รัฐสร้างตึกหรูผลพวงรัฐประหาร คสช.
วันนี้ (8 พ.ค.2568) ดร.พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต ผู้อำนวยการหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการเมืองและยุทธศาสตร์การพัฒนา สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) มองว่า การรัฐประหารเป็นหนึ่งในผลพวงจากการอนุมัติสร้างอาหารหรูของสำนักงานภาครัฐต่าง ๆ ซึ่งมีความใกล้ชิดกับทุนต่างประเทศ ที่มีการใช้นายพลเป็นเกราะกำบังในการก่อสร้าง
ขณะเดียวกันมองว่า เป็นการสร้างความเฉื่อยชาทางการเมือง และเป็นเสื้อคลุมบาดแผลของคอร์รัปชั่นเท่านั้น แม้ว่าจะใช้วาทกรรมที่อ้างว่า เป็นการปราบทุจริต แต่เป็นการเปิดพื้นที่ใหม่ที่เกิดความลึกซึ้งยากต่อการตรวจสอบ ด้วยการแต่งตั้งบุคคลที่มีความใกล้ชิดกับผู้มีอำนาจ ตอบสนองบุคคลเฉพาะกลุ่ม และการจัดซื้อจัดจ้างที่ไม่เป็นการเปิดเผยต่อสาธารณะ เช่น การจัดซื้อเรือดำน้ำ
11 ปี ของการรัฐประหาร จะเห็นได้ว่า การป้องกันรัฐประหารไม่ใช่ทำโดยง่าย เพียงต่อต้านกองทัพ แต่กลไกที่มีความจำเป็น คือต้องสถาปนาระเบียบใหม่ทางการเมืองเศรษฐกิจและวัฒนธรรม ทำให้ประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจที่แท้จริง
หลายโครงการทิ้งร้างหลังจาก คสช.อนุมัติ
รศ.ดร.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า เรื่องอาคารสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน หรือ สตง.แห่งใหม่ถล่ม เป็นเรื่องที่ควรจะทำความจริงให้ประจักษ์ แต่เรื่องใหญ่คือ การใช้งบประมาณที่ไม่คุ้มค่า และยังมีโครงการภาครัฐอีกจำนวนมาก ที่อนุมัติในช่วง 11 ปีที่ผ่านมา ช่วงที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. ถูกทิ้งร้างสร้างไม่เสร็จ มูลค่าหลายพันล้าน กระจายอยู่ทั่วประเทศไทย ผ่านการอนุมัติจาก สว. ที่ คสช.เป็นผู้เลือก
อยากทำความเข้าใจว่า ใครก็ตามที่โหยหารัฐบาล ที่จะปราบปรามคอร์รัปชั่น แต่เข้าใจว่าสิ่งที่เกิดขึ้นในขณะนี้ เป็นประจักษ์พยานว่า การรัฐประหารนั้นให้ผลตรงกันข้าม คณะรัฐประหารที่ผ่านมา ไม่มีอำนาจเท่า คสช.ที่มีอำนาจในการเลือกองค์กรอิสระผ่าน สนช.ใน 5 ปีแรก และ 5 ปีต่อมาโดย สว.

ดร.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ดร.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
เลือก สว.ก็อีกปัญหาที่ต้องแก้ พรป.สว.
ขณะเดียวกันยังมองว่า การเลือก สว.แบบเลือกกันเองในปัจจุบัน เป็นบทที่พิสูจน์ให้เห็นว่า มีปัญหามาก พบการฮั้วในระบบเลือก ซึ่งต้องไปแก้รัฐธรรมนูญ ถือว่าเป็นไปได้ยาก จึงอยากเห็นการเปลี่ยนแปลงผ่านการแก้ไข พรป.สว. จากนี้ไปจะทำอย่างไร ที่จะไม่ให้ความเห็นชอบ ทางคณะกรรมการสรรหา เช่น ประธานศาลฎีกา จะต้องเป็นข้อยกเว้น ไม่เช่นนั้นก็จะเป็นระบบพวกเช่นเดียวกับที่ คสช.ทำ องค์กรอิสระจะเป็นคนของใครไม่ได้ แต่ต้องเป็นคนของประชาชน เพื่อเกิดการตรวจสอบและถ่วงดุล
ฮั้ว สว.เป็นผลจากระบบ ขอให้เป็นเรื่องตามหลักฐานและข้อเท็จจริงตามกฎหมาย และตามกระบวนการยุติธรรม อย่าให้เป็นเรื่องของการเมือง ระหว่างพรรคการเมือง ที่ร่วมรัฐบาล ไม่ว่าจะเป็นพรรคสีแดง สีน้ำเงินอะไรก็แล้วแต่ เรื่องนี้เนื่องจาก สว. เป็นผู้ให้ความเห็นชอบองค์กรอิสระจึงเป็นแรงจูงใจ ซึ่งสิ่งที่เกิดขึ้น คือจะเกิดผลกระทบกับกฎหมาย
พร้อมมองว่า การแก้รัฐธรรมนูญที่ปัจจุบันยังไม่สามารถแก้ได้ และเป็นไปได้ยาก ไม่สามารถเกิดขึ้นได้ เป็นเหตุที่ คสช.ล็อกประเทศไว้ พรรคการเมืองจะต้องร่วมมือกันแก้ปัญหานี้ รวมถึง สว. เพราะไม่ได้มาจากรัฐประหารแล้ว กระบวนการกลับสู่ประชาธิปไตย
รัฐประหารแก้ไขปัญหาบ้านเมืองและประชาธิปไตยไม่ได้ ความรุนแรงแก้ปัญหาความขัดแย้งในสังคมไม่ได้ เช่นเดียวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในเดือนพฤษภาคมปี 2535 ทุกฝ่ายต้องร่วมมือกันใช้กระบวนการนิติรัฐ และกระบวนการทางกฎหมาย ที่ต้องทำให้คนเชื่อถือ เพราะกระบวนการยุติธรรมนั้นเสื่อมถอยไปบ้าง จากการรัฐประหารเป็นปีที่ผ่านมา และมีผลสืบทอดมาถึงปัจจุบัน
ชี้กองทัพปรับตัว ถอยห่างการเมือง
ด้าน ดร.วันวิชิต บุญโปร่ง นักวิชาการด้านความมั่นคง อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต กล่าวว่า ประชาชนไม่ได้อยู่ในกระบวนการพัฒนาประชาธิปไตย และบริบทการรัฐประหารเช่นปี 2557 ในแบบเดิม ๆ คงไม่เกิดขึ้น แต่ไม่สามารถบอกได้ว่า จะไม่เกิดขึ้นอีก ตราบใดที่รัฐธรรมนูญ 2560 ยังไม่เกิดการแก้ไข
พร้อมกับมองว่า การของบประมาณรีโนเวท อาคารรัฐสภา ที่มีการใช้งานมาเมื่อ 1 พ.ค.2560 ยังไม่ถึง 5 ปีดี แต่กลับของบประมาณในการรีโนเวท จึงอยากตั้งคำถามถึงสามัญสำนึก หากจะปรับปรุงบ้านหรืออาคารสถานที่สิ่งที่ใช้สอยควรจะเปิดใช้มา 100 % ก่อนใช่หรือไม่ การก่อสร้างถนนพระราม 2 หรือแม้แต่การอนุมัติงบก่อสร้างอาคารสตง.ทำให้เห็นถึงร่องรอยการทุจริตคอร์รัปชั่น ที่เกิดขึ้นอย่างมากมาย

ดร.วันวิชิต บุญโปร่ง นักวิชาการด้านความมั่นคง อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
ดร.วันวิชิต บุญโปร่ง นักวิชาการด้านความมั่นคง อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
ขณะเดียวกันมองว่า ปัจจุบันกองทัพมีการถอย และปรับบทบาทพอสมควร ซึ่งก่อนที่จะรัฐประหารในกองทัพมีการสะสมอำนาจ ที่จะนำไปสู่การเก็บชั้นความลับ นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในทางการเมือง ไม่ง่ายเหมือนในอดีต นอกจากนี้ ยังมองว่า เงื่อนไขการรัฐประหารคือ หากผู้บัญชาการทหารบก ออกมาให้ความเห็นทางการเมืองเมื่อไหร่ คือเงื่อนไขการรัฐประหารจะเกิดขึ้น สังเกตได้จาก ผบ.ทบ.ในยุคที่ผ่านมาที่ปฏิเสธการให้ความเห็น
ส่วนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ในช่วง 5 ปีแรกที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ยังอยู่ในตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ว่าจะเห็นได้ว่า สามารถขับเคลื่อนไปได้ดี เมื่อ พล.อ.ประยุทธ์ ไม่อยู่ จะเห็นถึงปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่กลับมาร้อนขึ้น แม้ว่าในยุทธศาสตร์จะเขียนไว้ว่า ปี 2570 สันติภาพในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จะไม่เกิดขึ้น แต่ตอนนี้กลางปี 2568 ความรุนแรงในพื้นที่กลับรุนแรง และมีนัยยะตัวเลขที่น่าเป็นห่วง กลายเป็นเครื่องมือหนึ่งเงื่อนไขที่รัฐบาลไม่สามารถบรรลุไปตามกรอบได้
เมื่อถามว่า ปัจจุบันสังคมไทยอยู่ในสภาพรัฐล้มเหลวแล้วหรือไม่ ดร.ปริญญา กล่าวว่า เป็นมุมมองของรัฐศาสตร์มากกว่านิติศาสตร์ หากกฎหมายไทยบังคับไม่ได้ รัฐธรรมนูญมีแล้วใช้ไม่ได้ ก็จะกลายเป็นรัฐล้มเหลวในท้ายที่สุด แต่ขณะนี้ยังไม่ถึงขั้นรัฐล้มเหลว แต่ยอมรับว่า ยังส่งผลต่อความเชื่อมั่นในองค์กรอิสระเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง
สังคมไทยดักคอเก่งขึ้น แต่ยังไม่นำให้ไปสู่สภาวะรัฐล้มเหลว เพียงแต่มีการยืมปากประชาชนขึ้นมาเท่านั้น ประชาชนใช้คูหาเป็นเครื่องมือลงฑัณฑ์ฝ่ายการเมืองมากขึ้น

ดร.พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
ดร.พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
ดร.พิชาย มองว่า การนำไปสู่เส้นทางการทำให้เกิดรัฐล้มเหลว เช่นการเป็นชาติของสังคมไทยที่ลดลง ไม่ได้มีสำนึกความเป็นชาติที่เข้มข้น สถาบันทางการเมือง และพฤติกรรมของกลุ่มผู้มีอำนาจในสถาบันทางการเมืองเหล่านั้น กำลังกระทำก่อนนำไปสู่ความล้มเหลวของรัฐ เข้าใจว่าสิ่งที่ทำนั้นทำให้รัฐเข้มแข็ง
หากมองในเชิงพัฒนาการ คือทำให้เส้นทางแนวระบบอภิสิทธิ์มีความเข้มข้นมากยิ่งขึ้น ทำให้ความไว้วางใจของประชาชน มีต่อสถาบันทางการเมืองลดลง เกิดวัฒนธรรมกลัดกล่อนความเป็นธรรม รวมไปถึงการสะท้อนการไร้สาระความรับผิดชอบต่อสังคมที่เพิ่มมากขึ้นในกลุ่มที่ทำงานในคนไทยของรัฐ เช่นการก่อสร้างอาคารต่าง ๆ ที่เปรียบเสมือนกับเป็นเอนเตอร์เทนเมนท์คอมเพล็กซ์ จึงอาจนำไปสู่รัฐล้มเหลวได้ในศตวรรษนี้
อ่านข่าว : แพทยสภาฟันโทษ "หมอ" ตักเตือน 1 พักใช้ใบอนุญาต 2 คน ปมทักษิณนอนชั้น 14
เตือน 40 จังหวัด เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน-ดินโคลนถล่ม 10-13 พ.ค.
เปิดเทอมใหม่ “ผู้ปกครอง” หัวใจว้าวุ่น จ่ายเฉลี่ย 26,039 บาท/คน
แท็กที่เกี่ยวข้อง: