ค้นหา
ทีวีออนไลน์
เว็บไซต์ในเครือ
เว็บไซต์บริการ

โทษทีพี่ไม่ MASS

ออกอากาศ3 พ.ค. 68

เรื่องเล่าจากกลุ่มคนดนตรียุค 2000 ที่มีความชื่นชอบการฟังเพลงนอกกระแส ทั้ง Penguin Villa, วง Slur และวง The Richman Toy ที่จะมาบอกเล่าถึงเรื่องบันดาลใจที่ทำให้พวกเขาอยากมีเพลงเป็นของตัวเอง รวมไปถึงเจาะวิธีคิดในการสร้างผลงานเพลงที่แตกต่างไม่เหมือนใคร พร้อมกับโชว์เพลงฮิตที่ไปที่ไหนก็ต้องเล่นกับเพลง

Acrophobia - Penguin Villa
Good Morning - Penguin Villa
เซโรงัง - Slur
หรือ - Slur
กระเป๋าแบนแฟนยิ้ม - The Richman Toy
ธิดาประจำอำเภอ - The Richman Toy

3 วงดนตรีอินดี้ ที่พี่ขอเป็นตัวของตัวเอง

Penguin Villa

เจตมนต์ มละโยธา (เจ) เริ่มเข้าสู่วงการดนตรีในขณะที่เขากาลังศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 2 คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ด้วยการเป็นมือกีต้าร์ของวง พราว หลังจากนั้น เจ เริ่มงาน กับค่ายเพลงสมอลล์รูม จากการทาเพลงประกอบโฆษณามากมายหลายชิ้น เพลงที่พอจะคุ้นหูกันบ้างก็อย่าง Happy D-Prompt, Heineken, Hutch, PCT, Scott เป็นต้น

Penguin Villa เริ่มเข้าสู่วงการดนตรีในขณะที่เขากาลังศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 2 คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ด้วยการเป็นมือกีต้าร์ของวง พราว หลังจากนั้น เจ เริ่มงานกับค่ายเพลงสมอลล์รูม จากการทำเพลงประกอบโฆษณามากมายหลายชิ้น เมื่อทางค่ายเพลงสมอลล์รูมออกอัลบั้มรวมเพลงของค่ายในอัลบั้ม "Smallroom 001 : What Happens in This Smallroom?" เจ ได้มีส่วนร่วมในการผลิต และในอัลบั้มนี้เองเขาได้ทำเพลงในนามของ เพนกวินวิลล่า (Penguin Villa) ในเพลง "ใครจะรู้"

ที่มาของชื่อเพนกวินวิลล่า (Penguin Villa) เกิดจากตอนที่ เจ เป็นเด็กเล่นเกมกับเพื่อน ซึ่งเป็นเกมที่ใช้ตัวละครในเกมเป็นนก และนกตัวที่ เจ เล่นแทนตัวคือ เพนกวิน และคนที่ให้เล่มเกมนี้คือแม่ของเจ และแม่เคยบอกว่า "นกเพนกวินมันเหมือนเจเลยนะ มันช้า ๆ อ้วน ๆ" ด้วยความที่ตอนเด็กนั้น เจ รูปร่างอ้วน ส่วนคำว่า "วิลล่า" มาจากการ์ตูนเรื่อง ด็อกเตอร์สลัมกับหนูน้อยอาราเร่ ซึ่งในเนื้อเรื่องในการ์ตูนจะเป็นเรื่องราวในหมู่บ้านเพนกวิน เจ ชอบชื่อนี้จึงนำมาใช้เป็นชื่อ เพนกวินวิลล่า

วง Slur

ในปี พ.ศ. 2548 เย่ และเอม ได้ เริ่มต้นทำเพลงในโปรเจกต์ชื่อ "เดอะ เซฟพาร์" เพลงแรกของพวกเขาได้รับการเผยแพร่ในงาน แฟตเฟสติวัล ครั้งที่ 3 และขายหมดในจำนวน 50 แผ่น ต่อมาเมื่อสมาชิกใหม่อย่างกาหลิบ(เบส) และแบงค์ (ทรัมเป็ต) เข้าร่วม วงจึงเริ่มมีการสร้างเพลงที่ ผสมผสานเสียงเครื่องเป่าอย่างโดดเด่น

สมาชิกในวงมีการเปลี่ยนแปลงหลายครั้ง โดยเป้ (มือกีตาร์) เข้าร่วมในช่วงที่วงเริ่มพัฒนาแนวเพลงและซาวด์ที่มีเอกลักษณ์มากยิ่งขึ้น ก่อนที่ในเวลาต่อมากาหลิบจะออกจากวง และบู้เข้ามาแทนที่ในตำแหน่งมือเบส วงเซ็นสัญญากับค่าย สมอลล์รูม และปล่อยอัลบั้มเต็ม ชุดแรก boo! ในปี พ.ศ. 2549 ซึ่งได้รับเสียงตอบรับที่ดีและเริ่มเป็นที่รู้จักในวงกว้าง

อัลบั้มชุดที่สาม บุ้ง (Slug) เปิดตัวในปี พ.ศ. 2553 พร้อมการนำเสนอแนว Dance Rock ที่เติมเต็มด้วยซาวด์อิเล็กทรอนิกส์ ทำให้เพลงฮิตอย่าง "เซโรงัง" ได้รับความนิยมและกลายเป็นซิกเนเจอร์ของวง ในปี พ.ศ. 2554 เป้ขอลาออกจากวงเพื่อโฟกัสกับงานแสดง และได้เฮ้าส์ (สรศักดิ์ จันทรมัณฑนา) เข้ามารับตำแหน่งมือกีตาร์คนใหม่

สเลอ คือวงที่ไม่เพียงแต่สร้างดนตรีที่ฟังสนุกและน่าจดจำ แต่ยังเต็มไปด้วยพลังของความคิดสร้างสรรค์ พวกเขายังคงเป็นตัวแทนของวงดนตรีที่กล้าทดลอง และยืนหยัดในเส้นทางดนตรีอย่างมั่นคงในวงการเพลงไทย

The Richman Toy

คำว่าเดอะริชแมนทอย มาจากคำโปรยของรถโฟล์กเต่า ที่ว่า “โฟล์กสวาเกน อิส

นอท อะ คาร์, อิส อะ ริชแมนส์ ทอย”( Volkswagen isn't a car, it's a rich man's toy.) รถโฟล์กเต่าไม่ใช่แค่รถ แต่มันคือของเล่นคนรวย ต้องมีเงินถึงเล่นได้ เป็นคำที่แปลกดี มีความเก๋ไก๋ จึงถูกนำมาตั้งเป็นชื่อวง

การเริ่มต้นของวงเกิดจากการทำเพลงเสนอค่ายต่าง ๆ และฝึกซ้อมจนได้มีโอกาสส่งผลงานให้ค่ายใหญ่ ซึ่งค่ายก็ชื่นชอบผลงานเพลง "สาวรำวง" และ "ดาวเด่น" จนทำให้วงเป็นที่รู้จักในวงกว้าง แม้ในช่วงแรกสมาชิกวงไม่ได้คาดหวังว่าจะมีใครชื่นชอบผลงาน เนื่องจากทำเพลงตามความต้องการและรสนิยมส่วนตัว

แรงบันดาลใจของวงมาจากวงร็อกอเมริกันชื่อดังในยุคนั้น อย่าง The Strokes, Kings of Leon และ Arctic Monkeys ซึ่งสมาชิกในวงต่างชื่นชอบและได้รับอิทธิพลทางดนตรี อย่างไรก็ตาม แนวดนตรีของพวกเขาถือว่าแปลกแยกในช่วงที่ยังเป็นนักศึกษา เพราะในยุคนั้นดนตรีฝั่งตะวันตกกำลังนิยมแนว Emo ขณะที่ในประเทศไทยกำลังนิยมวงอย่าง Bakery และ Fat Radio ซึ่งมีแนวทางที่แตกต่างออกไป

แม้จะไม่ได้คาดหวังว่าใครจะชื่นชอบผลงาน แต่พวกเขาเชื่อว่าน่าจะมีกลุ่มคนที่มีรสนิยมคล้ายกันอยู่บ้าง การทำเพลงในแนวทางนี้จึงเป็นการแสดงออกถึงความเป็นตัวของตัวเองและความเท่ในแบบฉบับวัยรุ่น

ติดตามรายการนักผจญเพลง REPLAY ตอน โทษทีพี่ไม่ MASS วันเสาร์ที่ 3 พฤษภาคม 68 เวลา 21.30 - 22.20 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมทีวีออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live

เรื่องเล่าจากกลุ่มคนดนตรียุค 2000 ที่มีความชื่นชอบการฟังเพลงนอกกระแส ทั้ง Penguin Villa, วง Slur และวง The Richman Toy ที่จะมาบอกเล่าถึงเรื่องบันดาลใจที่ทำให้พวกเขาอยากมีเพลงเป็นของตัวเอง รวมไปถึงเจาะวิธีคิดในการสร้างผลงานเพลงที่แตกต่างไม่เหมือนใคร พร้อมกับโชว์เพลงฮิตที่ไปที่ไหนก็ต้องเล่นกับเพลง

Acrophobia - Penguin Villa
Good Morning - Penguin Villa
เซโรงัง - Slur
หรือ - Slur
กระเป๋าแบนแฟนยิ้ม - The Richman Toy
ธิดาประจำอำเภอ - The Richman Toy

3 วงดนตรีอินดี้ ที่พี่ขอเป็นตัวของตัวเอง

Penguin Villa

เจตมนต์ มละโยธา (เจ) เริ่มเข้าสู่วงการดนตรีในขณะที่เขากาลังศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 2 คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ด้วยการเป็นมือกีต้าร์ของวง พราว หลังจากนั้น เจ เริ่มงาน กับค่ายเพลงสมอลล์รูม จากการทาเพลงประกอบโฆษณามากมายหลายชิ้น เพลงที่พอจะคุ้นหูกันบ้างก็อย่าง Happy D-Prompt, Heineken, Hutch, PCT, Scott เป็นต้น

Penguin Villa เริ่มเข้าสู่วงการดนตรีในขณะที่เขากาลังศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 2 คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ด้วยการเป็นมือกีต้าร์ของวง พราว หลังจากนั้น เจ เริ่มงานกับค่ายเพลงสมอลล์รูม จากการทำเพลงประกอบโฆษณามากมายหลายชิ้น เมื่อทางค่ายเพลงสมอลล์รูมออกอัลบั้มรวมเพลงของค่ายในอัลบั้ม "Smallroom 001 : What Happens in This Smallroom?" เจ ได้มีส่วนร่วมในการผลิต และในอัลบั้มนี้เองเขาได้ทำเพลงในนามของ เพนกวินวิลล่า (Penguin Villa) ในเพลง "ใครจะรู้"

ที่มาของชื่อเพนกวินวิลล่า (Penguin Villa) เกิดจากตอนที่ เจ เป็นเด็กเล่นเกมกับเพื่อน ซึ่งเป็นเกมที่ใช้ตัวละครในเกมเป็นนก และนกตัวที่ เจ เล่นแทนตัวคือ เพนกวิน และคนที่ให้เล่มเกมนี้คือแม่ของเจ และแม่เคยบอกว่า "นกเพนกวินมันเหมือนเจเลยนะ มันช้า ๆ อ้วน ๆ" ด้วยความที่ตอนเด็กนั้น เจ รูปร่างอ้วน ส่วนคำว่า "วิลล่า" มาจากการ์ตูนเรื่อง ด็อกเตอร์สลัมกับหนูน้อยอาราเร่ ซึ่งในเนื้อเรื่องในการ์ตูนจะเป็นเรื่องราวในหมู่บ้านเพนกวิน เจ ชอบชื่อนี้จึงนำมาใช้เป็นชื่อ เพนกวินวิลล่า

วง Slur

ในปี พ.ศ. 2548 เย่ และเอม ได้ เริ่มต้นทำเพลงในโปรเจกต์ชื่อ "เดอะ เซฟพาร์" เพลงแรกของพวกเขาได้รับการเผยแพร่ในงาน แฟตเฟสติวัล ครั้งที่ 3 และขายหมดในจำนวน 50 แผ่น ต่อมาเมื่อสมาชิกใหม่อย่างกาหลิบ(เบส) และแบงค์ (ทรัมเป็ต) เข้าร่วม วงจึงเริ่มมีการสร้างเพลงที่ ผสมผสานเสียงเครื่องเป่าอย่างโดดเด่น

สมาชิกในวงมีการเปลี่ยนแปลงหลายครั้ง โดยเป้ (มือกีตาร์) เข้าร่วมในช่วงที่วงเริ่มพัฒนาแนวเพลงและซาวด์ที่มีเอกลักษณ์มากยิ่งขึ้น ก่อนที่ในเวลาต่อมากาหลิบจะออกจากวง และบู้เข้ามาแทนที่ในตำแหน่งมือเบส วงเซ็นสัญญากับค่าย สมอลล์รูม และปล่อยอัลบั้มเต็ม ชุดแรก boo! ในปี พ.ศ. 2549 ซึ่งได้รับเสียงตอบรับที่ดีและเริ่มเป็นที่รู้จักในวงกว้าง

อัลบั้มชุดที่สาม บุ้ง (Slug) เปิดตัวในปี พ.ศ. 2553 พร้อมการนำเสนอแนว Dance Rock ที่เติมเต็มด้วยซาวด์อิเล็กทรอนิกส์ ทำให้เพลงฮิตอย่าง "เซโรงัง" ได้รับความนิยมและกลายเป็นซิกเนเจอร์ของวง ในปี พ.ศ. 2554 เป้ขอลาออกจากวงเพื่อโฟกัสกับงานแสดง และได้เฮ้าส์ (สรศักดิ์ จันทรมัณฑนา) เข้ามารับตำแหน่งมือกีตาร์คนใหม่

สเลอ คือวงที่ไม่เพียงแต่สร้างดนตรีที่ฟังสนุกและน่าจดจำ แต่ยังเต็มไปด้วยพลังของความคิดสร้างสรรค์ พวกเขายังคงเป็นตัวแทนของวงดนตรีที่กล้าทดลอง และยืนหยัดในเส้นทางดนตรีอย่างมั่นคงในวงการเพลงไทย

The Richman Toy

คำว่าเดอะริชแมนทอย มาจากคำโปรยของรถโฟล์กเต่า ที่ว่า “โฟล์กสวาเกน อิส

นอท อะ คาร์, อิส อะ ริชแมนส์ ทอย”( Volkswagen isn't a car, it's a rich man's toy.) รถโฟล์กเต่าไม่ใช่แค่รถ แต่มันคือของเล่นคนรวย ต้องมีเงินถึงเล่นได้ เป็นคำที่แปลกดี มีความเก๋ไก๋ จึงถูกนำมาตั้งเป็นชื่อวง

การเริ่มต้นของวงเกิดจากการทำเพลงเสนอค่ายต่าง ๆ และฝึกซ้อมจนได้มีโอกาสส่งผลงานให้ค่ายใหญ่ ซึ่งค่ายก็ชื่นชอบผลงานเพลง "สาวรำวง" และ "ดาวเด่น" จนทำให้วงเป็นที่รู้จักในวงกว้าง แม้ในช่วงแรกสมาชิกวงไม่ได้คาดหวังว่าจะมีใครชื่นชอบผลงาน เนื่องจากทำเพลงตามความต้องการและรสนิยมส่วนตัว

แรงบันดาลใจของวงมาจากวงร็อกอเมริกันชื่อดังในยุคนั้น อย่าง The Strokes, Kings of Leon และ Arctic Monkeys ซึ่งสมาชิกในวงต่างชื่นชอบและได้รับอิทธิพลทางดนตรี อย่างไรก็ตาม แนวดนตรีของพวกเขาถือว่าแปลกแยกในช่วงที่ยังเป็นนักศึกษา เพราะในยุคนั้นดนตรีฝั่งตะวันตกกำลังนิยมแนว Emo ขณะที่ในประเทศไทยกำลังนิยมวงอย่าง Bakery และ Fat Radio ซึ่งมีแนวทางที่แตกต่างออกไป

แม้จะไม่ได้คาดหวังว่าใครจะชื่นชอบผลงาน แต่พวกเขาเชื่อว่าน่าจะมีกลุ่มคนที่มีรสนิยมคล้ายกันอยู่บ้าง การทำเพลงในแนวทางนี้จึงเป็นการแสดงออกถึงความเป็นตัวของตัวเองและความเท่ในแบบฉบับวัยรุ่น

ติดตามรายการนักผจญเพลง REPLAY ตอน โทษทีพี่ไม่ MASS วันเสาร์ที่ 3 พฤษภาคม 68 เวลา 21.30 - 22.20 น. ทางไทยพีบีเอส หรือรับชมทีวีออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live

ละครดี ซีรีส์เด่น

ดูทั้งหมด

♫ ♫ Songs Popular ♫ ♫

ดูทั้งหมด

คลิปมาใหม่

คนดูเยอะ 👀

ดูทั้งหมด

เสน่ห์ประเทศไทย