ป้องกันอย่างไร? ให้บัญชีปลอดภัยจากการโดน Hack


Media Literacy

3 ต.ค. 65

กนกพร ประสิทธิ์ผล

Logo Thai PBS
ป้องกันอย่างไร? ให้บัญชีปลอดภัยจากการโดน Hack

หลาย ๆ คนคงได้เห็นข่าวการถูกแฮก YouTube Channel ของช่องดัง ๆ ที่มีผู้ติดตามจำนวนมาก ทั้ง บี้ เดอะสกา Bie The Ska มีคนตามกว่า 12 ล้านคน เมื่อช่วงตี 3 วันที่ 8 พ.ค. 64 และช่อง YouTube ของอมรินทร์ทีวี ที่มีผู้ติดตาม 12 ล้านคน ก็ถูกแฮคเมื่อ 4 มิ.ย. 64 ด้วยการเปลี่ยนชื่อช่องและข้อความคลิปทุกคลิป

ภาพ YouTube AMARIN TV ที่ถูก Hack

และล่าสุด Thairath Online อีกหนึ่งช่องสื่อที่มีผู้ติดตามกว่า 11 ล้านคน ก็เพิ่งถูกแฮกเมื่อช่วงเกือบตี 3 ของวันที่ 9 มิ.ย. 2564 ที่ผ่านมา ผลที่เห็นบนหน้าช่องคือ หัวข้อ, เนื้อหา ถูกเปลี่ยนภาษาไป

YouTube : Thairath OnlineYouTube : Thairath Online

สาเหตุ อาจมาได้จากปัญหาหลายทาง อาทิ

  1. ช่องยูทูปมี admin มากเกินความจำเป็น
  2. admin โดนแฮกชื่อบัญชีส่วนตัวโดยไม่ตั้ง Two-factor authentication
  3. มีการคลิกลิงก์จากอีเมลปลอม

ซึ่งความเสียหายนอกจากเรื่องแบรนด์ที่จะถูกปลอมแปลง เปลี่ยนข้อมูล อัปโหลดคลิปไม่ได้แล้ว อาจกระทบเรื่องของการสร้างรายได้ของช่องที่ไม่สามารถเรียกคืนได้ (สำหรับช่องที่มีการทำรายได้)

คำแนะนำในการป้องกัน

1. Strong Password ควรตั้งรหัสผ่าน ที่คาดเดาได้ยาก มีตัวอักษรอย่างน้อย 8 ตัว และประกอบด้วยอักษรตัวใหญ่ และตัวเล็ก ตลอดจนตัวเลข และสัญลักษณ์ ถ้าสามารถผสมกันได้ก็จะทำให้การ Hack ยากขึ้น และไม่ควรตั้งรหัสผ่านเหมือนกันในบัญชี Account อื่น ๆ
[ ไปยังหน้าตั้งรหัสผ่าน https://thaip.bs/YL4ooht ]

2. Secondary email ควรใส่อีเมลสำรองในบัญชี YouTube เพื่อเป็นช่องทางสำรองสำหรับการกู้ช่องในอนาคต
[ ไปยังหน้าตั้งอีเมลสำรอง https://thaip.bs/qaQo2He ]

3. Email ที่เป็นแอดมินหลักของช่อง และอีเมลของแอดมินร่วม ต้องเปิดการใช้งาน 2-Step Verification คือการยันยืนตัวตน 2 ขั้นตอนในการ Log in บัญชี YouTube เพื่อเพิ่มระดับความปลอดภัยของช่อง YouTube
[ ไปยังการตั้งค่ายืนยันตัวตน 2 ขั้น https://thaip.bs/UIgOo6H ] โดยวิธีการคือ

• Login เข้าบัญชี Gmail ของเรา แล้วกดที่ภาพหน้าบัญชีของคุณ แล้วเลือก Manage your Google Account

Login เข้าบัญชี Gmail ของเรา แล้วกดที่ภาพหน้าบัญชีของคุณ แล้วเลือก Manage your Google Account

• แล้วเลือกที่เมนู Security หรือความปลอดภัย เลือกเปิดใช้งาน 2-Step Verification

เลือกที่เมนู Security หรือความปลอดภัย เลือกเปิดใช้งาน 2-Step Verification
• ระบุวิธีการที่ต้องยืนยันตัวตนขั้นที่ 2 เช่น ถ้าใช้มือถือ ก็จะให้ระบุเบอร์โทรศัพท์ แล้วเลือกว่าจะให้ส่งมาเป็น SMS หรือเป็นโทร

การยืนยันตัวตนแบบ 2 ขั้นตอนแบบนี้ มีแทบจะทุกบริการทั้ง Facebook, Twitter, Instagram ฯลฯ ซึ่งแนะนำให้ทำแบบนี้กับทุก ๆ ช่องทาง เพื่อเพิ่มความปลอดภัยให้กับชื่อบัญชีของคุณ

4. Manage Devices ตรวจสอบอุปกรณ์ที่เคยผูกการเข้าใช้ชื่อบัญชี ถ้าไม่ใช่เครื่องที่เราอนุญาตสามารถกดถอนการใช้งานได้ มีวิธีการดังนี้

• Login เข้าบัญชี Gmail ของเรา แล้วกดที่ภาพหน้าบัญชีของคุณ แล้วเลือก Manage your Google Account

• เลือกเมนูความปลอดภัย หรือ Security  ในกรอบของ Your devices เลือกคำสั่ง จัดการอุปกรณ์ หรือ Manage devices

เลือกเมนูความปลอดภัย หรือ Security  ในกรอบของ Your devices เลือกคำสั่ง จัดการอุปกรณ์ หรือ Manage devices

• เลือกเมนูความปลอดภัย หรือ Security ในกรอบของ Your devices เลือกคำสั่ง จัดการอุปกรณ์ หรือ Manage devices สามารถกดถอนการใช้งานอุปกรณ์หรือเครื่องที่ไม่เกี่ยวข้องออกได้ เพื่อ จำกัดการใช้งานให้อยู่ในเครื่องที่เราอนุญาต (หรือเราอาจเคย login บางเครื่องค้างไว้) โดยกดที่ปุ่ม 3 จุดมุมบนขวา แล้วเลือก Don’t recognise this device หรือ ออกจากระบบ

password-7.jpg

5. Security Checkup เป็นการตรวจสอบความปลอดภัยของรหัสผ่าน ที่มีการบันทึกไว้ในบัญชี Google ช่วยตรวจสอบว่ารหัสผ่านของคุณถูกบุกรุกหรือไม่ และรัดกุมเพียงใด โดยเมื่อ login gmail แล้วให้เข้าไปเช็กได้ที่ลิงก์นี้ https://thaip.bs/d6IrLN2

ตัวอย่างหน้าจอแสดงผลการตรวจสอบความปลอดภัยของรหัสผ่าน
ตัวอย่างหน้าจอแสดงผลการตรวจสอบความปลอดภัยของรหัสผ่าน

จะแสดงข้อมูลการตรวจสอบความเคลื่อนไหวด้านความปลอดภัยของบัญชีของคุณทั้งในด้าน การบันทึกรหัสผ่านไว้ที่ใดบ้าง, มีการ Login ชื่อบัญชีนี้ที่อุปกรณ์ใดไว้บ้าง, เคยมีการ Login และ กู้คืนรหัสผ่านที่ใดไว้บ้าง เป็นต้น ข้อมูลเหล่านี้จะช่วยเตือนให้คุณทราบว่า ชื่อบัญชีตัวเองผ่านการถูกนำไปใช้เมื่อไหร่ ที่ใด ในช่องทางใดบ้าง ซึ่งคุณสามารถเลือกจัดการกับข้อมูลที่แสดงไว้ได้ เช่น ลบหรือ Logout ออก

Your Devices

6. ให้ระมัดระวังการกดอีเมลแปลก ๆ หรืออีเมลที่มีการอ้างชื่อจาก Google, YouTube และ Online Platform และไม่ควรกดลิงก์ใด ๆ ที่แนบมาพร้อมกับอีเมลดังกล่าว

7. เมื่อพบปัญหาผิดปกติของช่องหรือชื่อบัญชี สามารถติดต่อผ่าน 4 ช่องทางหลัก ตลอด 24 ชม. ดังนี้ 

  • สายด่วน 1212
  • อีเมล 1212@mdes.go.th
  • เว็บไซต์ www.1212occ.com
  • เพจเฟซบุ๊ก ข้อมูลข่าวสาร 1212 OCC 
     
กนกพร ประสิทธิ์ผล
ผู้เขียน: กนกพร ประสิทธิ์ผล

ผู้อำนวยการสำนักสื่อดิจิทัล / เว็บมาสเตอร์ไทยพีบีเอส