ตัดวงจร COVID-19 จากสัตว์ป่าสู่คน ห่วงก้าวข้ามสู่โรคประจำถิ่น

สังคม
3 มี.ค. 63
17:02
1,118
Logo Thai PBS
ตัดวงจร COVID-19 จากสัตว์ป่าสู่คน ห่วงก้าวข้ามสู่โรคประจำถิ่น
"หมอยง" แนะบุคลากรทางการแพทย์ใช้หน้ากากอนามัยก่อน เพื่อป้องกันการกระจายของเชื้อโรค หลังจำกัดได้วันละ 1.4 ล้านชิ้น ขณะที่กรมอุทยานฯ เพิ่มมาตรการด่านสัตว์ป่าต้องคัดกรองโรค COVID-19 จากสัตว์ป่าด้วย แนะตัดวงจรการกิน ล่าสัตว์ป่าช่วยลดโรคเสี่ยง

วันนี้ (3 มี.ค.2563) จากเวทีเสวนาหัวข้อ "From Wild Meat to Virus : A Wake-up Call on Illegal Wildlife Trade - จากเนื้อสัตว์มาสู่เชื้อไวรัส : ถึงเวลาต้องร่วมมือต่อต้านการค้าสัตว์ป่าผิดกฎหมาย" เนื่องในวันสัตว์ป่าและพืชป่าโลก2563 ซึ่งตรงกับวันที่ 3 มี.ค.ของทุกปี ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ จุฬา ลงกรณ์มหาวิทยาลัย และโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย กล่าวว่า ขณะที่ทั่วโลกกำลังประเผชิญกับปัญหาไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID-19) ที่มีทั้งแสดงอาการ และไม่แสดงอาการในผู้ป่วย ซึ่งอัตราการตายของไวรัสตัวนี้จะมีโรคอื่นๆ เข้ามาแทรกซ้อนด้วย

โดยเฉพาะผู้สูงอายุมีโรคประจำตัวร้อยละ 70 ส่วนอีกร้อยละ 30 มีสุขภาพแข็งแรงดี โดยคนแข็งแรงดีมีโอกาสเป็นปอดอักเสบจากไวรัสตัวนี้ได้เช่นกัน เพราะเชื้อลงปอด ส่งผลให้เกิดอาการปอดบวมแล้วทำให้เสียชีวิตได้ แต่มีโอกาสน้อยกว่าคนมีโรคประจำตัวอยู่ 2 เท่า 

นอกจากนี้ยังแนะนำว่าการใส่หน้ากากอนามัย อยากขอให้ใส่เฉพาะผู้ป่วยระบบทางเดินหายใจทั้งหมดและบุคลากรทางการแพทย์ที่ต้องดูแลผู้ป่วย เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อกระจายจากการไอ จาม และน้ำมูก

อ่านข่าวเพิ่ม "หมอยง" เปิดกราฟ 6 เดือนสู้ไวรัสโคโรนาระบาดหนัก

แนะใส่หน้ากากผ้า-ให้คนป่วย-บุคลากรแพทย์ใช้ก่อน 

ศ.นพ.ยง กล่าวว่า ส่วนคนปกติ ขอให้ใส่หน้ากากอนามัยที่ทำจากผ้าแทน เนื่องจากช่วงนี้เกิดปัญหากระบวนการผลิตหน้ากากอนามัยไม่ทันกับความต้องการของประชาชน เพราะสามารถผลิตได้เพียงวันละ 1.4 ล้านชิ้นเท่านั้น จึงควรให้ผู้ป่วยได้ใช้หน้ากากอนามัยทางการแพทย์ก่อน ที่สำคัญวัตถุดิบบางชนิดไม่เพียงพอในการผลิต เพราะต้องนำเข้าจากประเทศจีน ยกเว้นกรณีคนปกติเข้าไปแหล่งชุมชน หรือคนกลุ่มใหญ่สามารถใส่หน้ากาก เพื่อช่วยป้องกัน

ในช่วงเวลานี้เพื่อความปลอดภัยขอให้พูดคุยห่างกันประมาณ 6 ฟุต หรือประมาณ 2 เมตร เพื่อลดโอกาสสัมผัสกันและล้างมือให้สะอาดอยู่เสมอ

สัตว์ป่าต้นกำเนิดแพร่ COVID-19 

นักเทคนิคการแพทย์หญิงสุภาภรณ์ วัชราพฤกษาดี รองหัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย กล่าวว่า เส้นทางการแพร่ระบาดของ COVID-19 มีต้นกำเนิดจากสัตว์ เช่น ค้างคาว ตัวลิ่น ทั้งนี้จากการตรวจรหัสพันธุกรรมของไวรัส ที่พบในคนตรงกับพันธุกรรมในค้างคาวสูงถึงร้อยละ 96 และพันธุกรรมในตัวลิ่น ร้อยละ 90 จึงคาดว่าจุดกำ เนิดของ COVID-19 อาจจะมีต้นกำเนิดมาจากค้างคาว เหมือนเชื้อไวรัสโคโรนาชนิดอื่นๆที่มาจากค้างคาวเช่นกัน แต่ยังไม่สามารถระบุรูปแบบการแพร่เชื้อจากสัตว์สู่คนว่ามาในรูปแบบใด

 

นอกจากนี้เมื่อมีการเทียบเคียงการแพร่ระบาดของ COVID-19 มีความใกล้เคียงกับการระบาดของไข้หวัด 2009 ซึ่งการแพร่ระบาดในระยะแรก อาจจะส่งผลทำให้มีผู้เสียชีวิต เนื่องจากเป็นไวรัสชนิดใหม่ และมนุษย์ยังไม่มีภูมิคุ้มกันที่เพียงพอ ทำให้ติดต่อจากคนสู่คนได้ง่าย ผ่านระบบทางเดินหายใจ โดยไวรัสชนิดดังกล่าวยังสามารถอยู่ได้นานในสภาพอากาศที่หนาวเย็น จึงทำให้เกิดการระบาดได้สูงในประเทศเขตเมืองหนาว มากกว่าเขตเมืองร้อน อย่างไรก็ตาม คาดการณ์ว่า COVID-19 อาจจะกลายเป็นโรคประจำถิ่นได้ในอนาคต เนื่องจากมีการแพร่ระบาดไปยังประเทศต่างๆ

อ่านข่าวเพิ่ม  ทีมวิจัยเปิดขั้นตอนถอดรหัส "ไวรัสโคโรนา" สายพันธุ์ใหม่

รองหัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ไทยยังคงต้องเฝ้าระวังและติด ตามไวรัสชนิดพันธุ์ใหม่ อย่างต่อเนื่องในทุกปี ซึ่งแต่ละปีก็จะพบไวรัสชนิดใหม่ประมาณ 5 ชนิด ก่อนหน้านี้มีการสุ่มตรวจค้างคาว 23 ชนิดในไทย เมื่อปี 2012 พบว่ามีประมาณ 20 ตัว ที่มีเชื้อไวรัสโคโรนา และกำลังอยู่ในระหว่างการสำรวจเพิ่มเติม

หากพบตัวกำเนิดเชื้อไวรัส เป็นค้างคาวชนิดเดียวกัน ก็อาจจะส่งผลให้ต้องมาศึกษาถึงการดำเนินชีวิตอย่างไรให้สามารถอยู่กับไวรัสชนิดนี้ได้อย่างปลอดภัยได้มากขึ้นในอนาคต

อ่านข่าวเพิ่ม นักวิจัยไทยไขความลับ "ค้างคาว" ไม่น่ากลัว

ยกระดับเฝ้าระวังด่านตรวจโรคสัตว์ทั่วประเทศ 

ด้านนายสัตวแพทย์ภัทรพล มณีอ่อน หัวหน้ากลุ่มงานจัดการสุขภาพสัตว์ป่า กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช กล่าวว่า  ขณะนี้กรมอุทยาน ร่วมกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สำรวจค้างคาว เพื่อตรวจหาเชื้อโรคที่แฝงในค้างคาว โดยเฉพาะค้างคาวมงกุฎ ที่พบว่ามีเชื้อโรคหลายชนิดที่ต้องทำการศึกษาอย่างจริงจัง ซึ่งจะช่วยให้สามารถรับมือ หรือหาวิธีการแก้ไขได้อย่างทันทวงที่หากเกิดการระบาดของโรคที่มีเหตุมาจากค้างคาวชนิดนี้ นอกจากนี้ยังมีสัตว์ป่าชนิดอื่นเช่นกันที่อยู่ในข่ายต้องศึกษาวิจัยเพื่อป้องกันการระบาดของโรคสัตว์ป่าสู่คน

นอกจากนี้หลังจากไทยประกาศ COVID-19 เป็นโรคติดต่ออันตรายแล้ว ในส่วนของกรมอุทยานฯ มีมาตรการเฝ้าระวังการระบาดของโรคอุบัติใหม่ โดยจะยกระดับด่านตรวจสัตว์ป่าทั่วประเทศให้เป็นด่านตรวจคัดกรองโรคด้วย และดำเนินการตามมาตรการของกระทรวงสาธารณสุขให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติตามอย่างเข้มข้น ทั้งนี้การวิจัยโรคในสัตว์ป่า เพื่อเตรียมพร้อมในการรับมือและป้องกันแก้ไข ซึ่งจะช่วยสร้างความตระหนักให้กับประชาชนทราบถึงอันตรายของโรคในสัตว์ป่า นำไปสู่การลด ละ เลิกครอบครอง และล่าสัตว์ป่ามาเป็นอาหารในอนาคต

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

ม.เกษตร-จุฬาฯ เร่งสำรวจค้างคาวมงกุฎไทยหาเชื้อ "โคโรนา"

ลุงขายหน้ากากผ้าทั่วกรุงฯโหลละ 40 ไม่โก่งราคาช่วงสถานการณ์COVID-19

โซเซียลผุดแฮชแท็กต้านแรงงานผิดกฎหมายในเกาหลีใต้

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง