4 กุมภาพันธ์ 1945 "การประชุมยัลตา" ผลของสงครามโลกครั้งที่ 2 กับพรมแดนใหม่ในยุโรป


ประวัติศาสตร์

5 ก.พ. 67

Thai PBS Digital Media

Logo Thai PBS
 4 กุมภาพันธ์ 1945 "การประชุมยัลตา" ผลของสงครามโลกครั้งที่ 2 กับพรมแดนใหม่ในยุโรป

ตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่สอง ทั้งโลกเผชิญกับบรรยากาศสงครามเย็น ที่ได้เห็นการแบ่งขั้วโลกเสรี และโลกคอมมิวนิสต์ ในเชิงทฤษฎีเหมือนจะจบไปแล้ว โดยจุดเริ่มต้นจากการประชุมยัลตาเกิดขึ้นเมื่อ 79 ปีก่อน ที่ได้เห็นผู้นำสามประเทศพี่เบิ้มคุยกัน แต่สงครามรัสเซีย และยูเครน ที่กำลังเกิดขึ้นวันนี้ ยิ่งตอกย้ำว่าสงครามเย็นไม่ได้หายไปไหน

“การประชุมยัลตา” จัดขึ้นในระหว่างวันที่ 4-11 กุมภาพันธ์ 1945 ที่พระราชวังลีวาเดีย ซึ่งเคยเป็นหนึ่งในพระราชวังของจักรพรรดิรัสเซีย ประกอบไปด้วย 3 ผู้นำประเทศมหาอำนาจในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 แฟรงกลิน ดี. โรสเวลต์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ, วินสตัน เชอร์ชิล นายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักร และ โจเซฟ สตาลิน เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์และประธานาธิบดีสหภาพโซเวียต โดยมีเป้าหมายเดียวกันคือการโค่นล้มฝ่ายนาซีเยอรมนี 

เนื้อหาการประชุมส่วนใหญ่เป็นเรื่องของการแบ่งดินแดนของผู้ชนะ ซึ่งได้แบ่งพื้นที่ของเยอรมนีและเบอร์ลินเป็น 4 ส่วน รวมไปถึงให้อิสระภาพกับประเทศที่นาซีเยอรมนีเคยควบคุม ในขณะนั้นเป็นช่วงที่ฝ่ายอักษะเริ่มสูญเสียทัพและการควบคุม กองทัพนาซีเยอรมนีได้พ่ายแพ้ จึงเหลือเพียงจักรวรรดิญี่ปุ่น นอกจากนั้นในการประชุมครั้งนี้ยังเป็นจุดกำเนิดของการพูดคุยเกี่ยวกับแนวคิด อุดมการณ์และข้อกำหนดของการก่อตั้งสันนิบาตแห่งชาติแบบใหม่หรือสหประชาชาติขึ้น เพื่อรักษาสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ  

หลังจากการประชุมในครั้งนั้นสหภาพโซเวียตได้ช่วยให้ฝ่ายสัมพันธมิตรรบกับญี่ปุ่นทางตะวันออกของประเทศ ทำให้สามารถยึดพื้นที่บางส่วนของญี่ปุ่นมา จนทำให้ ณ ปัจจุบัน ยังไม่สามารถลงนามความสงบศึกระหว่างสหภาพโซเวียตกับญี่ปุ่นได้เลย 

#Didyouknow การพบกันระหว่าง 3 ผู้นำมหาอำนาจในครั้งนี้นับเป็นครั้งที่ 2 ที่พบกัน โดยครั้งแรกเกิดขึ้นที่ “การประชุมเตหะราน” ระหว่างวันที่ 28 พฤศจิกายน – 1 ธันวาคม 1943 กรุงเตหะราน ประเทศอิหร่าน 

แท็กที่เกี่ยวข้อง

สงครามโลกครั้งที่ 2
ผู้เขียน: Thai PBS Digital Media

บทความ NOW แนะนำ