แชร์

Copied!

ตรวจสอบแล้ว: เพจรับสมัครแรงงานต่างด้าวส่งสินค้า กรมการจัดหางานยัน “ไม่มีจริง”

3 พ.ค. 6813:00 น.
สังคมและสุขภาพ#ข่าวปลอม
ตรวจสอบแล้ว: เพจรับสมัครแรงงานต่างด้าวส่งสินค้า กรมการจัดหางานยัน “ไม่มีจริง”

พบบัญชีเฟซบุ๊กแอบอ้างชื่อบริษัทขนส่งดัง รับสมัครแรงงานไม่ต้องมีเอกสารในเชียงราย ตรวจสอบแล้วไม่พบความเกี่ยวข้อง ด้านกรมการจัดหางานยัน ต่างด้าวสมัครงานต้องมีเอกสารเท่านั้น เตือนอย่าหลงเชื่อ

พบเพจเฟซบุ๊กหาหลอกรับแรงงานต่างด้าวที่ไม่มีเอกสารทำงานกับบริษัทขนส่งชื่อดัง อ้างมีที่พักในเชียงราย ด้านกรมการจัดหางานลงพื้นที่ตรวจสอบ พบไม่มีบริษัทนี้จริงในพื้นที่ และย้ำว่าแรงงานต่างด้าวต้องมีใบอนุญาตทำงานเท่านั้น

แหล่งที่มา Facebook 

Thai pbs verify ได้ทำการตรวจสอบพบเพจเฟซบุ๊ก  รับคนไทยไปทำงานญี่ปุ่นกับเกาหลี   แสดงความรู้สึกถูกใจ 2 คน และมีผู้ติดตาม 12 คน โพสต์รับสมัครงาน แรงงานพม่าคนไม่มีเอกสารประกาศ   บริษัท J&T Express Thailand  สถานที่ทำงานเชียงราย พร้อมที่พัก  นอกจากนี้เพจดังกล่าวยังได้โพสต์ไปยังกลุ่ม ศูนย์รวมแรงงานต่างด้าว รับสมัครงาน จัดหางาน รับจ้างเหมาแรงงานคนต่างด้าว MOU  มีการแสดงความรู้สึก 34 คน แสดงความคิดเห็น 17 ข้อความ  และแชร์ข้อมูลดังกล่าวไปกว่า 34 ครั้ง   

จากการตรวจสอบความคิดเห็นพบว่า เมื่อมีคนสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม จะใช้วิธีการตอบว่า “ทักแชตสอบถามได้”

ตรวจสอบแล้ว : หลอกสมัครงานต่างด้าว อ้างชื่อบริษัทขนส่ง กรมจัดหางานยันไม่มีอยู่จริง

ตรวจสอบแล้ว : หลอกสมัครงานต่างด้าว อ้างชื่อบริษัทขนส่ง กรมจัดหางานยันไม่มีอยู่จริง

ภาพเพจเฟซบุ๊ก ศูนย์รวมแรงงานต่างด้าว รับสมัครงาน จัดหางาน รับจ้างเหมาแรงงานคนต่างด้าว MOU

 

ตรวจสอบพบ : เพจหลอกแรงงานต่างด้าวสมัครงานขนส่ง กรมจัดหางานยันไม่มีอยู่จริง

ภาพเพจเฟซบุ๊ก ศูนย์รวมแรงงานต่างด้าว รับสมัครงาน จัดหางาน รับจ้างเหมาแรงงานคนต่างด้าว MOU

ตรวจสอบผ่านเครื่องมือ google lens

จากการตรวจสอบผ่านเครื่องมือ google lens พบภาพดังกล่าว ตรงกับภาพข่าวของหนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ  

ตรวจสอบพบ : เพจหลอกแรงงานต่างด้าวสมัครงานขนส่ง กรมจัดหางานยันไม่มีอยู่จริง
ภาพข่าวจากเว็บไซต์ประชาชาติธุรกิจ

และภาพอื่น ๆ ไปตรงกับข่าวของไปรษณีย์ไทย  ที่มีมาตรการขนส่งสินค้าช่วงโควิด - 19 และปรับลดราคา EMS จากเว็บไซต์ brandbuffet  (ลิงก์บันทึกนี่ และนี่)

ตรวจสอบแล้ว: เพจรับสมัครแรงงานต่างด้าวส่งสินค้า กรมการจัดหางานยัน

ภาพจาก ข่าวของไปรษณีย์ไทย ที่มีมาตรการขนส่งสินค้าช่วงโควิด - 19 และปรับลดราคา EMS

ภาพจาก ข่าวของไปรษณีย์ไทย  ที่มีมาตรการขนส่งสินค้าช่วงโควิด - 19 และปรับลดราคา EMS

ตรวจสอบความโปร่งใสของเพจ 

เราตรวจสอบพบว่า เพจดังกล่าว สร้างขึ้นเมื่อวันที่ 2 มกราคม 2024 แนะนำตัวเองเป็นเพจเฟซบุ๊กอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับการขนส่งแต่อย่างใด

ภาพจาก ข่าวของไปรษณีย์ไทย ที่มีมาตรการขนส่งสินค้าช่วงโควิด - 19 และปรับลดราคา EMS

ภาพจาก ข่าวของไปรษณีย์ไทย ที่มีมาตรการขนส่งสินค้าช่วงโควิด - 19 และปรับลดราคา EMS

ภาพตรวจสอบพบว่า เพจดังกล่าว สร้างขึ้นเมื่อวันที่ 2 มกราคม 2024

กรมจัดหางานย้ำแรงงานต่างชาติต้องมีใบอนุญาตทำงาน

 

นาย สมชาย มรกตศรีวรรณ อธิบดีกรมการจัดหางาน

นาย สมชาย มรกตศรีวรรณ อธิบดีกรมการจัดหางาน

นาย สมชาย มรกตศรีวรรณ อธิบดีกรมการจัดหางาน  กล่าวว่า กรมการจัดหางานได้มอบหมายให้สำนักงานจัดหางานจังหวัดเชียงราย ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ลงพื้นที่ตรวจสอบและติดตามเบาะแสการจ้างแรงงานต่างด้าวใน บริษัท ขนส่งพัสดุในพื้นที่ทั้งหมด 3 แห่ง ซึ่งจากการตรวจสอบเบื้องต้น ยังไม่พบว่า มีบริษัทขนส่งพัสดุใดที่เกี่ยวข้องกับการรับสมัครงานตามที่ปรากฏในโพสต์ดังกล่าว 

อย่างไรก็ตาม กรมการจัดหางานจะยังคงตรวจสอบการทำงานของแรงงานต่างชาติในทุกประเภทกิจการอย่างเข้มงวด และดำเนินการตามกฎหมายอย่างต่อเนื่อง

ทั้งนี้ แรงงานต่างชาติที่เข้ามาทำงานในประเทศไทยต้องมีเอกสารประจำตัวบุคคลและใบอนุญาตทำงานที่ถูกต้อง รวมทั้งต้องทำงานตามสิทธิที่กฎหมายกำหนด ตลอดจนปฏิบัติตามเงื่อนไขของกฎหมาย ที่ระบุไว้ในประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง กำหนดงานที่ห้ามคนต่างด้าวทำ (มีทั้งสิ้น 40 งาน) ซึ่งคนต่างด้าวที่ทำงานโดยไม่มีใบอนุญาตทำงาน หรือทำงานนอกเหนือสิทธิที่จะทำได้ จะมีโทษปรับตั้งแต่ 5,000 – 50,000 บาท และถูกส่งกลับประเทศต้นทาง รวมถึงถูกห้ามขอใบอนุญาตทำงานเป็นเวลา 2 ปี นับตั้งแต่วันที่ได้รับโทษ ในส่วนของนายจ้างหรือสถานประกอบการที่รับคนต่างด้าวที่ไม่มีใบอนุญาตทำงานเข้าทำงาน หรือให้คนต่างด้าวทำงานนอกเหนือจากที่มีสิทธิจะทำได้ จะมีโทษปรับตั้งแต่ 10,000 – 100,000 บาท ต่อคนต่างด้าวที่จ้างหนึ่งคน หากกระทำผิดซ้ำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับตั้งแต่ 50,000 – 200,000 บาท ต่อคนต่างด้าวที่จ้างหนึ่งคน และห้ามจ้างคนต่างด้าวทำงานเป็นเวลา 3 ปี

หากพบเห็นการจ้างคนต่างชาติทำงานโดยผิดกฎหมาย หรือพบคนต่างชาติลักลอบทำงานโดยผิดกฎหมาย สามารถแจ้งมาที่กองทะเบียนจัดหางานกลางและคุ้มครองคนหางาน กรมการจัดหางาน อาคารกระทรวงแรงงาน ชั้น 4 โทร. 02-354-1729 หรือที่สำนักงานจัดหางานจังหวัดทุกจังหวัด สำนักงานจัดหางานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1-10 หรือ ที่สายด่วนกระทรวงแรงงาน โทร.1506 กด 2 กรมการจัดหางาน หรือสายด่วน 1694 กรมการจัดหางาน

กระบวนการตรวจสอบ

  1. ตรวจสอบเพจเฟซบุ๊กต้นทาง (Facebook Page)
  • พบเพจเฟซบุ๊กชื่อ “รับคนไทยไปทำงานญี่ปุ่นกับเกาหลี”
  • ความน่าสงสัยของโพสต์ 
    • ที่ระบุเนื้อหาเกี่ยวกับการรับสมัครแรงงานเมียนมาที่ไม่มีเอกสาร
    • เมื่อลูกค้าสอบถามเพิ่มเติม ตอบกลับด้วยข้อความสั้น ๆ ว่า "ทักแชตสอบถามได้"
  1. ตรวจสอบรูปภาพผ่าน Google Lens:
  • พบรูปภาพบางส่วนถูกนำมาจากข่าวของ หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ
  • บางภาพตรงกับข่าวจาก ไปรษณีย์ไทย เกี่ยวกับมาตรการขนส่งช่วงโควิด-19 และการปรับราคา EMS ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับการรับสมัครงาน
  1. ตรวจสอบข้อมูลโปร่งใสของเพจ (Page Transparency):
  • พบว่าเพจสร้างขึ้นเมื่อวันที่ 2 มกราคม 2567
  • ระบุหมวดหมู่ว่าเป็น “เพจอสังหาริมทรัพย์” ไม่เกี่ยวข้องกับการจัดหางานหรือบริษัทขนส่งแต่อย่างใด
  1. สอบถามหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (กรมการจัดหางาน):
  • กรมการจัดหางานมอบหมายให้สำนักงานจัดหางานจังหวัดเชียงรายลงพื้นที่ตรวจสอบบริษัทขนส่ง 3 แห่ง ไม่พบว่ามีบริษัทใดเกี่ยวข้องกับโพสต์รับสมัครงานดังกล่าว

ข้อแนะนำเมื่อได้ข้อมูลเท็จนี้ ?

  1. อย่าแชร์หรือส่งต่อทันที
    • แม้เนื้อหาจะดูน่าเชื่อถือ ควรหยุดคิดและตรวจสอบก่อนส่งต่อ เพื่อไม่ให้เป็นการกระจายข่าวปลอม
  2. ตรวจสอบเพจและแหล่งที่มา
    • ดูว่าเพจเฟซบุ๊กมีความน่าเชื่อถือหรือไม่ เช่น จำนวนผู้ติดตาม ประวัติการสร้างเพจ หมวดหมู่เพจ
    • เพจเฟซบุ๊กที่เพิ่งสร้างใหม่แต่รับสมัครงานจำนวนมาก มักไม่น่าไว้วางใจ
  3. ตรวจสอบภาพหรือข้อมูลที่แนบมา
    • ใช้เครื่องมือเช่น Google Lens ตรวจสอบว่าภาพปรากฏในข่าวจริงหรือเว็บไซต์ทางการหรือไม่
  4. ตั้งข้อสงสัยกับข้อความที่คลุมเครือ
    • เช่น “ทักแชตสอบถามได้” โดยไม่ระบุรายละเอียดชัดเจน หรือไม่มีเบอร์โทร/ที่อยู่บริษัทที่ตรวจสอบได้
  5. สอบถามกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยตรง
    • หากสงสัยว่าประกาศจริงหรือไม่ สามารถติดต่อกรมการจัดหางาน, สำนักงานจัดหางานจังหวัด หรือสายด่วน 1694 เพื่อตรวจสอบข้อมูล