เรื่องราวที่เกิดขึ้นในพื้นที่ตอนกลางของแอ่งโคราช หรืออีสานตอนกลาง ซึ่งมีเนื้อที่ประมาณ 2.1 ล้านไร่ เป็นบริเวณที่ผู้คนต่างรู้จักกันในชื่อว่า "ทุ่งกุลาร้องไห้" ข้อมูลทางธรณีวิทยาสันนิษฐานว่า เมื่อหลายร้อยล้านปีก่อน พื้นที่แห่งนี้เคยเป็นทะเลมาก่อน จากนั้นได้เกิดการเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลก จนกลายเป็นแอ่งน้ำจืดขนาดใหญ่ ก่อนจะกลายเป็นผืนแผ่นดินแยกแตกระแหง ที่ยังมีเกลือและดินเค็มเป็นหลักฐานที่เชื่อมโยงจากอดีตสู่ปัจจุบัน ณ พื้นที่แห่งนี้ ได้ขุดค้นพบความเชื่อมโยงของผู้คนยุคก่อนประวัติศาสตร์มากมาย แหล่งโบราณคดีที่ถูกยกให้เป็นตัวแทนของวัฒนธรรมทุ่งกุลาคือที่บ้านเมืองบัว อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด ถ้าพูดถึงลักษณะเด่นของวัฒนธรรมทุ่งกุลา ที่นี่ได้พบหลักฐานที่หนาแน่น ทั้งพิธีกรรมการฝังศพ มีลักษณะการฝังศพครั้งแรก ทั้งแบบนอนหงายเหยียดยาว และแบบฝังศพในภาชนะดินเผา โดยพบทุกเพศ ทุกวัย และพบการฝังศพครั้งที่สอง ทั้งแบบเก็บกระดูกมาวางรวมกัน และแบบเก็บมาใส่ในภาชนะดินเผา โดยภาชนะดินเผาที่ใช้ในการฝังศพที่นี่มีลักษณะเฉพาะตัว คือมีลักษณะคล้ายแคปซูล ที่กลายเป็นสัญลักษณ์สำคัญของวัฒนธรรมทุ่งกุลา ใครเห็นเครื่องปั้นดินเผาลักษณะนี้ รู้ได้ทันทีว่านี่คือโบราณวัตถุสำคัญแห่งทุ่งกุลาร้องไห้
นอกจากภาชนะรูปแคปซูลที่นักโบราณคดีได้ขุดค้นพบและกำหนดอายุได้ประมาณ 1,700 ปี แต่เมื่อขุดค้นลึกลงไปถึงช่วงเวลาเมื่อประมาณ 3,200 ปี พบภาชนะดินเผาอีกรูปแบบหนึ่งจำนวนมาก เป็นภาชนะรูปทรงคล้ายผลส้ม ซึ่งเป็นภาชนะที่ใช้ในการฝังศพอีกรูปแบบหนึ่ง และนักโบราณคดียังขุดค้นพบวัตถุโบราณอีกมากมาย ในดินแดนทุ่งกุลายังมั่งคั่งไปด้วยเกลือและเหล็ก ซึ่งถือว่าเป็นทรัพยากรมีค่ามหาศาลในยุคก่อนประวัติศาสตร์ มีแหล่งเกลือที่ใหญ่และมีคุณภาพที่สุดในดินแดนนี้ การขุดค้นพบเรื่องราวในอดีตยังสามารถเชื่อมโยงมาสู่วิถีความเป็นอยู่ของผู้คนในปัจจุบัน ซึ่งที่นี่ยังคงเป็นแหล่งผลิตเกลือที่สำคัญของประเทศ และเป็นแหล่งปลูกข้าวหอมมะลิที่สำคัญของโลก
ติดตามในสารคดี "รากสุวรรณภูมิ" วันอาทิตย์ที่ 10 กรกฎาคม 2565 เวลา 21.10 - 22.00 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live
รากสุวรรณภูมิ
ปฐมบทแห่งสุวรรณภูมิ The Beginning of Suvarnabhumi
อารยธรรมชายฝั่งตะวันออก The Civilization of East Coast
วิวัฒนาการมนุษย์แห่งลุ่มน้ำมูล The Human Evolution of Mun River Basin
ดินแดนกสิกรรมตะวันตก The Land of Western Agriculture
"ลพบุรี" ชุมทางการค้าก่อนประวัติศาสตร์ “Lop Buri” The Prehistoric Trade Route
วัฒนธรรมทุ่งกุลา วิถีอีสานโบราณ “Thung Kula Culture” Northeastern Ancient Way
“สุวรรณภูมิ” ชุมทางโบราณข้ามคาบสมุทร Suvarnabhumi : The ancient junction across the peninsula
สามเหลี่ยมมหัศจรรย์แห่งทวารวดี The Miracle Triangle of Dvaravati
ศรีเทพ รัฐแรกเริ่ม หรือ ดินแดนศักดิ์สิทธิ์โบราณ Si Thep : The primary state or the ancient sacred land
“พนมรุ้ง” ปราสาทแห่ง อำนาจ ศาสนา และภูมิปัญญาโบราณ The Phanom Rung : Castle of authority, religion and ancient wisdom
“สุโขทัย” ภูมิปัญญาอารยะแห่งเมืองมรดกโลก “Sukhothai” The Civilized Wisdom of the World Heritage city
“อยุธยา” เมืองโลกาภิวัตน์โบราณ “Ayutthaya” The ancient city of Globalization
“บางกอก” เมือง 2 ราชธานี “Bangkok” The original city of two capitals
รากสุวรรณภูมิ
ปฐมบทแห่งสุวรรณภูมิ The Beginning of Suvarnabhumi
อารยธรรมชายฝั่งตะวันออก The Civilization of East Coast
วิวัฒนาการมนุษย์แห่งลุ่มน้ำมูล The Human Evolution of Mun River Basin
ดินแดนกสิกรรมตะวันตก The Land of Western Agriculture
"ลพบุรี" ชุมทางการค้าก่อนประวัติศาสตร์ “Lop Buri” The Prehistoric Trade Route
วัฒนธรรมทุ่งกุลา วิถีอีสานโบราณ “Thung Kula Culture” Northeastern Ancient Way
“สุวรรณภูมิ” ชุมทางโบราณข้ามคาบสมุทร Suvarnabhumi : The ancient junction across the peninsula
สามเหลี่ยมมหัศจรรย์แห่งทวารวดี The Miracle Triangle of Dvaravati
ศรีเทพ รัฐแรกเริ่ม หรือ ดินแดนศักดิ์สิทธิ์โบราณ Si Thep : The primary state or the ancient sacred land
“พนมรุ้ง” ปราสาทแห่ง อำนาจ ศาสนา และภูมิปัญญาโบราณ The Phanom Rung : Castle of authority, religion and ancient wisdom
“สุโขทัย” ภูมิปัญญาอารยะแห่งเมืองมรดกโลก “Sukhothai” The Civilized Wisdom of the World Heritage city
“อยุธยา” เมืองโลกาภิวัตน์โบราณ “Ayutthaya” The ancient city of Globalization
“บางกอก” เมือง 2 ราชธานี “Bangkok” The original city of two capitals