สำนักงานสถิติแห่งชาติ ระบุว่า ในปี 2565 ประเทศไทยมีแรงงานนอกระบบถึง 20.2 ล้านคน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 51 ของผู้มีงานทำในประเทศไทยที่มี 39.6 ล้านคน ปัญหาใหญ่ปัญหาหนึ่งที่แรงงานนอกระบบต้องเจอคือ “การไม่ได้รับสวัสดิการ” ทำให้ไม่มีหลักประกันในชีวิต โดยเฉพาะหลังเกษียณอายุ
ไทยพีบีเอส ชวนแรงงานนอกระบบ หรือผู้ประกอบอาชีพทั่วไป ตลอดจนนักเรียน นักศึกษา มาออมเงินแบบสมัครใจและได้เงินสมทบจากรัฐ เพื่อมีเงินใช้หลังเกษียณกับ กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) ล่าสุดได้ประกาศปรับเพิ่มเพดานเงินออมต่อปี และปรับเพิ่มเงินสมทบจากรัฐต่อปี ทำให้มีความน่าสนใจขึ้นไปอีก
กอช. เพิ่มเพดานเงินสะสม-รัฐสมทบเพิ่มต่อปี
โดยเมื่อวันที่ 3 มี.ค. 66 ราชกิจจานุเบกษาประกาศกฎกระทรวงกำหนดอัตราการจ่ายเงินสะสมและเงินสมทบ พ.ศ. 2566 สาระสำคัญคือ การเพิ่มเงินสะสมและเงินสมทบใหม่ ดังนี้ อัตราการส่งเงินสะสมต่อปี จากเดิมสูงสุด 13,200 บาท เพิ่มเป็น 30,000 บาท, อัตราเงินสมทบต่อปี จากเดิมสูงสุด 1,200 บาท เพิ่มเป็น 1,800 บาทในทุกช่วงอายุ
อย่างไรก็ดี อัตราใหม่ทำให้สมาชิกมีโอกาสได้รับเงินบำนาญต่อเดือนสูงสุด 12,000 บาท มากกว่าอัตราเก่าได้ต่อเดือนสูงสุด 7,000 บาท โดยการได้รับบำนาญจะเริ่มต้นจ่ายคืนเมื่อสมาชิกอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์
ออมกับ กอช. เท่าไหร่ดี?
กอช. เปิดให้สมาชิกส่งเงินออมเริ่มต้น 50 บาทต่อครั้ง โดยใน 1 เดือน สามารถส่งเงินออมได้ 1 ครั้ง และส่งเงินออมทั้งปีรวมไม่เกิน 30,000 บาท
แรงงานอิสระบางคนมีรายได้สูง สามารถส่งเงินออมเต็มเพดาน 30,000 บาทต่อเดือนได้ ซึ่งจะได้เงินสมทบจากรัฐเต็มเพดาน 1,800 บาทต่อปีเช่นกัน เมื่อยอดเงินในบัญชีรวมสูง เงินบำนาญก็สูงตาม
แต่บางคนอยากออมพอดีๆ แต่ให้ได้เงินสมทบจากรัฐเต็มเพดานตลอดทั้งปี แนะนำว่า
ทั้งนี้ สามารถเพิ่มสะสมได้มากกว่าเงินขั้นต่ำข้างต้น หากอยากมีเงินบำนาญมาก ดังนี้
ยกตัวอย่าง เงินในบัญชีเมื่ออายุครบ 60 ปี มีทั้งสิ้น 393,788 บาท จะได้รับเงินบำนาญต่อเดือนประมาณ 1,896 บาท
ออมกับ กอช. ดีไหม?
กอช. คือ หน่วยงานของรัฐ ทำหน้าที่เป็นกองทุนกลาง ช่วยสนับสนุนการสะสมเงินเพื่อเกษียณของแรงงานนอกระบบ ที่ไม่มีสวัสดิการใดรองรับ ให้ได้มีบำนาญในยามเกษียณเสมือนแรงงานในระบบ ปัจจุบัน กอช. มีสมาชิก 2.5 ล้านคน
กอช. ให้ความยืดหยุ่นการออมสูง สมาชิกอาจไม่ต้องออมเท่ากันทุกเดือน เดือนไหนมีเงินก็ออม เดือนไม่มีเงินก็หยุดออมได้ จนเมื่ออายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ กอช. จะแจ้งสมาชิกขอรับเงินคืน ด้วยการแบ่งจ่ายรายเดือนเท่านั้น ซึ่งแบ่งเป็น 3 ส่วนคือ
แล้วนำมาคำนวณหายอดเงินคืนแต่ละเดือน ซึ่งหากผลลัพธ์ได้มากกว่า 600 บาทต่อเดือน สมาชิกจะได้รับเงินคืนเป็นประจำทุกเดือน แม้เงินในบัญชีของสมาชิกจะหมดลงแล้ว หรือเรียกว่า “บำนาญตลอดชีพ”
แต่หากผลลัพธ์ได้น้อยกว่า 600 บาทต่อเดือน สมาชิกจะได้รับเงินคืนเดือนละ 600 บาทต่อเดือน จนเมื่อเงินในบัญชีหมด จะหยุดจ่ายคืน หรือเรียกว่า “เงินดำรงชีพ”
แต่หากสมาชิกขอลาออกจากกองทุนก่อนอายุครบ 60 ปี สมาชิกจะได้รับคืนส่วนที่ 1 และดอกผลของเงินออมส่วนที่ 1 จ่ายคืนให้ในครั้งเดียว และหากสมาชิกเสียชีวิต กอช. จะจ่ายเงินทั้ง 3 ส่วน ให้กับผู้รับประโยชน์หรือทายาทของสมาชิกในครั้งเดียว
สมัครสมาชิก กอช. ทำยังไง
กอช. กำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการสมัครสมาชิกกองทุนการออมแห่งชาติ ไว้ ดังนี้
หากมีคุณสมบัติครบ ให้เตรียมบัตรประชาชน โดยไม่ต้องเปิดบัญชีธนาคาร สมัครได้ที่เว็บไซต์ กอช. หรือแอปพลิเคชัน กอช. (ระบบ IOS) หรือระบบ (Android)
หรือไปที่หน่วยบริการ เช่น ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ธนาคารกรุงไทย และธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย ทุกสาขาทั่วประเทศ สายด่วนเงินออม โทร. 0-2049-9000
ที่มา กองทุนการออมแห่งชาติ, การสำรวจแรงงานนอกระบบ พ.ศ. 2565 จากสำนักงานสถิติ, ทำเนียบรัฐบาล #ThaiPBS #ออมเงิน #กอช. #แรงงานนอกระบบ #เกษียณ
เจ้าหน้าที่เนื้อหาดิจิทัล ไทยพีบีเอส