“จริง ๆ หัวใจหลักของการทำข่าว เมื่อมีแหล่งข้อมูลมาจากไหน จะเป็นคน เอกสารหรืออะไรก็แล้วแต่ แหล่งข่าวมีทั้งมีชีวิต ไม่มีชีวิต สิ่งสำคัญคือ Fast check”
คุณคณิศ บุณยพานิช บรรณาธิการบริหาร ด้านข่าวสืบสวน สำนักข่าว Thai PBS พูดถึงแก่นสำคัญของการทำงานข่าว โดยเน้นว่าก่อนจะเชื่อ หรือเสนอข่าวใด ๆ ไม่ว่าข่าวจะเป็นเชิงสืบสวน หรือเป็นการตรวจสอบข้อมูลข่าวปลอม (Verify) สิ่งที่ต้องทำเสมอคือ “ตรวจสอบต้นตอของแหล่งข่าว”
แหล่งข่าวที่เป็นคน เชื่อไม่ได้ทันที ต้องรู้ว่าเขาคือใคร
สำหรับแหล่งข่าวที่เป็น “บุคคล” คุณคณิศย้ำว่า นักข่าวก็ยังไม่ควรปักใจเชื่อจนกว่าจะรู้ว่า
- เขาเกี่ยวข้องกับเรื่องนั้นอย่างไร?
- เขาเป็นผู้เสียหาย หรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย?
- เขามีแรงจูงใจอะไรในการให้ข้อมูล?
“ไม่ใช่แค่การโทรคุยเท่านั้น เราต้องเจอตัวด้วย ถ้ามีโอกาสได้พบกันต่อหน้า ควรนัดเจอ เพราะหลายเรื่องต้องพูดคุยกันแบบเห็นหน้า ส่วนบางเรื่องที่นัดเจอไม่ได้ ก็ควรพูดคุยกันให้มากที่สุด เพื่อแนะนำตัวกันว่าเขาเป็นใคร เราเป็นใคร”
“แน่นอนว่าเราเปิดเผยตัวตนอยู่แล้วว่าเป็นผู้สื่อข่าว ส่วนเขาจะเลือกเปิดเผยตัวเองหรือไม่ ขึ้นอยู่กับระดับความสัมพันธ์ที่เราสร้างร่วมกัน เพราะ ‘ความไว้ใจ’ ไม่ได้เกิดขึ้นจากการคุยกันแค่ครั้งเดียว แต่มาจากกระบวนการที่ค่อย ๆ สะสม ซึ่งนักข่าวแต่ละคนก็มีเทคนิคในการสร้างความไว้วางใจต่างกัน”
“เขาต้องเชื่อใจเรา และเราก็ต้องเชื่อใจเขาเช่นกัน แต่ไม่ได้หมายความว่าเราจะเชื่อข้อมูลทุกอย่างที่เขาให้มา เรายังจำเป็นต้องนำข้อมูลเหล่านั้นไปตรวจสอบและ Cross check เสมอ” คุณคณิศ กล่าว
บทเรียนจากสนามข่าว: นักข่าวต้องไม่เป็นเครื่องมือของใคร
คุณคณิศทิ้งท้ายว่า เราต้องรับฟังทุกฝ่าย และยึดประโยชน์ของเรื่องเป็นหลัก หากการนำเสนอข่าวให้ประโยชน์กับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเพียงฝ่ายเดียว ก็อาจทำให้เกิดความไม่เป็นธรรม แต่สิ่งสำคัญที่สุดคือ คนที่ได้ประโยชน์จริง ๆ ต้องเป็นสาธารณะ”
เราต้องยืนยันว่า เราไม่ได้เป็นศัตรูกับใคร ไม่ได้เป็นคู่ขัดแย้งกับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง คนสองคนอาจมีปัญหากัน แต่ไม่ได้หมายความว่าเราจะต้องเข้าไปอยู่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง เราเพียงทำหน้าที่นำเสนอข้อมูลจากทุกมุม เพื่อให้คนดูหรือคนอ่านได้ใช้วิจารณญาณในการตัดสินใจว่าจะเชื่อหรือไม่เชื่อ”
หน้าที่ของเราคือการตั้งเป้าหมายให้ชัด ว่าข่าวนี้จะนำไปสู่การแก้ไขปัญหาอะไร ไม่ใช่แค่รายงานเรื่องราวแล้วจบ เราต้องปักธงไว้ตั้งแต่ต้น ร่วมกับทีมงานว่า จุดหมายปลายทางของการทำข่าวนี้คืออะไร และจะช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงหรือทางออกที่ดีขึ้นได้อย่างไร
สามารถติดตามการตรวจสอบข่าวก่อนจะมาเป็นข่าวสืบสวนสอบสวนที่นำเสนอสู่ประชาชนจากคุณคณิศ บุณยพานิช บรรณาธิการบริหารข่าวสืบสวน สำนักข่าว Thai PBS ในหัวข้อ “เกมลวงข่าว ข่าวลวงคน” ซึ่งจะถอดบทเรียนจากงานข่าวสืบสวน เจาะลึกเบื้องหลังเครือข่ายข่าวปลอม และการจัดการข้อมูลบิดเบือนอย่างเป็นระบบได้ ในงาน “Thai PBS Verify Talk: #ฟีดนี้ไม่มีข่าวลวง” ครั้งแรก! กับการรวมตัวของ 13 Speakers และ 12 Sessions บนเวทีทอล์กเดียวกัน ซึ่งจัดโดยสำนักสื่อดิจิทัล ที่จะมาเติมเต็มข้อมูล เจาะลึกทุกแง่มุม เพื่อให้คุณ ‘รู้ก่อนแชร์ แยกแยะก่อนเชื่อ’ และช่วยกันหยุดข่าวลวงไม่ให้แพร่กระจายในหน้าฟีด
พบกันวันจันทร์ที่ 30 มิถุนายน 2568 เวลา 12.30 – 16.45 น. ณ คอนเวนชันฮอลล์ 2 อาคาร D ไทยพีบีเอส ถ.วิภาวดีรังสิต พร้อมชมบูทนิทรรศการจาก Thai PBS Verify และรายการสถานีประชาชน
12 หัวข้อ จาก 13 ผู้เชี่ยวชาญด้านข่าวลวง
#1 : จากหน้างาน…สู่หน้าฟีด ปิดเกมข่าวปลอมในภาวะวิกฤต โดย รศ. ดร.ทวิดา กมลเวชช รองผู้ว่าราชการ กรุงเทพฯ
#2 : Deepfake .. ภัยเงียบจาก AI ความท้าทายใหม่ของสื่อ โดย คุณกนกพร ประสิทธิ์ผล ผู้อำนวยการสำนักสื่อดิจิทัล Thai PBS
#3 : ใครโทรมาหลอก ? เปิดโปงอาชญากรรมไซเบอร์ ด้วย Data โดย คุณกชศร ใจแจ่ม กรรมการผู้จัดการ ฝ่ายปฏิบัติการ บริษัท โกโกลุก ประเทศไทย (Whoscall)
#4 : จากสายร้องเรียน สู่ความจริงที่ตรวจสอบได้ โดย คุณกานดา จำปาทิพย์ บรรณาธิการ รายการสถานีประชาชน สำนักข่าว Thai PBS
#5 : ล่า ล้วง ลึก ! “ข่าวปลอม” กับดักหลอนในโลกไซเบอร์ โดย พ.ต.อ. เนติ วงษ์กุหลาบ รองผู้บังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี บช.ก. (CIB)
#6 : เกมลวงข่าว ข่าวลวงคน โดย คุณคณิศ บุณยพานิช บรรณาธิการบริหาร ด้านข่าวสืบสวน สำนักข่าว Thai PBS
#7 : “รัฐบาล vs ข้อมูลเท็จ” ในยุคแห่งความไม่ไว้วางใจ โดย คุณอนุกูล พฤกษานุศักดิ์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (TBC)
#8 : เราเช็กได้ ! นโยบายเท็จหรือทิพย์ โดย คุณอรุชิตา อุตมะโภคิน ผู้จัดการกลุ่มงานด้านนวัตกรรมการสื่อสาร The Active – Thai PBS
#9 : Fake News กับการเมืองไทย เมื่อข้อมูลกลายเป็นอาวุธ โดย คุณพรรณิการ์ วานิช กรรมการบริหารคณะก้าวหน้า
#10 : “ข่าวป่วน” ยุคโลกวุ่น โดย คุณแคลร์ ปัจฉิมานนท์ ผู้อำนวยการศูนย์ Thai PBS World
#11 : รู้ทัน รับมือ ปิดกั้นข่าวลวง #พื้นที่ปลอดภัยในการไถฟีด โดย คุณสิริประภา วีระไชยสิงห์ Outreach & Partnerships Manager, TikTok
#12 : “เหยื่อวิทยา” ความ “กลัว -โลภ- รัก” ถูกมิจฯ นำมาลวง โดย ดร.ตฤณห์ โพธิ์รักษา นักอาชญาวิทยาเชิงจิตวิทยาและพฤติกรรมอาชญากร มหาวิทยาลัยมหิดล
#13 : “รัฐบาล vs ข้อมูลเท็จ” ในยุคแห่งความไม่ไว้วางใจ โดย คุณวงศ์อะเคื้อ บุญศล โฆษกกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ฝ่ายการเมือง
ลงทะเบียนร่วมงานฟรี
แล้วพบกัน ! วันจันทร์ที่ 30 มิ.ย. 68 เวลา 12.30 – 16.45 น. ณ คอนเวนชันฮอลล์ 2 อาคาร D ไทยพีบีเอส ถ.วิภาวดีรังสิต
ผู้ที่สนใจลงทะเบียนร่วมงานฟรี ! ทาง LINE @ThaiPBS เพิ่มเพื่อนได้ที่ www.thaipbs.or.th/AddLINE แล้วพิมพ์คำว่า “ลงทะเบียน” ลงในช่องแชต หรือ คลิกที่นี่
ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.thaipbs.or.th/VerifyTalk2025