จากกรณีโลกโซเชียลมีการเผยแพร่โพสต์ภาพพร้อมระบุว่า ให้ระวังพายุหอยหมี ในวันที่ 9-13 พ.ค. 68 ทางกรมอุตุนิยมวิทยาได้โพสต์ชี้แจงเรื่องดังกล่าวที่เผยแพร่ชื่อพายุและภาพถ่ายดาวเทียมเป็นข้อมูลเท็จ
ขณะที่คำชี้แจงจาก กรมอุตุนิยมวิทยา กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ระบุ ตามที่มีสื่อสังคมออนไลน์ ได้เผยแพร่ภาพถ่ายดาวเทียมและข้อความ
“!! โทษน้า พายุเข้าเตือนภัยเนี่ย!” กรมอุตุฯ ขอชี้แจงว่า ข้อความดังกล่าว เป็นเท็จ 9-13 พ.ค. 68 ยังไม่มีพายุที่ก่อตัวใกล้ประเทศไทยและไม่มีรายชื่อตามตารางการเรียกชื่อพายุดังกล่าว ดังนั้น อย่าได้ตื่นตระหนกกับข้อความดังกล่าว ขอให้ตรวจสอบข้อมูลจากกรมอุตุนิยมวิทยาหรือหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องเท่านั้น “ขอให้งดการส่งต่อข้อความดังกล่าว ผู้เผยแพร่หรือส่งต่อข้อความอาจมีความผิดตามกฎหมาย”
โดยจำนวนพายุหมุนเขตร้อนในแถบมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก และทะเลจีนใต้ ปี 2567 จากบันทึกตาม RSMC โตเกียว มีจำนวนพายุทั้งหมด 26 ลูก ลูกสุดท้ายของปี คือ พายุ “ปาบึก” เกิดขึ้นเมื่อ 22 ธ.ค. 67
รายชื่อพายุหมุนเขตร้อนที่ก่อตัวบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกเหนือด้านตะวันตกและทะเลจีนใต้
โดยรายชื่อของพายุลูกถัดไปที่จะถูกใช้ คือ WUTIP หวู่ติบ ส่วนรายชื่อพายุหมุนเขตร้อนที่ก่อตัวบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกเหนือด้านตะวันตกและทะเลจีนใต้หลังจากนี้ อาทิ
SEPAT เซอปัต, MUN มูน, DANAS ดานัส, NARI นารี WIPHA วิภา, FRANCISCO ฟรานซิสโก, CO-MAY ก๋อมัย, KROSA กรอซา BAILU ไป๋ลู่ เป็นต้น
ข้อมูลจาก กลุ่มวิเทศสัมพันธ์กองพัฒนาอุตุนิยมวิทยา
สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ รายชื่อพายุหมุนเขตร้อน กรมอุตุนิยมวิทยา