วันนี้ ( 9 ก.ค.2568) นายธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดี และประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ ม.หอการค้าไทย กล่าวว่า ดัชนีความเชื่อมั่นที่ลดลง ต่ำสุด ในรอบ 28 เดือน ในเดือนมิ.ย.68 เป็นการสำรวจในช่วงที่นายกรัฐมนตรียังไม่ถูกสั่งให้หยุดปฏิบัติหน้าที่ ยังไม่รวมถึงปัจจัยการประกาศอัตราภาษีของไทยที่สหรัฐยังคงเก็บที่ 36% และจะมีการบังคับใช้ในวันที่ 1 ส.ค. 2568 นี้

นายธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดี และประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ ม.หอการค้าไทย
นายธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดี และประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ ม.หอการค้าไทย
แต่มีปัจจัยกระทบ คือ เรื่องของความขัดแย้งไทย-กัมพูชา และการถอนตัวของพรรคร่วม ชี้ให้เห็นว่าประชาชน ยังคงเป็นห่วงเรื่องเศรษฐกิจ และอนาคตข้างหน้า มีผลต่อการจับจ่ายใช้สอย ขณะที่ มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจก็ยังไม่มีความชัดเจน โดยเฉพาะงบ 1.57 แสนล้านบาท
สำหรับปัจจัยเสี่ยงที่กระทบต่อเศรษฐกิจไทยหอการค้ามองไว้อยู่ 2 ประเด็นสำคัญ คือ สงครามการค้า โดยเฉพาะทรัมป์ 2.0 ที่ไทยยังคงถูกประกาศเก็บอัตราภาษีที่ 36% มีผลต่อความกังวลของภาคประชาชน แม้ปัจจุบัน ธนาคารแห่งประเทศไทย (แบงก์ชาติ) จะคงผ่อนคลายมาตรการลดอัตราดอกเบี้ยปัจจุบันอยู่ที่ 1.75% ก็ตามขณะที่ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคใน ช่วงไตรมาส 4 ยังคงมองว่าเศรษฐกิจยังไม่มีสัญญาณที่ดี ยังคงเป็นกังวลต่อเศรษฐกิจและรายได้

ทีม Thailand คงจะต้องเร่งเจรจาเพื่อให้อัตราภาษีของไทยต่ำกว่าที่ประกาศอย่างน้อยเทียบเท่ากับคู่แข่ง ซึ่งทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับการเจรจาของภาครัฐ ส่วนประเมินเศรษฐกิจปีนี้ หอการค้าฯมองว่าน่าจะอยู่ที่ 1.7% กรณีไทยโดนภาษีสหรัฐ 25-36% และมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยประมาณปีละ 4-6 แสนล้านบาทส่วนการส่งออก
ส่วนอีกปัจจัยที่กระทบ คือ 2 สถานการณ์ทางการเมือง ซึ่งปัจจุบันการเมือง ยังต้องจับจาเรื่องของวาระงบประมาณแผ่นดิน การกระตุ้นให้ยุบสภา การขับเคลื่อนนโยบายเศรษฐกิจ ซึ่งมีผลต่อการซึมตัวเศรษฐกิจไทย รวมไปถึงการกระตุ้นนักท่องเที่ยว ซึ่งยังไม่ฟื้นตัวนักท่องเที่ยวจีนยังไม่กลับมา ส่วนปัจจัยอื่นที่ยังต้องจับตาอย่างเช่น ปัญหาสงครามระหว่างประเทศอย่างรัสเซียยูเครนภัยธรรมชาติ

นายวิทิตร รักษ์ธรรม ผู้ช่วยผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ ม.หอการค้าไทย ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
นายวิทิตร รักษ์ธรรม ผู้ช่วยผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ ม.หอการค้าไทย ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
ด้านนายวิทิตร รักษ์ธรรม ผู้ช่วยผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ ม.หอการค้าไทย ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภค เดือนมิถุนายน 2568 อยู่ที่ระดับ 52.7 ปรับตัวลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5 และอยู่ในระดับที่ต่ำสุดในรอบ 28 เดือนนับตั้งแต่เดือนมีนาคม 2566 เป็นต้นมา
และดัชนีความเชื่อมั่นโดยรวมยังคงเคลื่อนไหวต่ำกว่าระดับ 100 แสดงให้เห็นว่าผู้บริโภค ยังคงเห็นสถานการณ์เศรษฐกิจโดยรวมฟื้นตัวช้า ค่าครองชีพสูง ปัญหาสงครามการค้าที่มีแนวโน้มรุนแรงขึ้น บั่นทอนต่อความเชื่อมั่นผู้บริโภคในปัจจุบันและอนาคตขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับเศรษฐกิจไทยโดยรวม อยู่ที่ 46.7 ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับโอกาสในการหางาน อยู่ที่ 50.6 และดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับรายได้ในอนาคต อยู่ที่ 60.9

ผู้บริโภคมีความกังวลเกี่ยวกับเสถียรภาพของรัฐบาลและการเมืองของไทยและสงครามการค้าจากนโยบาย Trump 2.0 และรู้สึกว่าเศรษฐกิจไทยกำลังชะลอตัวอย่างต่อเนื่อง แม้ว่ารัฐบาลจะออกมาตราการกระตุ้นเศรษฐกิจผู้บริโภครู้สึกว่าเศรษฐกิจไทยยังฟื้นตัวได้ช้า
อ่านข่าว:
ดัชนีเชื่อมั่นผู้บริโภค มิ.ย.ร่วงทุกด้าน สนค.เผยมาตรการกระตุ้นศก.คือความหวังเดียว
TDRI วิเคราะห์ผลกระทบภาษีสหรัฐฯ 36% เปิดเกมต่อรองไทยต้องแลกอะไร?
ภาษีตอบโต้ 36 % ไทย "ไร้แสงปลายอุโมงค์" คาดครึ่งปีหลังลบหนัก