ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

รู้ไหม ? “ช้าง” อาจมีความเห็นอกเห็นใจไม่แพ้ “คน”


วันสำคัญ

13 มี.ค. 67

จิราภพ ทวีสูงส่ง

Logo Thai PBS
แชร์

รู้ไหม ? “ช้าง” อาจมีความเห็นอกเห็นใจไม่แพ้ “คน”

https://www.thaipbs.or.th/now/content/925

รู้ไหม ? “ช้าง” อาจมีความเห็นอกเห็นใจไม่แพ้ “คน”
บริการเสริมจาก Thai PBS AI

อินเทรนด์ “วันช้างไทย” เป็นที่รู้กันว่า “ช้าง” มีความ “ฉลาด” มนุษย์สามารถสอนให้ทำสิ่งต่าง ๆ ได้ ซึ่งมีงานวิจัยได้ทำการศึกษาพบว่า นอกจากความแสนรู้แล้ว “ช้าง” ยังมีความสามารถในการแสดงความเห็นอกเห็นใจเช่นเดียวกับมนุษย์ แบ่งปันความรู้สึกกับช้างตัวอื่น หรือสัตว์ต่าง ๆ ได้อีกด้วย

โดย “ช้าง” นอกจากฉลาดด้านการเรียนรู้แล้ว ยังมีความฉลาดทางอารมณ์ และสร้างความผูกพันอันลึกซึ้งในครอบครัวภายในฝูง โดยหนังสือ “When Elephants Weep” ของ Masson และ McCarthy ได้มีการบรรยายถึงช้างที่รวมตัวกันอยู่รอบ ๆ หัวหน้าฝูงซึ่งกำลังจะเสียชีวิต มีการปลอบประโลม-ลูบ เอาอาหารเข้าปากให้ เมื่อรู้ว่าช้างตัวนั้นไม่สบาย

ไขสงสัย ? “ช้าง” มีความเห็นอกเห็นใจได้อย่างไร

ด้วยความที่ “ช้าง” เป็นหนึ่งในสัตว์ที่มี “สมอง” ใหญ่ที่สุดในโลก โดยมีน้ำหนักประมาณ 11 ปอนด์ (ประมาณ 4.989 กิโลกรัม) มีเซลล์ประสาทประมาณ 257,000 ล้านเซลล์ มากกว่าสมองของมนุษย์ประมาณ 3 เท่า ขณะที่โครงสร้างสมองของช้างมีความคล้ายคลึงกับสมองของมนุษย์หลายอย่าง

Alex Van der Walt กูรูด้านสัตวศาสตร์ และยังเป็นนักเขียนที่ Animals Around The Globe เผยว่า เปลือกสมองของช้างมีประมาณหนึ่งในสามของจำนวนเซลล์ประสาทเมื่อเทียบกับสมองของมนุษย์ โดยเปลือกสมองเป็นส่วนหนึ่งของสมองที่รับผิดชอบการประมวลผลระดับสูง เช่น ความจำ การใช้เหตุผล ความคิด การเรียนรู้ การตัดสินใจ อารมณ์ และสติปัญญา ซึ่งประเด็นความเห็นอกเห็นใจของช้าง Walt กล่าวว่า เชื่อว่าช้างเผชิญกับความตาย การดิ้นรนเพื่อความอยู่รอด และการพึ่งพาฝูงช้างมากขึ้น ดังนั้นจึงมีความผูกพันที่ลึกซึ้งกับสมาชิกฝูงมากขึ้น ผลก็คือเมื่อต้องสูญเสียสมาชิกฝูงไป ตัวอื่นในฝูงก็จะรู้สึกเศร้าโศกเป็นอย่างมาก

นอกจากช้างจะมีความรู้สึกสูญเสียและความเศร้าโศกแล้ว ช้างแต่ละตัวยังสามารถแสดงอารมณ์ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น หากสมาชิกฝูงตัวใดบาดเจ็บและไม่สามารถเดินได้เท่าเพื่อน ตัวที่เหลือในฝูงจะเดินช้าลงเพื่อให้แน่ใจว่าจะยังอยู่ด้วยกันเป็นฝูงเช่นเดิม หรือหากมีช้างในฝูงติดโคลนหรือบ่วง ตัวอื่น ๆ จะพยายามดึง-ช่วยให้เป็นอิสระ เมื่อเพื่อน ๆ ได้ยินเสียงเรียกร้องขอความช่วยเหลือ สมาชิกในฝูงช้างก็พร้อมเข้าช่วยเหลือโดยไม่รีรอ

ขณะที่ Ronald Oldfield อาจารย์อาวุโสจากภาควิชาชีววิทยา มหาวิทยาลัยเคสเวสเทิร์นรีเสิร์ฟ (Case Western Reserve University Department of Biology) ได้ให้ความรู้ว่า ช้างสามารถแสดงอารมณ์ผ่านเสียง เช่น เสียงร้องแปร๋น ๆ หรือโดยการขยับร่างกายในรูปแบบต่าง ๆ รวมถึงการสัมผัสลำตัวกันเบา ๆ ซึ่งเป็นการแสดงไมตรีจิตหรือการเอาใจใส่ ดังเช่นมนุษย์ที่โอบกอดกัน ลูบหลัง ตบไหล่เบาๆ เป็นต้น”

เมื่อเปรียบเทียบช้างกับมนุษย์ คนบางคนอาจมีความเห็นอกเห็นใจมากกว่าคนอื่น ๆ และช้างก็อาจมีแนวโน้มที่จะเหมือนกัน แต่ถึงอย่างนั้น Oldfield มองว่า การพิสูจน์ว่าสายพันธุ์หนึ่งโดยทั่วไปมีความเห็นอกเห็นใจมากกว่าอีกสายพันธุ์หนึ่งนั้นเป็นเรื่องยากที่จะทำการทดลอง เนื่องจากสัตว์ต่าง ๆ เช่น ช้าง อาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมแตกต่างกัน และมีการตอบสนองต่อสิ่งต่าง ๆ ในแบบที่เราไม่เข้าใจ ดังนั้นจึงเป็นเรื่องยากที่จะหาสิ่งกระตุ้นที่ทั้งมนุษย์และสัตว์มีปฏิกิริยาโต้ตอบในลักษณะเดียวกันได้


🎧 อัปเดตข้อมูลแวดวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี รู้ทันโลกไอที และโซเชียลฯ ในรูปแบบ Audio จาก AI เสียงผู้ประกาศของไทยพีบีเอส ได้ที่ Thai PBS  

แหล่งข้อมูลอ้างอิง : discovermagazine

“รอบรู้ ดูกระแส ก้าวทันโลก” ไปกับ Thai PBS Sci & Tech 
 

แท็กที่เกี่ยวข้อง

ช้างวันช้างไทยThai PBS Sci & Tech Thai PBS Sci And Tech วันสำคัญThai PBS On This Day
จิราภพ ทวีสูงส่ง
ผู้เขียน: จิราภพ ทวีสูงส่ง

เซบา บาสตี้ : เจ้าหน้าที่เนื้อหาดิจิทัล สำนักสื่อดิจิทัล ไทยพีบีเอส / Specialist Contents / Journalist / Writer / Creative Copywriter / Proofreader Lover (ติดต่อ jiraphobT@thaipbs.or.th หรือ 0854129703)

บทความ NOW แนะนำ

ข่าวล่าสุด