับทราบและเห็นชอบในหลักการโครงการที่เป็นข้อเสนอของภาคเอกชน (กรอ.) ซึ่งสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติรวบรวมเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 2 ได้แก่ สกลนคร นครพนม และมุกดาหาร หรือที่เรียกกันในชื่อ กลุ่มจังหวัดสนุก

นายณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม

นายณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม

นายณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม

โดยกระทรวงอุตสาหกรรมได้เสนอ 2 โครงการสำคัญ ได้แก่ โครงการสนุกไรซ์พลัส SNUK RICE PLUS  ใช้งบ 61.4 ล้านบาท เป้าหมายหลัก คือ ยกระดับอุตสาหกรรมแปรรูปข้าวในพื้นที่ภาคอีสาน ให้ทันสมัยพร้อมส่งเสริมกระบวนการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อแก้ปัญหาเผาตอซังข้าวหลังเก็บเกี่ยว ภายใต้แนวคิด SNUK Rice Model: พัฒนา 100 คน 110 กิจการ 150 ผลิตภัณฑ์ และสร้างโมเดลต้นแบบ 10 กิจการ

ส่วนโครงการบีฟวัลเลย์ Beef Valley เป็นการยกระดับอุตสาหกรรมแปรรูปโคเนื้อ ใช้งบ 52 ล้านบาท เน้นยกระดับอุตสาหกรรมโคเนื้อในกลุ่มจังหวัดสนุกให้กลายเป็นศูนย์กลางการผลิตและแปรรูปโคเนื้อที่มีมาตรฐานระดับโลก มีเป้าหมายสำคัญในการพัฒนาคุณภาพเนื้อโคในทุกมิติ ตั้งแต่สายพันธุ์ วิธีการเลี้ยง การจัดการหลังการเชือด และการแปรรูป พัฒนาอุตสาหกรรมแปรรูปโคเนื้อเน้นเป็นคนรุ่นใหม่

มีผู้ประกอบการในพื้นที่ 200 คน 130 กิจการ 130 ผลิตภัณฑ์ และสร้างโมเดลต้นแบบ 3 กิจการ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางแข่งขันทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งทั้ง 2 โครงการใช้งบ 113.4 ล้านบาท คาดสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจสูงถึง 1,134 ล้านบาท โดยกระทรวงอุตสาหกรรมจะบรรจุโครงการดังกล่าวในแผนปฏิบัติราชการประจำปีของหน่วยงาน และขอรับจัดสรรงบประมาณตามขั้นตอนต่อไป

ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวอีกว่า ทั้งสองโครงการเป็นต้นแบบของการพัฒนาเกษตรอุตสาหกรรม ด้านการปฏิรูปอุตสาหกรรมสู่เศรษฐกิจยุคใหม่ ในการเสริมความแกร่งของห่วงโซ่อุปทานและการช่วยเหลือเอสเอ็มอี มาจากการวิเคราะห์ปัญหา (pain point) และเป็นความต้องการของภาคธุรกิจผ่านการประชุม กรอ. และการรับฟังความเห็นของภาคเอกชนในพื้นที่ ก่อนเสนอ ครม.รับทราบและเห็นชอบโครงการทั้งสอง

นอกจากนี้ กระทรวงอุตสาหกรรมยังให้ความสำคัญกับการพัฒนาทักษะบุคลากร และส่งเสริมการเข้าถึงแหล่งเงินทุนสำหรับผู้ประกอบการที่มีศักยภาพที่ต้องการเข้าร่วมพัฒนาในโครงการ ให้สามารถขอสินเชื่อภายใต้กองทุนเอสเอ็มอีตามแนวประชารัฐ มาเป็นเงินทุนในการพัฒนาธุรกิจ เพื่อให้เศรษฐกิจของกลุ่มจังหวัดสนุกเติบโตอย่างยั่งยืนในระยะ

อ่านข่าว:

 แก้ปาล์มราคาร่วง “คน.”เคาะ โรงสกัดฯ รับซื้อไม่ต่ำ 5 บาท/กก.

ระส่ำ ราคา“ปาล์มร่วง” ชาวสวนร้องขอ 5.50บ/กก. ชี้ต้นทุนพุ่งแซงรายรับ

เอกชน ถก รัฐ ดันเกษตรไทย ฝ่าวิกฤตสงครามการค้า เสนอ 8 ทางออกเร่งด่วน

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง