ภูเก็ตทาวน์กับโรงงานช็อกโกแลตเมื่อ "ช็อกโกแลต" ที่ดีไม่จำเป็นต้องมาจากโรงงาน แต่ทำเองได้ที่บ้าน ! พบกับการสร้างแบรนด์ช็อกโกแลตของคนภูเก็ต ที่มีวิสาหกิจชุมชนเป็นโรงงาน มีเครื่องจักรเป็นหนึ่งสมอง สองมือ และมีตัวเองเป็นนายทุน เพื่อให้เกษตรกรพึ่งพาตัวเองได้
ครูพะโดะ ครู(ใจ)ใหญ่"ครูนุช - นงนุช วิชชโลกา" หรือคำที่ชาวบ้านเรียกกันจนติดปากว่า "ครูพะโดะ" ครูหญิงที่ต้องห่างวิถีเมือง ครอบครัว ลูกสาววัยกำลังน่ารัก ขึ้นสู่บนดอยกลางเมืองแห่งหุบเขาที่โรงเรียนบ้านแม่แพน้อย อำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน เพื่อทำหน้าที่ผู้อำนวยการโรงเรียน
น้ำมันพลังถุง แก้วิกฤตน้ำมันแพงชวนไปรู้จักกลุ่มวิสาหกิจแนวร่วมปฏิวัติขยะสุพรรณบุรี กับแนวคิดนำถุงพลาสติกใช้แล้วมาผลิตน้ำมันเบนซินและดีเซล คุณภาพเทียบเท่าท้องตลาด แต่ขายลิตรละ 20 บาทเท่านั้น ช่วยให้ชาวบ้านมีรายได้ แก้ปัญหาขยะ และทำให้สิ่งแวดล้อมดีขึ้น
พระสงฆ์ ปันสุขเมื่อมีการทำบุญถวายของผ่านพระสงฆ์ แต่เมื่อของเหล่านี้เหลือกิน เหลือใช้ จึงเกิดแนวคิดการทำบุญแนวใหม่ เพื่อให้พระสงฆ์ได้ทำหน้าที่เป็นสะพานบุญ ส่งต่อจากผู้ให้ถึงมือผู้รับผ่านโครงการ "สังฆะประชาปันสุข"
ภูคราม...เล่าเรื่องภูพานผ่านผ้าครามพาไปดูวิสาหกิจชุมชน "ภูคราม" ก่อตั้งโดย "เหมี่ยว" พลิกฟื้นวิธีทำผ้าแบบดั้งเดิม พร้อมพัฒนาให้สวยงามมากขึ้น มีเสน่ห์ และเป็นเอกลักษณ์ ช่วยสร้างงาน สร้างอาชีพ จนเกิดจิตสำนึกรักท้องถิ่น อ.ภูพาน จ.สกลนคร
เฮือนคำนางเมื่ออาหารอีสานถูกมองว่าไม่สะอาด มีกลิ่นเหม็น ทำให้ "คำนาง" ลูกหลานชาวอีสาน นำอาหารพื้นบ้านมาอนุรักษ์วิถีความเป็นอยู่ของคนอีสานที่แท้จริง ผ่านร้าน “เฮือนคำนาง” ร้านอาหารอีสานแท้ ที่รับแค่วันละ 1 โต๊ะเท่านั้น !
สัตวแพทย์อาสาพาไปรู้จัก "อ. นสพ. ดร.ธนพล หนองบัว" หรือ "อาจารย์เสือ" ที่นอกจากจะมีงานสอนหนังสือเป็นหลักแล้ว มักจะพานิสิต นักศึกษาลงพื้นที่ช่วยชาวบ้านดูแลรักษาสุขภาพวัวควายอีกด้วย
โรงเรียนมือถือมารู้จัก "โรงเรียนมือถือ" นวัตกรรมการเรียน การสอน ช่วยให้เด็กที่หลุดจากระบบการศึกษาได้กลับมาเรียน เพื่อได้วุฒิการศึกษาภาคบังคับ เรียนได้ทุกที่ ทุกเวลา ซึ่งคนคิดเรื่องนี้คือ "ลุงหน่อง" ที่หวังว่าเด็กจะมีวุฒิ ม.3 เป็นใบเบิกทางให้ชีวิตไปต่อได้
ร้านคนจับปลาพาไปรู้จักกับร้านคนจับปลาที่ไม่ใช่ร้านขายปลาธรรมดา แต่เป็นร้านที่ก่อตั้งและมีผู้ถือหุ้นโดยชาวประมง เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตชาวประมง ภายใต้แนวคิด "ชาวประมงอยู่รอด ธรรมชาติอยู่ได้" และทำให้ผู้บริโภคได้กินอาหารปลอดภัยอีกด้วย
School Stayพาไปรู้จักกับ "School Stay" โฮมสเตย์ในโรงเรียนบ้านเกาะเสือ จ.พัทลุง ที่ถูกสร้างขึ้นจากความร่วมมือของโรงเรียนและชุมชน จนสร้างรายได้ให้ชุมชนกว่า 7 หลัก และสร้างระบบนิเวศของการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นกับนักเรียนในพื้นที่อีกด้วย
เกษตรสุขกลางกรุงเรื่องราวการปรับเปลี่ยนชีวิตของ "แอน" จากแม่ค้าข้าวมันไก่และวินมอเตอร์ไซค์ เธอเลือกความปลอดภัยและความสุขของครอบครัวด้วยการปลูกผัก สร้างรายได้และแรงบันดาลใจให้คนที่อยากปลูกผัก จนเป็น "ครูแอน" ผู้สอนปลูกผักขวัญใจมหาชน
รมณีย์...ตำบลนี้ปลอดหนี้ 100%กว่า 20 ปีที่แล้ว มีโครงการที่ทำให้ชาว ต.รมณีย์ อ.กะปง จ.พังงา กู้ยืมเงินไปใช้ แต่ไม่สามารถหาเงินมาคืนได้ ต้องกู้ยืมเงินนอกระบบมาคืน แต่ปัญหาไม่จบจนเป็นวัฏจักรหนี้ ชาวบ้านจึงหาวิธีจัดการ จนกลายเป็นสถาบันการเงินชุมชน ต.รมณีย์ ในปัจจุบัน
เรียนแบบอิสบาเกลพาไปดูห้องเรียนของเด็กหญิงวัย 8 ปี ที่มีนาข้าวเป็นกระดานดำ มีสัตว์เลี้ยงเป็นเพื่อนร่วมชั้น มีทุ่งนา ท้องฟ้า นาข้าว และคุณปู่วัย 45 ปี เป็นครูสอนวิชาชีวิต
เกาะยาวน้อย ท่องเที่ยวยั่งยืนระดับโลกพาไปเที่ยว "เกาะยาวน้อย" เป็น 1 ใน 14 เกาะที่สวยที่สุดในโลก วิวทิวทัศน์งดงาม ทรัพยากรธรรมชาติอุดมสมบูรณ์ และผู้คนมีวิถีชีวิตในแบบของตัวเอง มีน้ำใจต่อกัน และเป็นมิตรกับนักท่องเที่ยว
ครูอนุบาลสะท้านโรงเรียนมารู้จัก "ครูแบงค์" ครูอาสากับชุดสุดสะท้าน และลีลาการสอนที่ไฉไลไปทั้งอำเภอ ผู้ประกาศตัวอยากเป็นครูไปตลอดชีวิต เป็นทั้งครูและนักเรียน ด้วยความหวังสอบบรรจุเป็นข้าราชการครูให้ได้
ทอกะยาย หัวใจคืนถิ่น“โอ้ - พัฒนชัย” หันหลังให้งานประจำ ปักหลักถักทอชีวิตบนผืนผ้าร่วมกับช่างฝีมือสูงวัย ผ่านผลิตภัณฑ์ผ้าพื้นถิ่น ออกแบบ ดีไชน์ผ้า และทำการตลาดออนไลน์ เพื่อพางานฝีมือออกเดินทางและสร้างรายได้ให้ผู้สูงวัยในชุมชน
ดงน้อยเธียร์เตอร์เรื่องราวของนักการละครหุ่น "ครูเซียง" กับการใช้กระติบข้าวเหนียวสร้างสรรค์เป็นหุ่นเชิด ผสมผสานหมอลำพื้นบ้าน กลายเป็นการแสดงละครหุ่นหมอลำกระติบ เปลี่ยน "บ้านดงน้อย" จ.มหาสารคาม ให้เป็นที่รู้จักในฐานะหมู่บ้านท่องเที่ยว
"หมึก" ดีลิเวอรี รอดไปด้วยกันเพื่อให้ชาวประมงอ่าวหมู จ.จันทบุรี รอดไปด้วยกันช่วงโควิด-19 "เก่ง" พ่อค้าหน้าใหม่ อาสาพา "หมึก" ตัวเป็น ๆ จากชายฝั่งตะวันออก ไปเปิดพื้นที่ตลาดใหม่ในดินแดนที่ราบสูง เพื่อเปิดโอกาสธุรกิจ ก้าวข้ามข้อจำกัด นำส่งอาหารทะเลอย่างมีคุณภาพ
ตั้ม PILA…เกษตรกรสายแฟ(ชั่น)เพราะต้องดูแลคุณพ่อที่ป่วย ทำให้ "ตั้ม" กลับมาใช้ชีวิตที่บ้านเกิด จ.เพชรบูรณ์ ใช้ทักษะการออกแบบและด้านมาร์เก็ตติ้ง แปลงโฉมผลิตภัณฑ์การเกษตร ให้กลายเป็นสินค้าที่เหมาะกับคนเมือง ทำให้ลูกค้ารู้จักเพชรบูรณ์ในมุมใหม่อย่างไม่น่าเชื่อ
Start Up สล่าไม้"บ้านสล่าไม้" จ.ลำพูน แหล่งรวมตัวในการทำงานของบรรดาช่างเฟอร์นิเจอร์ ภายใต้การทำงานแบบ Co-Working Space เกิดจากแรงบันดาลใจของคนรุ่นใหม่ที่หันกลับมาบ้าน หวังพัฒนางานช่างไม้ให้มีเสน่ห์ ดึงดูดคนรุ่นใหม่ให้กลับมาทำงานที่บ้านเกิด