บ้านหนองกลับ ต.หนองกลับ อ.สวรรคโลก จ.สุโขทัย เป็นชุมชนขนาดใหญ่มีอาชีพทำไร่ทำนา มาตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษ จึงมีวิถีชิวิตที่ผูกพันกับการทำมาหากินอย่างลึกซึ้ง มีการเรียกสินสอดที่สร้างความมั่นคงด้านที่อยู่อาศัยให้ลูกหลาน มีความภาคภูมิใจในรถอีกอีแต๋นหรือรถไทยแลนด์คู่ครอบครัว
ผู้ใหญ่สำเริง เตือนสติ ผู้ใหญ่บ้าน บ้านหนองกลับ บอกว่าคนหนองกลับมีภาษาถิ่นที่เป็นเอกลักษณ์ และมีธรรมเนียมการเรียกสินสอดที่ไม่เหมือนใคร นั่นคือ หากลูกสาวจะแต่งงาน เถ้าแก่จะเรียกค่าสินสอดเป็นบ้านหนึ่งหลัง หรือเรียก "บ้านสินสอด" ซึ่งขนาดของบ้านแล้วแต่ฐานะและความสามารถของฝ่ายเจ้าบ่าว โดยนับจากจำนวนเสาเรือน ตั้งแต่ 9 - 16 ต้น ส่วนเงินนั้นเรียกพอเป็นพิธี เช่น บ้านหนึ่งหลัง เงิน 49 บาท, บ้านหนึ่งหลัง เงิน 99 บาท
สมชาย กันจิตร (จ๊อก) และรัตติพร กันจิตร (ฝ้าย) อายุ 26 ปี เพิ่งแต่งานได้เกือบ 3 ปี บอกว่าบ้านที่อยู่ก็เป็นบ้านสินสอดที่พวกเขาภูมิใจและหากมีลูกสาวก็จะเรียกสินสอดแบบนี้ และให้ลูกปลูกบ้านใกล้ ๆ กัน
สมศักดิ์ รอดทอง นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองกลับ เล่าว่าเกือบร้อยละ 90 ของบ้านเรือนที่นี่เป็นบ้านสินสอด บ้านส่วนใหญ่จะปลูกใกล้กับบ้านพ่อแม่ฝ่ายหญิง ซึ่งในบริเวณเดียวกันอาจจะมีบ้านปลูกติดกันมากถึง 4 - 5 หลัง และธรรมเนียมการเรียกบ้านสินสอดที่สืบทอดกันมายาวนานอีกทั้งยังได้รับการสานต่อโดยคนรุ่นใหม่นี้เอง ทำให้หนองกลับมีบ้านเรือนที่หนาแน่น หลังคาเกยกัน แน่นแบบที่ เรียกว่า "ไก่บินไม่ตก"
นอกจากความหนาแน่นของบ้านเรือนแล้ว หนองกลับยังหนาแน่นไปด้วยรถอีแต๋นหรือรถไทยแลนด์ จำนวนเกือบ 4,000 คัน เป็นรถในฝันใครอยากจะมีไว้ครอบครอง ที่ต้องมีแทบทุกบ้าน ขับได้ทั้งชายหญิง เพราะรถสารพัดประโยชน์ คันเดียวไปได้ทุกสภาพเส้นทาง โดยเฉพาะงานไร่งานนา นับว่าเป็นรถที่ขาดไม่ได้ เป็นรถที่ราคาไม่ถึง 500,000 แต่ใช้งานได้คุ้มค่ากว่ารถกระบะคันงาม
วิถีการทำมาหากินของคนหนองกลับอีกอย่างที่มีชื่อเสียงคือ การทำกลอย ซึ่งเป็นกลอยที่หาได้ในธรรมชาติใกล้หมู่บ้าน โดยคนขุดกลอยมือหนึ่ง ก็คือลุงแปรง ศักดิ์สิทธิ์ อายุ 70 ปี ลุงบอกว่าขุดหากลอยมาขายตั้งแต่อายุ 17 ปี ทุกวันนี้ยังมีแรงขึ้นเขาไปขุดกับลูก ๆ หลาน ๆ แม้จะมีก้อนหินเป็นอุปสรรค แต่ประสบการณ์ของลุงและทีมงานก็สามารถขุดกลอยได้วันละหลายร้อยกิโลกรัม พอมีรายได้เสริม ที่สำคัญมีคนรับซื้ออยู่ในหมู่บ้านไม่ต้องไปขายไกล โดยคนซื้อก็คือ ป้าชดา ศักดิ์สิทธิ์ แลป้าสมร สุกกล้า เป็นทั้งคนรับซื้อและทำกลอยขาย บอกว่าป้าสองคนอาจจะเป็นคนทำกลอยคนสุดท้ายของหมู่บ้านเพราะการทำกลอยนั้นยุ่งยาก ใช้แรงแยอะ หลายขั้นตอน ทั้งปอก แช่ ล้าง 7-8 น้ำ ใช้เวลา 2 - 3 คืน กว่าจะสามารถนำไปกินไปขายได้
ป้าดา และป้าหมอน มีความสุขจากกลอย ทั้งในแง่รายได้และคำชมจากลูกค้าในด้านคุณภาพและรสชาติ แม้ป้า ๆ จะเสียดายที่ไม่มีผู้สืบทอด แต่ยังตั้งใจจะทำจนกว่าร่างกายจะสู้ไม่ไหว
ติดตามในรายการซีรีส์วิถีคน วันจันทร์ที่ 11 กรกฎาคม 2565 เวลา 17.30 - 18.00 น. ทางไทยพีบีเอส รับชมออนไลน์ทาง www.thaipbs.or.th/Live
ซีรีส์วิถีคน
ลุงโปร่ง คนขับเรือรับ - ส่งนักเรียน
กินอยู่กับธรรมชาติ
กว่าจะได้มาของน้ำผึ้ง
หมู่บ้านรักต้นไม้
วิถีชีวิตเป็ดไล่ทุ่ง
หมู่บ้านจักรยาน
"ไอ้เคิ้ด เครื่องทุ่นแรงของชาวบ้าน
นกเงือกที่เกาะยาวน้อย
ทำความรู้จัก "ลูกชก"
วิธีการย่ำกั้ง
รถอีแต๊ก
มะพร้าวเผาแท้ แห่งคลองบางประทุน
สมุนไพรหลังบ้าน
ปลาย่างเตาดิน ป้าแป้น จ.ชัยนาท
ลิงขึ้นมะพร้าว
"ซ่อนปลา" การจับปลาตามวิถีโบราณ
หมู่บ้านดอกไม้
หมู่บ้านทอผ้าไหมโบราณ
คนตี้ผึ้งป่า
วัวควาย ธนาคารชาวบ้าน
เรือขนทราย
กว่าจะได้กิน "กลอย"
จักจั่นทะเล
หมู่บ้านฤๅษี
"ขมิ้นชัน" ขุมทรัพย์ใต้ดิน
“นาแซง” ริมแม่น้ำโขง
บ่อเกลือหัวแฮด
ขุมทรัพย์จากใต้ดิน
รถคอกหมู คืออะไร...?
กว่าจะเป็น "ครกบ้านกลาง"
ซีรีส์วิถีคน
ลุงโปร่ง คนขับเรือรับ - ส่งนักเรียน
กินอยู่กับธรรมชาติ
กว่าจะได้มาของน้ำผึ้ง
หมู่บ้านรักต้นไม้
วิถีชีวิตเป็ดไล่ทุ่ง
หมู่บ้านจักรยาน
"ไอ้เคิ้ด เครื่องทุ่นแรงของชาวบ้าน
นกเงือกที่เกาะยาวน้อย
ทำความรู้จัก "ลูกชก"
วิธีการย่ำกั้ง
รถอีแต๊ก
มะพร้าวเผาแท้ แห่งคลองบางประทุน
สมุนไพรหลังบ้าน
ปลาย่างเตาดิน ป้าแป้น จ.ชัยนาท
ลิงขึ้นมะพร้าว
"ซ่อนปลา" การจับปลาตามวิถีโบราณ
หมู่บ้านดอกไม้
หมู่บ้านทอผ้าไหมโบราณ
คนตี้ผึ้งป่า
วัวควาย ธนาคารชาวบ้าน
เรือขนทราย
กว่าจะได้กิน "กลอย"
จักจั่นทะเล
หมู่บ้านฤๅษี
"ขมิ้นชัน" ขุมทรัพย์ใต้ดิน
“นาแซง” ริมแม่น้ำโขง
บ่อเกลือหัวแฮด
ขุมทรัพย์จากใต้ดิน
รถคอกหมู คืออะไร...?
กว่าจะเป็น "ครกบ้านกลาง"