ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

ปภ.ทดสอบเตือนภัย Cell Broadcast ราบรื่น ครั้งที่ 2 วันที่ 7 พ.ค.

สังคม
2 พ.ค. 68
16:38
215
Logo Thai PBS
ปภ.ทดสอบเตือนภัย Cell Broadcast ราบรื่น ครั้งที่ 2 วันที่ 7 พ.ค.
อ่านให้ฟัง
07:26อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
ปภ.ทดสอบระบบแจ้งเตือนภัยฉุกเฉินผ่านระบบ Cell Broadcast ในพื้นที่ 5 อาคาร ประสบความสำเร็จ ผู้ให้บริการเครือข่ายมือถือ สามารถจัดส่งข้อความเตือนภัยภายใน 1 นาที ทดสอบครั้งที่ 2 ระดับอำเภอ 7 พ.ค. คาดว่าภายในเดือน ก.ค.นี้ สามารถทดสอบระบบเตือนภัยได้ทั้งประเทศ

วันนี้ (2 พ.ค.2568) เจ้าหน้าที่กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณะภัย ทดสอบการส่งการแจ้งเตือนภัยด้วยระบบ Cell Broadcast ในระดับเล็ก ซึ่งเป็นระดับในอาคาร โดยได้ส่งสัญญาณไปใน 5 พื้นที่ คือ ศาลากลางจังหวัดเชียงราย, ศาลากลางจังหวัดอุบลราชธานี, ศาลากลางจังหวัดสุพรรณบุรี, ศาลากลางจังหวัดสงขลา และอาคารศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ กรุงเทพมหานคร อาคาร A และอาคาร B

อ่านข่าว : 2 พ.ค. เช็ก 5 จุด ทดสอบระบบ แจ้งเตือนภัยพิบัติ Cell Broadcast

ภาสกร บุญญลักษม์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

ภาสกร บุญญลักษม์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

ภาสกร บุญญลักษม์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

นายภาสกร บุญญลักษม์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ระบุหลังการทดสอบ ถือว่าประสบความสำเร็จโดยทั้ง 5 จุดได้รับข้อความพร้อมกัน ผู้ให้บริการเครือข่ายระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ สามารถจัดส่งข้อความได้ภายใน 1 นาที และกระบวนการทั้งหมดใช้เวลาไม่ถึง 10 นาทีหลังเกิดเหตุ

อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ยังระบุว่า จะมีการทดสอบระบบอีกครั้งในวันที่ 7 พ.ค.นี้ ในระดับกลาง ซึ่งเป็นระดับอำเภอ ในพื้นที่ อ.เมือง จ.ลำปาง นครราชสีมา นครสวรรค์ สุราษฎร์ธานี และเขตดินแดง กทม. และระดับใหญ่ วันที่ 13 พ.ค.นี้ ซึ่งเป็นระดับจังหวัด ในพื้นที่ จ.เชียงใหม่ อยุธยา อุดรธานี นครศรีธรรมราช และ กทม. และจะมีการประเมินประสิทธิภาพ ก่อนจะทดสอบทั้งประเทศในเดือน ก.ค.นี้ 

ทั้งนี้ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ระบุว่า แม้จะมีข้อจำกัดด้านพื้นที่ส่งสัญญาณเกินพื้นที่อาคารที่ระบุไว้ และยังมีข้อจำกัดอุปกรณ์ที่รองรับเฉพาะโทรศัพท์ 4G/5G ที่อัปเดตเป็น Android 11 หรือ iOS 18 ขึ้นไป แต่ระบบ Cell Broadcast นี้สามารถส่งข้อความได้ถึง 600 ตัวอักษร 5 ภาษา และยังรองรับการแจ้งเตือนนักท่องเที่ยวที่เปิดบริการโรมมิงหรือใช้ซิมชั่วคราวด้วย ส่วนกรณีโทรศัพท์ที่ไม่รองรับ จะใช้การส่ง SMS แทน

ส่งเสียงเตือนดัง 8 วินาที

การทดสอบระบบแจ้งเตือนภัยผ่าน Cell Broadcast โดยมีการส่งเสียงเตือนดังต่อเนื่องประมาณ 8 วินาทีพร้อมข้อความภาษาไทยและภาษาอังกฤษไปยังโทรศัพท์มือถือของประชาชนในพื้นที่ทดสอบ รวม 5 จุดสำคัญ ได้แก่ ศาลากลางจังหวัดเชียงราย, สุพรรณบุรี, อุบลราชธานี, สงขลา และ ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ อาคาร A และ B

ข้อความที่ได้รับคือ "This is a test message from DDPM. No action required." ซึ่งย้ำว่าเป็น เพียงการทดสอบระบบเท่านั้น ไม่มีเหตุฉุกเฉินจริง

โดยประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ศูนย์ราชการ ถนนแจ้งวัฒนะ หลายคนสะท้อนว่าการมีระบบเตือนภัยที่เข้าถึงได้รวดเร็วและตรงจุด เป็นสิ่งจำเป็นในยุคที่ภัยพิบัติสามารถเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ

ส่วนภาคเหนือ ที่ศาลากลางจังหวัดเชียงราย มีการจำลองสถานการณ์ว่าเกิดฝนตกหนักสะสมติดต่อกันอย่างหนัก ทำให้เกิดมีน้ำป่าไหลหลากผ่านพื้นที่ในเวลา 13.00 น. โดยเป็นการทดสอบการส่งแจ้งเตือนชนิดเหตุการณ์ Nationnal Alert จำนวน 1 ครั้ง ระยะเวลาแสดงผล 10 นาที โดยมีสัญญาณเสียงแจ้งเตือนในโทรศัพท์มือถือดังขึ้นประมาณ 8 วินาทีและมีข้อความส่งถึงประชาชน "ทดสอบแจ้งเตือนภัย Cell Broadcast จากกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) โปรดอย่าตื่นตระหนก 

ขณะที่นายชรินทร์ ทองสุข ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย ระบุว่า ระบบแจ้งเตือนภัยที่ทดสอบถือว่ามีประสิทธิภาพ โดยตั้งเวลาแจ้งเตือนเวลา 13.00 น. ก็จะมีสัญญาณส่งไปถึงโทรศัพท์ในพื้นที่เป้าหมายทันที แม้โทรศัพท์แต่ละเครื่องจะไม่ได้รับสัญญาณพร้อมกันแต่ก็ได้รับเกือบทุกเครื่อง แต่ยังมีโทรศัพท์บางรุ่นที่เป็นรุ่นเก่าไม่สามารถจะรับข้อความได้ ซึ่งตามหลักแล้วประชาชนจะต้องได้รับการแจ้งในทุกรุ่นและทุกระบบ โดยจะส่งผลสรุปการทดสอบพร้อมกับสำรวจความเห็นประชาชนผู้ใช้ไปยังกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยต่อไป

ที่ จ.สงขลา พ่อค้าแม่ค้า ที่บริเวณหาดสมิหลา ที่อยู่ห่างจากศาลากลางจังหวัดสงขลาไม่เกิน 500 เมตร ต่างเฝ้ารอที่จะได้ยินเสียงการทดสอบสัญญาณเตือนภัยระบบ Cell-Broadcast ที่มีศูนย์กลางการทดสอบที่ ห้องประชุม conference ชั้น 5 ศาลากลางจังหวัดสงขลา

บางคนเฝ้ารอและเชื่อมลำโพงบลูทูธกับโทรศัพท์มือถือ แต่ปรากฏว่า เมื่อถึงเวลา 13.00 น.กลับไม่มีเสียงสัญญาณเตือนภัยดังขึ้นทำให้ผิดหวังและกังวลว่า หากการทดสอบไม่ได้ผลทำให้ประชาชนเสียโอกาสที่จะได้รับการเตือนภัยอย่างรวดเร็ว

ส่วนที่ศาลากลางจังหวัดอุบลราชธานี ก็มีการทดสอบระบบ Cell Broadcast เช่นกัน โดยมีการแจ้งข้อมูลข่าวสารเตือนภัยก่อนเกิดเหตุแผ่นดินไหว เพื่อให้ประชาชนและหน่วยบริการของรัฐสามารถรับมือ เมื่อเวลาเกิดเหตุแผ่นดินไหวขึ้นมา ลดความตื่นตระหนกและความเสียหายที่เกิดจากแผ่นดินไหว

ข้อความที่ได้รับการทดสอบ "ระบบเตือนภัย"

จากการสังเกตกับโทรศัพท์ที่ประชาชนได้รับข้อความ เช่น

1. แบบเปิดมือถือ - ปิดสั่น - ปิดเน็ต : ได้รับการแจ้งเตือน ข้อความหน้าจอ - เครื่องสั่น - ได้ยินเสียงแจ้งเตือน

2. แบบเปิดมือถือ - เปิดเน็ต - ปิดสั่น : ได้รับการแจ้งเตือนแบบข้อความ - ไม่ได้ยินเสียงแจ้งเตือน - เครื่องไม่สั่น

3. แบบเปิดมือถือ - เปิดเน็ต - เปิดสั่น : ได้รับการแจ้งเตือนแบบข้อความ - เครื่องสั่น - มีบางเครื่อง มีเสียงจากโทรศัพท์ แต่บางเครื่องไม่มีเสียง

4. ระหว่างที่หน้าจอ แสดงผล ปรากฏข้อความ แจ้งเตือน จะไม่สามารถ สไลด์ ไปหน้าจอ หรือ แอปพลิเคชันอื่นได้ จนกระทั่งกดคำว่า "ตกลง" จึงจะเข้าสู่การใช้งานได้ปกติ

5. ถ้าใครเผลอรีบกดคำว่า "ตกลง" ทันที โดยยังไม่อ่านข้อความที่ปรากฏ (แบบตกใจ หรือ รีบกดปิด) ข้อมูลแจ้งเตือนนั้น จะไม่ปรากฏอีก

อ่านข่าว :

ปภ.ยกระดับ เตือนภัยพิบัติ พร้อมปิดข้อจำกัด "Cell Broadcast"

รู้ทันที! "Cell Broadcast" เทคโนโลยีแจ้งเตือนภัยพิบัติใช้กันทั่วโลก

สธ.ชื่นชม นพ.นนชยา สกัดแอนแทรกซ์ทัน หยุดเชื้อเนื้อดิบระบาด

ข่าวที่เกี่ยวข้อง