ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

"ชาญชัย" เข้าฟังไต่สวนคดีชั้น 14 ตั้งข้อสงสัยใบเสร็จรักษาตัว "ทักษิณ"

การเมือง
14:38
137
"ชาญชัย" เข้าฟังไต่สวนคดีชั้น 14  ตั้งข้อสงสัยใบเสร็จรักษาตัว "ทักษิณ"
อ่านให้ฟัง
07:08อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
"ชาญชัย" เข้าฟังการไต่สวนคดี ชั้น 14 ต้องข้อสงสัย ใบเสร็จรักษาตัว "ทักษิณ" ขณะที่ "หมอวรงค์" เผยมีการแทรกแซงกระบวนการยุติธรรมเกิดขึ้นในอดีต

วันนี้ ( 4 ก.ค.2568 ) นายชาญชัย อิสระเสนารักษ์ อดีต สส.พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ในการร่วมฟังการพิจารณาคดีการพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลตำรวจ ชั้น 14 ว่า วันนี้ศาลได้เชิญแพทย์โรงพยาบาลราชทัณฑ์มาให้รายละเอียดเรื่องการส่งตัวไปพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลตำรวจ โดยเป็นการไต่สวนกลุ่มแพทย์ที่ทำหน้าที่ว่าชอบด้วยกฎหมายและถูกต้องหรือไม่โดย วันนี้มาฟังศาลเพื่อจะทราบว่ามีประเด็นอะไรเพิ่มเติมหรือมไ่

ขณะที่ กรณีที่ทนายส่วนตัวของนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ บอกว่า มีประวัติการรักษาตัวที่ต่างประเทศ รวมถึงมีการเพิ่มพยาน 10 ปากนั้น นายชาญชัย กล่าวว่า เรื่องใบเสร็จตนยืนยันว่า ทนายของนายทักษิณได้รับมอบอำนาจมา ก็ต้องยืนยันว่า ใบเสร็จเป็นของนายทักษิณจริง อยากให้นายทักษิณนำใบเสร็จกับเวชระเบียนมาชี้แจง ซึ่งศาลจะเรียกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องมาชี้แจงว่าทำไมใบเสร็จมียารักษาอะไร แล้วผ่าตัดอะไร

ถึงไม่มีค่ายา ทุกอย่างอยู่ในใบเสร็จ แล้วจะฟ้องถึงผู้ที่คุมตัว หมอที่รักษา ว่าทำไมไม่มีการฉีดยาเลย และจะไปอีกหลายเรื่อง ทนายของนายทักษิณต้องชี้แจงเรื่องใบเสร็จกับเวชระเบียนที่เป็นปัญหาตั้งแต่เริ่มแรกที่ไม่ส่งให้กับใครทั้งสิ้น

นายชาญชัย ยังกล่าวว่า จนถึงวันนี้ยังพูดกับศาลว่า อยู่ที่นายทักษิณ จะไม่ให้ศาลก็ได้ ถ้าเจ้าตัวไม่ยอม ดังนั้นศาลจึงเรียกไปที่โรงพยาบาลถ้าโรงพยาบาลไม่ให้ก็จะถูกข้อหาละเมิดอำนาจศาล เพราะศาลอาญาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองมีอำนาจเต็มในการเรียกเอกสาร

ผู้สื่อข่าวยังถามว่า คาดการณ์หรือไม่ว่าพยาน 10 ปาก เป็นใครหรือกลุ่มไหน นายชาญชัย กล่าวว่า อยู่ในดุลพินิจของศาล คงไม่ก้าวล่วงซึ่งมีอีกหลายเรื่องที่ศาลจะเป็นผู้ไต่สวน เชื่อว่าศาลจะวางตัวเป็นกลางและต้องให้อำนาจศาลใช้ดุลยพินิจ

"หมอวรงค์" เชื่อคดีชั้น 14 มีการแทรกแซง

ขณะที่ นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม ประธานพรรคไทยภักดี เดินทางเข้าร่วมรับฟังการไต่สวนคดีการพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลตำรวจ ชั้น 14 โดย นพ.วรงค์ เปิดเผยว่า วันนี้มาร่วมรับฟังคดีดังกล่าวเนื่องจากเป็นคดีที่เกี่ยวข้องกับทางการแพทย์ และได้ติดตามคดีนี้มานานพอสมควร เชื่อว่า คดีนี้จะมีความชัดเจนมากยิ่งขึ้นหลังจากที่ผ่านการไต่สวนไปแล้ว และถ้าได้ติดตามการไต่สวนรอบก่อนหน้านี้ ข้อมูลที่ตนได้รับคาดว่าไม่น่าจะเป็นคุณกับนายทักษิณเท่าที่ควร

ตนได้อ่านรายละเอียดของคดีในหลายประเด็น และตั้งข้อสังเกตว่า การอ้างถึง ม.55 ตาม พ.ร.บ.ราชทัณฑ์ว่าด้วยการส่งนักโทษไปรักษาภายนอก ในความเห็นของตน ม.55 มีความขัดแย้งกับกฎกระทรวง ซึ่งในกฎกระทรวงกำหนดไว้ว่า หากมีการเจ็บไข้ได้ป่วยโดยเฉพาะมีอาการจิต หรือโรคติดต่อ ในกฎกระทรวงระบุไว้ว่า ให้ไปส่งที่สถานพยาบาลโดยเร็ว แต่ใน ม.55 พ.ร.บ.ราชทัณฑ์ ได้ระบุว่า ให้พบแพทย์โดยเร็วซึ่งมีความขัดแย้งกัน โดยความเห็นของตน การใช้กฎกระทรวงในการส่งตัวนายทักษิณไปรักษา ตนเชื่อว่าใช้ไม่ได้จึงเป็นสิ่งที่ตนต้องเดินทางมาฟังที่ศาลฎีกา

เมื่อถามว่า มีการแทรกแซงในกระบวนการยุติธรรมใช่หรือไม่ นพ.วรงค์ กล่าวว่า เรื่องนี้เกิดขึ้นในเดือน มี.ค. แต่เพิ่งได้รับข้อมูลเมื่อ 2 วันที่ผ่านมาเป็นข้อมูลที่น่าเชื่อถือ ผู้ที่นำข้อมูลมาให้กับตนต้องการให้ปราบกระบวนการการแทรกแซงกระบวนการยุติธรรม ที่จะทำให้กระบวนการยุติธรรมเสียหาย ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างตรวจสอบ  ส่วนรายละเอียด ขออนุญาตไม่พูด

ทุกคนส่วนใหญ่ ทำงานเพื่อชาติบ้านเมือง แต่มีคนแค่ไม่กี่คนทำให้กระบวนการยุติธรรมเสียหาย โดยเฉพาะบางคนที่มีความสัมพันธ์กับนักการเมือง

เมื่อถามว่ามีความกังวลอะไรหรือไม่ในวันนี้ นพ.วรงค์ กล่าวว่า วันนี้เข้าสู่กระบวนการการไต่สวนแล้ว เห็นว่าผ่านขั้นตอนการแทรกแซงมาแล้ว ดังนั้นการที่สื่อสารเลือกแทรกแซงออกมาเพราะต้องการสื่อสารให้รู้ว่าในอดีตเคยมีเรื่องนี้เกิดขึ้น ซึ่งโชคดีที่ตอนนี้ขบวนการเข้าสู่กระบวนการไต่สวน ขอขอบคุณและชื่นชมศาลฎีกาที่ให้สื่อมวลชนเข้าไปรับฟังการไต่สวนเพื่อให้ประชาชนได้เรียนรู้ไปพร้อมกัน จนถึงวันที่ศาลมีคำพิพากษาออกมา ประชาชนจะได้เรียนรู้และเข้าใจ

นอกจากนี้ นพ.วรงค์ ได้ตั้งข้อสังเกตว่า วันนี้มีความเชื่อมโยงระหว่างพยาบาลเวร แพทย์เวร และแพทย์ผู้ทำการตรวจร่างกายซึ่งเป็นผู้ทำหนังสือส่งตัว แต่ในภาพรวมทั้งหมดเป็นการดำเนินการของพยาบาลเวรเป็นหลัก แม้แต่แพทย์เวรไม่ทราบเรื่อง นอกจากนี้ยังมีข้อสังเกต เรื่องระยะเวลาการส่งตัวไปที่โรงพยาบาลตำรวจใช้เวลาประมาณ 2 ชม.หากผู้ป่วยมีอันตรายจะทำอย่างไร นอกจากนี้ยังมีข้อสังเกตว่า หากเป็นอะไรไปจะเป็นอย่างไร

นพ.ตุลย์ สิทธิสมวงศ์ อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ย้ำว่า ห้องฉุกเฉินโรงพยาบาลตำรวจอยู่คนละตึกกับชั้น 14 จึงตั้งข้อสังเกตว่า หากฉุกเฉินจริง จะต้องส่งตัวไปที่ห้องฉุกเฉินก่อน และโดยหลักการหากตรวจแล้วไม่ฉุกเฉินจริงสามารถรักษาผู้ป่วยนอกได้และส่งกลับเรือนจำ หากฉุกเฉินและมีอาการหนักจริงชั้น 14 ก็ไม่เหมาะสม ต้องไปสวนหัวใจ ที่ แผนก CCU (ห้องที่ใช้เพื่อทำการรักษาผู้ป่วยที่มีอาการเกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือด) หรือ ICU (หอผู้ป่วยวิกฤต) ก็แล้วแต่กรณี เป็นข้อสังเกต ในฐานะตนเป็นหมอคนหนึ่ง ประชาชน และแพทย์ทั่วไปน่าจะเห็นด้วย

 

อ่านข่าว : ศาลไต่สวนพยานได้ 5 ปาก คดี "ทักษิณ" ชั้น 14 สั่งเลื่อนไต่สวนไป 8 ก.ค. 

4 ก.ค. ศาลฎีกาฯ นัดไต่สวนแพทย์-พยาบาล ปม "ทักษิณ" ชั้น 14  

ศาลฎีกาฯ เรียกพยาน 20 ปาก ไต่สวน 4, 8,15 ก.ค. คดี "ทักษิณ" ชั้น 14